welcome for shared knowledge and experience





วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เอกสารอ้างอิงการบริหารคุณภาพการพยาบาล

บรรณานุกรม



พวงทิพย์  ชัยพิบาลสฤษดิ์. (2551). คุณภาพการบริหารการพยาบาล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิตยา  ศรีญาณลักษณ์ (บรรณาธิการ). (2545) .การบริหารการพยาบาล.นนทบุรี : บริษัทประชุมช่าง จำกัด.

วิจิตรา กุสุมภ์ และคณะ. (2553). ประเด็นและแนวโน้มวิชาชีพการพยาบาล Trends & Issue of Nursing

              Profession.  กรุงเทพ ฯ:  ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล สหปราพาณิชย์.

วีณา จีระแพทย์และเกรียงศักดิ์ จีระแพทย์.(2550) .การบริหารความปลอดภัยของผู้ป่วย การบริหารความปลอดภัย

           ของผู้ป่วย [หนังสือ]. - กรุงเทพฯ : บริษัทด่านสุธาการพิมพ์, 2550.


การประกันคุณภาพ

ขั้นตอนในการตรวจสอบคุณภาพการพยาบาล

             การตรวจสอบคุณภาพการพยาบาลเป็นการวัดคุณภาพการพยาบาลที่ผู้ใช้บริการได้รับจากพยาบาลว่ามีอะไรบ้าง

             เป้าหมายการตรวจสอบจึงมุ่งที่ผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ

ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพการพยาบาล แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน

             การทำความเข้าใจกับเครื่องมือ หรือ มาตรฐานการพยาบาลที่จะใช้เพื่อการตรวจสอบมาตรฐานการพยาบาลที่กำหนด

             ลงมือตรวจสอบโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน

             วิเคราะห์ข้อมูล อภิปรายผลการตรวจสอบ

             รายงานผลคุณภาพการพยาบาลต่อหน่วยงาน

             ติดตามและประเมินผลเป็นระยะ และรายงานให้ทราบ

ลักษณะการตรวจสอบคุณภาพการพยาบาล แบ่งเป็น 3 วิธี

             การตรวจสอบคุณภาพด้านโครงสร้าง เป็นการประเมินคุณภาพในการจัดระบบงาน เพราะเชื่อว่าระบบดี งานย่อมมีประสอทธิภาพ

             ตรวจสอบคุณภาพด้านกระบวนการ คือการวัดคุณภาพการพยาบาลจากกิจกรรมการพยาบาล โดยใช้เกณฑ์เป็นเครื่องมือในการประเมิน

             การตรวจสอบด้านผลลัพธ์ทางการพยาบาล โดยสังเกตพฤติกรรมผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการ และครอบครัว แล้วเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานหรือผลลัพธ์ทางการพยาบาล

การปรับปรุงคุณภาพ  (Quality Improvement)

             เป็นกระบวนการนำกลไกต่าง ๆ ที่จะรักษาและปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการจัดทรัพยากร การมอบหมายให้บุคคลทำโครงการพัฒนาคุณภาพ การฝึกอบรมผู้ได้รับมอบหมาย การมีโครงสร้างที่ถาวรเพื่อดำรงรักษาคุณภาพ การปรับปรุงคุณภาพการพยาบาลเป็นหน้าที่รับผิดชอบของพยาบาลทุกระดับที่จะสำรวจตนเองและระบบงาน  ค้นหาสาเหตุของความบกพร่องต่อคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นด้านโครงสร้าง กระบวนการหรือผลลัพธ์  

การปรับปรุงคุณภาพ  แบ่งเป็น 2 ระดับ

             การปรับปรุงคุณภาพภายนอกหน่วยงาน มีองค์กรที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ เช่น สภาการพยาบาล ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมคุณภาพ ให้คำปรึกษา  หรือ ตักเตือน

             การปรับปรุงคุณภาพภายในหน่วยงาน  อาจเป็นระดับหอผู้ป่วยหรือระดับแผนกการพยาบาล แจใช้การตรวจซ้ำ ให้คำปรึกษา ให้การฝึกอบรม  มีการประเมินหรือลงโทษเพื่อให้มีการปรับปรุงงาน  ช่วยให้งานมีเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้น

การประกันคุณภาพ

ขั้นตอนการนำมาตรฐานการพยาบาลไปใช้ในหน่วยงาน

             กองการพยาบาล,2542 อ้างใน นิตยา ศรีญาณลักษณ์,2545

      1. Understanding & commitment  to  quality : จัดกิจกรรมเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับที่เกี่ยวข้องเห็นคุณค่าและคุณภาพ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนางาน

      2. Policy on quality : กำหนดนโยบายการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการพยาบาล ทั้งระดับโรงพยาบาล กลุ่มงาน หน่วยงานบริการพยาบาล และหอผู้ป่วย

      3. Organization for quality : จัดคณะกรรมการทำงานในการพัฒนามาตรบานการพยาบาล และนำไปใช้ เพื่อทำหน้าที่

1.      วิเคราะห์ประเมินสภาพการจัดบริการการพยาบาล

2.      ใช้เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพการพยาบาล ในการวัดประเมินคุณภาพการพยาบาลแต่ละหน่วยงาน

3.      วางแผนปรับปรุงคุณภาพบริการการพยาบาล

4.      กำหนดแนวทางในการนำมาตรฐานการพยาบาลไปใช้และการประเมินผล

4. Standard setting : ทั้งมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยเฉพาะโรค ปัญหา กลุ่มอาการและกำหนดมาตรฐานวิธีปฏิบัติ โดยใช้เกณฑ์ต่อไปนี้ในการคัดเลือก

4.1    เรื่องที่มักจะเป็นปัญหาอยู่เสมอ problem prone

4.2    เรื่องที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดปัญหา  high  risk

4.3    เรื่องที่มีผู้ใช้บริการมาก ๆ   high volume

4.4    เรื่องที่มีวิธีปฏิบัติหลากหลาย high variation

4.5    เรื่องที่มีค่าใช้จ่ายสูง   high  cost

5. System for quality : วางแผนปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพื่อเอื้ออำนวยให้สามารถปฏิบัติการงานได้ตามที่มาตรฐานกำหนด

6. Capability  to quality : จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะ  ความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน

      7.  Control for  quality : จัดระบบควบคุมเพื่อให้เกิดคุณภาพ

      8. Team work foe quality : สร้างทีมงานเพื่อปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมทบทวน

       กิจกรรม QC ฯลฯ

      9. Implementation of Nursing  standard:  ส่งเสริมให้มีการใช้มาตรฐานในการให้บริการพยาบาล

เมื่อกำหนดมาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล หน่วยงานประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรฐาน และปรับปรุงมาตรฐานแล้ว ควรประกาศใช้และให้ทุกคนที่เกี่ยวข้อง ถือปฏิบัติ โดยผู้บริหารทางการพยาบาลแต่ละระดับให้การส่งเสริมสนับสนุนให้ปฏิบัติตลอดเวลา

การประกันคุณภาพ

องค์ประกอบของระบบประกันคุณภาพการพยาบาล

             การกำหนดมาตรฐานการพยาบาล Nursing Standard

             การตรวจสอบคุณภาพการพยาบาล           Nursing Audit

             การปรับปรุงคุณภาพ     Quality Improvement

มาตรฐานการพยาบาล

มาตรฐาน หมายถึง สิ่งที่สร้างขึ้นหรือแนวทางที่กำหนดขึ้น หรือ รูปแบบ หรือตัวอย่างที่สร้างขึ้น โดยผู้ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ที่จะกระทำได้ โดยคำนึงถึงระเบียบประเพณี หรือสิ่งอื่นที่มาเกี่ยวข้อง เช่น เกณฑ์ หรือระดับมาตรฐานและระดับคุณภาพที่พิจารณาให้เหมาะสม และเพียงพอสำหรับเป้าหมายเฉพาะ เพื่อเป็นเกณฑ์ในการวัดคุณค่าทั้งปริมาณและคุณภาพ

มาตรฐาน หมายถึง ข้อความที่อธิบายแนวทางการปฏิบัติหรือวิธีดำเนินการที่ครอบคลุมขอบเขตของการพยาบาลถือเป็นข้อกำหนดให้มีการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลดีต่อการดูแลหรือการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ ทั้งในส่วนบุคคล  ครอบครัว  ชุมชน ตลอดทั้งข้อความนั้นต้องเที่ยงตรง ชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้

