welcome for shared knowledge and experience





วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แนวคิดและความสำคัญของ การสื่อสารทางสุขภาพ


วัตถุประสงค์การเรียน
1. สามารถอธิบายแนวคิดการสื่อสารทางสุขภาพได้
2. สามารถบอกวัตถุประสงค์ของการสื่อสารทางสุขภาพได้
3. สามารถอธิบายกระบวนการสื่อสารทางสุขภาพได้
4. สามารถบอกความสำคัญของการสื่อสารทางสุขภาพได้
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แนวคิดและความสำคัญของ การสื่อสารทางสุขภาพ
ปัจจุบันนี้หลายคนให้ความสนใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น อันจะเห็นได้จากการกำหนดสุขภาวะที่ดีเป็นวาระ แห่งชาติ รวมถึงการสร้างประเด็น กระแสข่าว รวมถึงการจัดกิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับสุขภาพจากหน่วยงาน ภาครัฐบาล ภาคเอกชนและภาคประชาคมสังคมอย่างกว้าขวาง เช่นสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) ที่สร้างกระแสปลุกเร้าให้คนหันมาใส่ใจการสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ก่อนการเจ็บป่วย จนต้องซ่อมแซมสุขภาพ ดังนั้น การรับรู้ข้อมูลข่าวสารสุขภาพที่ถูกต้องจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้น ความตระหนักต่อค่านิยมและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยเฉพาะการได้รับข้อมูลสุขภาพจาก แหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ ก็จะส่งผลต่อการส่งเสริมสุขภาพที่ดีของประชาชน จะเห็นได้ว่า การส่งเสริม สุขภาพดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยเรื่องการสื่อสารเข้ามาเกี่ยวข้อง การสื่อสารจึงเป็น "เครื่องมือ" ที่สำคัญ ของการสร้างสังคมใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการสื่อสารเพื่อสุขภาพแนวใหม่ สาเหตุที่ทำให้คนสนใจการสื่อสารสุขภาพจากการระดมความความคิดเห็นนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้าน "การสื่อสารเพื่อสุขภาพ" พบว่า จุดเริ่มต้นที่ทำให้คนสนใจศึกษาเรื่อง "การสื่อสารเพื่อสุขภาพ" มีหลากหลายเหตุผล ได้แก่ การสื่อสารสุขภาพเป็นเรื่องใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นความสนใจส่วนตัว ประสบปัญหาจากคนใกล้ตัว สื่อใกล้ตัว หรืออาจเป็นปัญหาของตนเองที่กำลังเดือดร้อน เช่น พระซึ่งถือเป็นผู้บริโภคระดับล่าง เนื่องจากไม่ สามารถเลือกสิ่งที่จะบริโภค และไม่สามารถจะสื่อสารไปยังบุคคลอื่นเพื่อบอกปัญหาของตนได้ จึงคิดว่า น่าจะมีวิธีการสื่อสารกับคนทั้งหลาย ให้วิธีการทำบุญการถวายสังฆทาน เป็นสิ่งที่ทำแล้วได้ประโยชน์จริง ซึ่งจำเป็นต้องมีองค์ความรู้เรื่องการสื่อสารในการนำเสนอเรื่องสุขภาพ เป็นต้น เป็นเรื่องของกระแสสังคม ที่ปัจจุบันนี้คนหันมาสนใจเรื่องสุขภาพมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการกำหนด วาระของรัฐบาล สื่อมวลชน หรือองค์กรต่าง ๆ เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ทำให้คำขวัญ "สร้างนำซ่อม" กลายเป็นกระแส ที่ปลุกเร้าให้คนหันมาใส่ใจการสร้างเสริมสุขภาพ ให้แข็งแรง ก่อนการเจ็บป่วยจนต้องซ่อมแซมสุขภาพโดยระบบบริการ หรือกระแสสุขภาพที่ปรับเปลี่ยนจาก เรื่อง "เชื้อโรคและการจัดการเชื้อโรค" มาสู่เรื่อง "คุณภาพชีวิตและการจัดการกับความเสี่ยงที่ก่อให้เกิด คุณภาพชีวิตที่ไม่ดี" เป็นต้น ซึ่งการสร้างกระแสดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยเรื่องการสื่อสารเข้ามาเกี่ยวข้อง อาจมีจุดเริ่มต้นจากปัญหาในการสื่อสารของผู้ที่ต้องสื่อสารเรื่องสุขภาพเช่น นักสาธารณสุขมักประสบปัญหาในการสื่อสารให้คนเข้าใจเรื่องสุขภาพ และการดูแลรักษาสุขภาพตนเอง ดังนั้น จึงต้องการ แสวงหาวิธีการสื่อสารระหว่างหมอกับคนไข้ (Patient-provider) ที่ก่อให้เกิดความหมายร่วมกัน และเกิด พฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง รวมทั้ง การสื่อสารสุขภาพในภาวะวิกฤต เช่น กรณีการสื่อสารกับคนไข้ที่ เรียกร้องค่าเสียหายจากการรักษาพยาบาล
1. สุขภาพในมุมมองของสามเหลี่ยมสุขภาพ ที่มองว่าการมีสุขภาพดีไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะการดูแล สุขภาพในระดับของปัจเจกบุคคลเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องไปถึงระดับการรักษาสิ่งแวดล้อมและการให้บริการ ของระบบบริการสุขภาพอีกด้วย
2. ความหมายของสุขภาพในมุมมองของจัตุรัสสุขภาวะ หรือสุขภาวะ 4 มิติ ที่ใช้เกณฑ์ขององค์การ อนามัยโลก (WHO) ว่าสุขภาพเป็นองค์รวมของกาย จิตใจ สังคม และโดยเฉพาะเรื่องจิตวิญญาณประกอบ กัน ไม่ใช่เพียงแต่การปราศจากโรคภัยไข้เจ็บหรือความพิการเท่านั้น
การสื่อสารสุขภาพ (Health communication) หมายถึง การดำเนินงานเพื่อการสื่อสารสองทาง ระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพได้ง่ายและ ทั่วถึง มีการจัดองค์ความรู้แบบมีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหมู่ประชาชน4การสื่อสารสุขภาพ หมายถึง การแลกเปลี่ยน สื่อสารระหว่างกันที่เชื่อมั่นว่าคนเราเป็นได้ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร พร้อมที่จะรับ ความคิดเห็นของผู้อื่นและยินดีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของตนเองร่วมกับผู้อื่นได้
กระบวนการสื่อสาร(The communication process) แนวความคิดใหม่ของการสื่อสารในยุคปัจจุบัน เป็นการสื่อสาร 2 ทาง ระหว่างบริษัทและลูกค้าซึ่ง อาจเกิดขึ้นก่อนการขาย ระหว่างการขาย ระหว่างการใช้สินค้า และภายหลังการใช้สินค้า โดยหาวิธีการ สื่อสารเข้าถึงลูกค้าและทำให้ลูกค้าสื่อสารกลับมายังบริษัทได้ด้วย การสื่อสารแบบดั่งเดิม อาทิเช่น การใช้สื่อหนังสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรทัศน์ หรือวิธีการ สื่อสารโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรสาร โทรศัพท์ มือถือ การใช้ เทคโนโลยีการสื่อสารที่มี ต้นทุนต่ำลง ทำให้หลายบริษัทเปลี่ยนจากการสื่อสารกับคนจำนวนมากเป็นการสื่อสารกับกลุ่มเฉพาะ และ การสื่อสารแบบตัวต่อตัว การเริ่มต้นสื่อสารการตลาดบริษัทควรต้องตรวจสอบโอกาสที่ผู้บริโภคจะ แสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริษัทให้ชัดเจนเสียก่อน