มาตรฐานจำแนกตามระดับคุณภาพ

             มาตรฐานระดับสากล Normative Standard

           แนวทางกำหนดระดับดีเลิศ ตามความคาดหวังที่เป็นอุดมคติ ซึ่งโดยทั่วไปถูกกำหนดโดยองค์กรวิชาชีพ

             มาตรฐานระดับผู้เชี่ยวชาญ Empirical Standard

           เนื้อหาที่กำหนดเป็นมาตรฐานมาจากระดับผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีความรู้  ความสามารถ เช่นนักวิชาการ หรือผู้ปฏิบัติการ  ส่วนใหญ่มักจะกำหนดโดนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดมาตรฐาน

             เซนเตอร์(Center,1978 อ้างใน นิตยา ศรีญาณลักษณ์,2545) ได้เสนอแนวทางการกำหนดมาตรฐานการพยาบาลไว้ดังนี้

1.      กำหนดขอบเขตหรือวัตถุประสงค์ที่จะควบคุมคุณภาพการพยาบาล

2.      ความสอดคล้องกันทั้งปรัชญา มาตรฐาน และวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน

3.      การกำหนดมาตรฐานการพยาบาลในลักษณะกระบวนการผู้กำหนดต้องมีความรู้ ความสามารถวิเคราะห์ปัญหาผู้ป่วย

ประเภทของมาตรฐานการพยาบาล

             คาร์ซและกรีน(Katz&Green,1997 อ้างใน นิตยา ศรีญาณลักษณ์,2545) จำแนกไว้ดังนี้

1.      จำแนกตามแนวคิดเชิงระบบ แบ่งเป็น 3 ชนิดได้แก่

1.1 มาตรฐานเชิงโครงสร้าง            (Structural standard)

1.2 มาตรฐานเชิงกระบวนการ         (Process standard)

1.3 มาตรฐานเชิงผลลัพธ์           (Outcome standard)  

มาตรฐานเชิงโครงสร้าง

             เกี่ยวข้องกับปัจจัยนำเข้าทั้งหมด ของระบบบริการการพยาบาล

           ปรัชญา  วัตถุประสงค์  นโยบายการปฏิบัติงาน การ

           จัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ 4 M

           การอบรม  การมอบหมายงาน การติดต่อสื่อสาร

มาตรฐานเชิงกระบวนการ

             จะบอกถึงกิจกรรมการพยาบาลทั้งหมดที่ให้กับผู้ป่วย โดยการระบุพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของพยาบาล การกำหนดมาตรฐานเชิงกระบวนการนี้กระทำเพื่อใช้วัดคุณภาพการพยาบาล โดยวัดจากความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลด้วยกระบวนว่า  พยาบาลได้ทำอะไรให้ผู้ป่วย ซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมาย และคุณภาพ

มาตรฐานเชิงผลลัพธ์

             เป็นการวัดผลจากการดูแลผู้ป่วย ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์สุดท้ายในการวัดผลทางการพยาบาล โดยแสดงถึงพฤติกรรมที่ผู้ป่วยแสดงออกตามที่คาดหวังว่าจะเปลี่ยนไปใน   ทางบวก  และความพึงพอใจของผู้ป่วยมากว่ากระบวนการพยาบาล

2.จำแนกตามจุดเน้นของเนื้อหาแบ่งเป็น 2 ชนิดได้แก่

2.1 มาตรฐานการบริการพยาบาล    (Standard  of Nursing service)

2.2 มาตรฐานปฏิบัติการพยาบาล    (Standard  of Nursing practice)

มาตรฐานการบริการพยาบาล (Standard  of Nursing service)

             ปัจจัยที่เกี่ยวข้องคล้ายกับมาตรฐานเชิงโครงสร้าง คือปัจจัยนำเข้าทั้งระบบ รวมถึงกลไกการจัดการเพื่อให้บริการพยาบาลบรรลุเป้าหมาย หรือเป็นมาตรฐานที่กำหนดไว้เป็นนโยบาย

มาตรฐานปฏิบัติการพยาบาล (Standard  of Nursing practice)

             เน้นการปฏิบัติการพยาบาลหรือการดูแล บอกถึงบทบาทความรับผิดชอบและสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ เนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นกระบวนการพยาบาล คือ การประเมินปัญหา การวินิจฉัย  การวางแผน การปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผลทางการพยาบาล

3.การสร้างมาตรฐานการพยาบาลตามแนวคิดของ เมสัน

 เมสัน (Mason, 1994)       แบ่งมาตรฐานการพยาบาลตามหน่วยการพยาบาล      (Unit of nursing care) ออกเป็น 5 ประเภทคือ

การสร้างมาตรฐานการพยาบาลตามแนวคิดของ    เมสัน (Mason, 1994)

1. มาตรฐานตามวิธีการปฏิบัติการพยาบาล   (Nursing intervention)  โดยกำหนดเป็นขั้นตอน  (Step-by

step-method)  เช่น  มาตรฐานการดูดเสมหะผู้ป่วยทางหลอดลมคอ  มาตรฐานการทำความสะอาดร่างกายผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ มาตรฐานการเช็ดตัวลดไข้

2. มาตรฐานตามการวินิจฉัยการพยาบาล      (Nursing  diagnosis     รวมทั้งปัญหาสุขภาพ หรือความต้องการพื้นฐานของผู้ป่วย ตัวอย่างเช่น  มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน เป็นต้น

3. ตามการวินิจฉัยทางการแพทย์  (Medical  diagnosis    โดยการแปลความหมายว่าการวินิจฉัยทางการแพทย์นั้นๆ ต้องการ      การพยาบาลที่ครอบคลุมอะไรบ้าง  ตัวอย่างเช่น  มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยข้ออักเสบ  มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยโรคต่างๆ  เป็นต้น       

4.มาตรฐานตามมโนทัศน์ทางการยาบาล (Concept)      ซึ่งอาจเป็นกลุ่มของประเภทหรือพฤติกรรมของผู้ป่วย  กลุ่มของเหตุการณ์หรือกระบวนการซึ่งมีคุณลักษณะเฉพาะที่ให้ความหมายได้  ตัวอย่างเช่น  มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่หมดสติ  มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยก่อนหรือหลังผ่าตัด      มาตรฐานการพยาบาลผู้คลอดในระยะคลอด  มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า  วิตกกังวล  หรืออื่นๆ เป็นต้น

5. มาตรฐานการพยาบาลตามปัญหาสุขภาพและความต้องการพื้นฐานของผู้ป่วย (Health problems and needs)         เช่น มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะอาเจียนรุนแรง มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่ต้องการเคลื่อนไหวภายหลังผ่าตัด  เป็นต้น

นอกจากนั้นการกำหนดมาตรฐานการพยาบาลสามารถกำหนดได้หลายรูปแบบ ตามปรัชญา และนโยบายของหน่วยงาน การศึกษาเรื่องการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล จากภายนอก เช่นกฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพ ความคิดเห็นผู้รับบริการ การศึกษาความต้องการของผู้ใช้บริการ หรือความคิดเห็นจากผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการพยาบาล

หลักสำคัญของการกำหนดมาตรฐานการพยาบาล

1.      ข้อความของมาตรฐานต้องมีความชัดเจน ถูกต้องผู้นำไปใช้เกิดความเข้าใจตรงกัน

2.      สามารถปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จได้

3.      สามารถวัดได้ ในรูปหน่วยที่สามารถเปรียบเทียบ ได้

4.      มาตรฐานต้องยืดหยุ่น



ส่วนประกอบในการเขียนมาตรฐานการพยาบาล

             หัวข้อมาตรฐาน   แจ้งเฉพาะว่าเป็นมาตรฐานประเภทใด เช่น มาตรฐานเชิงโครงสร้าง  มาตรฐานเชิงกระบวนการ  มาตรฐานเชิงผลลัพธ์ เป็นต้น

             ข้อความมาตรฐาน เป็นจุดมุ่งหมายหรือผลลัพธ์ที่ต้องการจุดเน้นแต่ละด้าน

             การจัดองค์กร และการบริหารงานเอื้อให้หน่วยบริการในความรับผิดชอบสามารถจัดบริการพยาบาลได้อย่างมีคุณภาพ