สิ่งรบกวนในกระบวนการสื่อสาร
1.Physical noise ได้แก่ สิ่งรบกวนที่เกิดจากภายนอกตัวบุคคล เช่น พยาบาลแนะนำการปฏิบัติตัว หลังผ่าตัดมีเสียงประกาศจากโรงพยาบาล
2.Psychological noise สิ่งรบกวนที่เกิดจากความคิด สภาพจิตใจและอารมณ์ของผู้สื่อสารเอง เช่น อารมณ์ไม่ดี วิตกกังวล ใจลอยหรือความเจ็บปวด ทำให้ส่งและรับสารได้ไม่ครบถ้วนหรือตรงตามที่ควรจะ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล ผู้ส่งข่าวสารจะต้องทราบว่าจะสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายใด ต้องการไห้เกิดการตอบสนองอย่างไร จะใส่รหัสข่าวสารวิธีไหนจึงจะทำให้ผู้รับข่าวสารถอดรหัสข่าวสารได้ ถูกต้อง จะส่งข่าวสารทางสื่อใดจังจะเกิดประสิทธิภาพกับกลุ่มเป้าหมาย และจะสร้างช่องทางให้ กลุ่มเป้าหมายตอบสนองได้อย่างไร กระบวนการใส่รหัสของผู้ส่งจะต้องสอดคล้องกับกระบวนการถอดรหัส ใกล้เคียงกันเพียงใด การสื่อข่าวสารก็จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันผู้รับอาจไม่สามารถรับ ข่าวสารที่ผู้ส่งตั้งใจส่งด้วยเหตุผลหลายประการดังต่อไปนี้ 1. การเลือกรับข่าวสาร (Selective attention) ผู้บริโภคถูกคลื่นข่าวสารกระหน่ำเข้าใส่เป็นจำนวน มากถึงวันละ 1,600 ชิ้น แต่จะมีประมาณ 80 ชิ้นเท่านั้นที่ผู้บริโภคจะใส่ใจ และผู้บริโภคจะตอบสนองเพียง 12 ชิ้น นี่คือเหตุผลที่อธิบายว่าโฆษณาที่เร่งเร้า ตื่นเต้นเท่านั้น จึงจะดึงความสนใจจากคนได้ 2. การเลือกเบี่ยงเบนข่าวสาร (Selective distortion) ผู้รับจะรับฟังสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อของ ตัวเอง มักจะเบี่ยงเบนข่าวสารโดยใส่ความเชื่อของตัวเองเข้าไปหรือละเลยการรับสาระสำคัญบางอย่างที่มี อยู่ในข่าวสาร ผู้ทำการสื่อสารจึงต้องพยายามที่จะออกแบบข่าวสารให้ง่าย ชัดเจน น่าสนใจ ตอกย้ำใน ประเด็นสำคัญ 3. การเลือกจดจำ (Selective retention) ผู้บริโภคจดจำส่วนสำคัญของข่าวสารที่ได้รับเพียงเล็กน้อย เท่านั้น ถ้าทัศนคติของผู้รับต่อข่าวสารที่ได้รับเป็นบวก และเขามีท่าทีสนับสนุนต่อสาระสำคัญนั้น
ความสำคัญของการสื่อสารทางสุขภาพ
1. การสื่อสารสุขภาพสามารถช่วยชีวิต
การพัฒนาระบบการสื่อสารสุขภาพที่ดี จะช่วยให้ประชาชนรู้จักวิธีรักษาสุขภาพของตนและของคนใกล้ ตัว และ
ในหลายกรณีสามารถช่วยชีวิตคนได้ เช่น ช่วยให้คนไข้เลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม ปฏิบัติตัวตาม คำแนะนำของแพทย์ได้ถูกต้อง ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยอาการไข้ได้ถูกต้อง ลดความเสี่ยงจากการใช้ยาผิด หรือช่วยให้ประชาชนพ้นจากการใช้ชีวิตที่เสี่ยงภัยโดยไม่รู้ตัว
2.การสื่อสารสุขภาพช่วยป้องกันการระบาดของโรคได้ การระบาดของโรค SAR โรคไข้หวัดเมื่อเกิดการระบาดของโรคร้ายใหม่ๆ ขึ้น การมีความรู้และทักษะใน การสื่อสารจะมีความสำคัญไม่แพ้การมีช่องทางการสื่อสารที่ดี การสื่อสารสุขภาพ สามารถช่วยกระจาย ข่าวสารความรู้ให้แก่ประชาชนช่วยทำให้ประชาชนรู้วิธีหลีกเลี่ยงป้องกัน ลดความตื่นตระหนกของ ประชาชน เมื่อประชาชนมีความรู้ในการหลีกเลี่ยง ป้องกัน มีการร่วมมือที่ดี การระบาดของโรคก็อาจชะลอ ลงหรือถึงขั้นยุติลงได้
3.ช่วยให้เกิดการปรับปรุงระบบการให้บริการด้านสุขภาพ การมีบุคลากรที่เป็นนักสื่อสารสุขภาพเช่น อาสาสมัคร
 รสส. หรือเจ้าหน้าที่สื่อสารของตนเองที่พร้อมจะ รับฟังหรือมีความเข้าใจในความต้องการของคนไข้ จะช่วยให้หน่วยงานสามารถปรับรูปแบบการให้บริการ หรือแก้ไข้ปัญหาข้อบกพร่องของการให้บริการได้ดี และในระดับรัฐบาล ช่วยให้เกิดการปรับปรุงนโยบาย สาธารณะด้านสุขภาพได้
4.เปิดโอกาสให้สังคมมีส่วนร่วมในระบบสุขภาพ
การเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือสาธารณชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างและพัฒนาระบบสุขภาพ ของสังคมเป็นแหล่งที่มาของความริเริ่มสร้างสรรค์ในเรื่องการให้บริการและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้าน สุขภาพ และที่สุดสังคมจะสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และตรวจสอบการให้บริการจน นำไปสู่มาตรฐานการบริการที่สูงขึ้นมีประสิทธิภาพขึ้น
5. ลดต้นทุนของการบริการด้านสุขภาพ
     การให้ความรู้และให้วิธีการแก่ประชาชนในการป้องกันรักษาสุขภาพของตนเอง ในทางงบประมาณ การ
ป้องกันหรือการหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงภัยทางสุขภาพ มีต้นทุนถูกกว่าการรักษาเยียวยา ลดผลกระทบจาก ความยากจน การสื่อสารที่ดี สามารถมีบทบาทในการตัดห่วงโซ่ของ วัฏจักรความยากจนเหล่านี้ การสร้าง ความเข้าใจ ชี้ให้เห็นทางออกที่ดีกว่าจะช่วยให้ผลกระทบจากวังวนของความยากจนลดลงได้ และอาจย้อน ทวนวัฏจักรจนนำประชาชนเหล่านั้นออกมาจากวังวนของความยากจนได้

อ้างอิง
สุกัญญา ประจุศิลปะ และคณะการเผยแพร่ข้อมูลสุขภาพผ่านอินเทอร์เน็ตสู่ประชาชน. 2551. การสื่อสารสุขภาพ พิมพ์ครั้งที่
               2. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์ .
แผนงานวิจัยและพัฒนาระบบสื่อสารสุขภาพสู่ประชาชน สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. 2551. การสื่อสารสุขภาพ พิมพ์
               ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
บทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 มกราคม-
               มิถุนายน 2552 .
บทความวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เรื่องระเบียบวิธีวิจัยการสื่อสารเพื่อสุขภาพ 23 มิถุนายน 2547 .
Ottawa Charter for Health Promotion. WHO, Geneva,1986
http://www.midnightuniv.org/midnight2545/document985.html

รายการบล็อกของฉัน