เกณฑ์เป็นทั้งประเด็นที่ใช้ประเมินการดำเนินงานว่าสามารถบรรลุเป้าหมายหรือไม่

             มีหัวหน้าพยาบาลที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารรับผิดชอบกลุ่มงานการพยาบาลและร่วมเป็นกรรมการบริหารโรงพยาบาล

             ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

             เป็นข้อความที่แสดงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการ ครอบครัว และชุมชน

             น้ำหนักไม่ลดลงไปกว่าเดิม    ไม่มีอาการบวม  โปรตีนในเลือดไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ


การประกันคุณภาพ

การรับรองคุณภาพมาตรฐานระดับสากล   (Joint  Commission International: JCI)

Joint Commission International Accreditation

JCI เป็นฝ่ายหนึ่งของ JCAHO (Joint Commission on Accreditation of Healthcare Organizations)เดือนตุลาคม พ.ศ. 2540 JCAHO Board ตัดสินใจให้บริการรับรองมาตรฐานในต่างประเทศ มีเป้าหมาย : เพื่อปรับปรุงคุณภาพในการให้บริการด้านสุขภาพนอกประเทศสหรัฐอเมริกา โดยประกาศใช้มาตรฐาน ตุลาคม พ..2542 และปรับปรุงมาตรฐานฉบับที่ 2 .. 2546

             JCI   A Standards ประกอบด้วย
มาตรฐาน/Standards                      340
ตัวชี้วัด/Measurable Elements       1031

             SECTION I / หมวดที่ I : Patient-Centered Standardsมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

             SECTION II / หมวดที่ II : Health Care Organization Management Standardsมาตรฐานการบริหารจัดการในโรงพยาบาล

             Standard in Bold typeface is “Core” standards

             มาตรฐานที่เป็นตัวหนาเป็น มาตรฐานหลัก  

หมวดที่ I : มาตรฐานการดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

§  ACCESS TO CARE/CONTINUITY OF CARE - (ACC)    การเข้าถึงการดูแลรักษา/การดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง

             PATIENT AND FAMILY RIGHTS-(PFR) /สิทธิผู้ป่วยและครอบครัว

             ASSESSMENT OF PATIENTS- (AOP)/ การประเมินอาการผู้ป่วย

 LABORATORY SERVICES/บริการห้องปฏิบัติการ

 RADIOLOGY SERVICES/บริการรังสีวินิจฉัย

             CARE OF PATIENTS - (COP) /การดูแลผู้ป่วย

 CARE OF HIGH-RISH PATIENTS

 MEDICATION USE

 SURGICAL AND ANESTHESIA

 Pain Management and End of Life Care

             PATIENT AND FAMILY EDUCATION - (PFE) /การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว  

หมวดที่ II : มาตรฐานการบริหารจัดการในองค์กร

      QUALITY IMPROVEMENT AND PATIENT SAFETY - (QPS)/     การพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย

        PREVENTION AND CONTROL OF INFECTIONS - (PCI) /   การป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อ

         GOVERNANCE, LEADERSHIP AND DIRECTION (GLD) /   การปกครอง การนำและทิศทางขององค์กร

             FACILITY MANAGEMENT AND SAFETY - (FMS)/โครงสร้างและความปลอดภัย

             STAFF QUALIFICATIONS AND EDUCATION (SQE)/     คุณวุฒิและการศึกษาของเจ้าหน้าที่

             MANAGEMENT OF INFORMATION (MOI)/ การบริหารจัดการข่าวสารข้อมูล

FACILITY MANAGEMENT AND SAFETY - (FMS)

FMS. 7  The organization plans and implements a program for inspecting, testing, and maintaining medical equipment and documenting the results.

Measurable Elements of FMS.7

1.      Medical equipment is managed throughout the organization according to a plan.

2.      There is an inventory of all medical equipment.

3.      Medical equipment is regularly inspected.

4.      Medical equipment is tested when new and as appropriate thereafter.

5.      There is a preventive maintenance program.

6.      Qualified individuals provide these services.

รายการบล็อกของฉัน