welcome for shared knowledge and experience





วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความสำคัญของการสื่อสารทางการพยาบาล


-คุณลักษณะของพยาบาลที่มีทักษะในการสื่อสารเพื่อการบริการทางการ พยาบาล
วัตถุประสงค์
1. นักศึกษาสามารถบอกลักษณะของการสื่อสารได้
2. นักศึกษาสามารถบอกวัตถุประสงค์ในการสื่อสารทางการพยาบาลได้
3. นักศึกษาสามารถบอกทักษะในการสื่อสารเพื่อการบริการทางการพยาบาลได้
4. นักศึกษาสามารถบอกคุณลักษณะที่ดีของพยาบาลในการสื่อสารได้ 

มนุษย์มีความแตกต่างเฉพาะตัวบุคคลอย่างมาก จากการอบรมเลี้ยงดู การ ดำเนินชีวิตในสภาพสังคมที่แตกต่างกัน ส่งผลถึงสติปัญญา ความคิด ทัศนคติ การรับรู้ การเรียนรู้ การจูงใจ ความเชื่อ ค่านิยมของแต่ละบุคคล
การสื่อสารเป็นพฤติกรรมหนึ่งของมนุษย์ซึ่งกระทำหรือแสดงออกด้วยสัญลักษณ์อัน เป็นพฤติกรรมพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ และพฤติกรรมการ สื่อสารของมนุษย์ในทุกรูปแบบ มีความเกี่ยวพันกับกระบวนการทางจิตวิทยา การบวนการ ทางสังคม วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ
กระบวนการสื่อสารของมนุษย์เกิดจากองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญ คือ ผู้ส่งสาร ผู้รับ สาร ช่องทางการติดต่อ ปฏิกิริยาตอบสนอง และสิ่งรบกวน ซึ่งจะแตกต่างไปตามบุคลิกภาพ จิตวิทยาส่วนบุคคล ความสัมพันธ์ทางสังคม และสภาพแวดล้อมที่เกิดจากพฤติกรรมการ สื่อสารของมนุษย์ ซึ่งอาจจะเป็นผลบวกหรือผลลบตามลักษณะแตกต่างของมนุษย์
กิจกรรมการติดต่อสื่อสารของมนุษย์เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเหมือนกับการหายใจ โดย มนุษย์เองก็แทบจะไม่รู้ตัวว่าได้มีการสื่อสารเกิดขึ้นแล้ว มนุษย์ใช้สัญลักษณ์สื่อความหมายซึ่ง มีทั้งวัจนภาษา ภาษาที่ใช้ถ้อยคำ และอวัจนภาษา กาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำ ซึ่งพฤติกรรมการ สื่อสารของมนุษย์ในยุคแรก จะเป็นการสื่อสารด้วยอวัจนภาษา คือการใช้วิธีส่ง สัญญาณเสียง และอากัปกิริยาท่าทางต่าง เป็นหลัก ซึ่งเป็นการเข้าใจเฉพาะในกลุ่มสังคม ของตน ต่อมาได้พัฒนาการเป็นการสื่อความหมายด้วยการใช้ถ้อยคำในการพูดและการเขียน
ความสำคัญของการสื่อสาร
การสื่อสารทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข มีความเข้าใจต่อกัน  การสื่อสารทำให้มนุษย์พัฒนาการสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกันให้เจริญขึ้นเป็น ลำดับ
1.  การสื่อสารทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข ขึ้นกับพฤติกรรม 2 ลักษณะ คือ
    พฤติกรรมภายใน ( Covert Behavior) เป็นพฤติกรรมการสื่อสารที่ไม่สามารถ มองเห็น ได้แก่ พฤติกรรมที่เกี่ยวกับระดับสติปัญญา จิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งมีผลต่อการ เรียนรู้ การคิด การตัดสินใจ ฯลฯ
      พฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) เป็นพฤติกรรมการสื่อสารที่เห็นได้ชัด ได้แก่ การใช้เสียง การแสดงสีหน้า การแต่งกาย การพูด ฯลฯ
2. มนุษย์พัฒนาการสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกันให้เจริญขึ้น การสื่อสารของมนุษย์ ในสังคมยุคก่อน เป็นการสื่อสารที่ไม่ใช้ถ้อยคำ หรือที่เรียกว่าเป็นการสื่อสารแบบ อวัจนภาษา ต่อมามนุษย์ได้พยายามพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสารของตนตามสภาพสังคม โดยพัฒนารหัส ที่ใช้ในการสื่อความหมาย เช่น ประดิษฐ์ตัวอักษรสำหรับเขียน พัฒนาถ้อยคำสำหรับใช้พูด เพื่อการถ่ายทอดข่าวสาร ความรู้สึก ความคิดเห็นไปสู่สมาชิกในกลุ่มสังคมของตน และ กลุ่ม สังคมอื่น ๆ การใช้ถ้อยคำในการสื่อสารของมนุษย์มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นลักษณะ พฤติกรรมการสื่อสารที่แตกต่างจากพฤติกรรมของสัตว์อื่น ๆ ในโลก ในสังคมสมัยใหม่ ลักษณะการขยายตัวของสังคมเป็นไปอย่างกว้างขวาง และมีความซับซ้อนมากขึ้น ประกอบ กับมีความเจริญทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เช่น การสื่อสารดาวเทียม โทรคมนาคม เมื่อนำมาประสานกับวิทยาการด้านคอมพิวเตอร์ ทำให้ปราศจากข้อจำกัดในแง่ ของระยะทางหรือระยะเวลาอีกต่อไป ซึ่งไม่เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางวัตถุเท่านั้น แต่ยัง ส่งผลถึงพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ด้วย
หน้าที่พฤติกรรมการสื่อสาร จำแนกตามวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร บอกกล่าวสารสนเทศ เพื่อบอกเล่าข้อมูลต่าง ๆให้รู้ตามวัตถุประสงค์
ให้ความรู้ เพื่อจัดระเบียบข้อมูล หรือเนื้อหาเฉพาะเจาะจง ให้ผู้รับสารเฉพาะกลุ่ม โดยต้องมีส่วนที่เป็นคำนำ เนื้อเรื่อง และส่วนสรุป ให้ความบันเทิง ต้องเตรียมตัวเพื่อสื่อสารให้ความบันเทิงแบบใด และอย่างไรให้ ตรงกับกลุ่มผู้รับสาร
โน้มน้าวใจ เพื่อชักจูงใจให้เกิดความเชื่อถือ คล้อยตาม และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
2. วัตถุประสงค์ของผู้รับสาร  เกิดความเข้าใจ  ได้รับความรู้  ได้ความบันเทิง   ตัดสินใจ

การสื่อสารจะประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้
1.   ด้านบุคคล ได้แก่ ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร
2.  ด้านสาร คือ รหัส หรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับความคิด และความรู้สึกที่มนุษย์ พยายามแสดงให้คนอื่นรับรู้ ซึ่งต้องปรับให้มีความยาก-ง่ายที่เหมาะสมกับผู้รับสาร
3.   ด้านช่องทางการสื่อสารหรือสื่อ คือตัวเชื่อมโยงผู้ส่งสาร กับผู้รับสารให้ติดต่อได้ โดยผู้ส่งสารจำเป็นต้องสือสารที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของการสื่อสารทุกครั้ง โดยดู พื้นฐานและความสามารถของผู้รับสารก่อนการสื่อสารก็จะเกิดสัมฤทธิ์ได้
4.   ด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ หมายถึงเวลา และสถานที่ ขณะที่ทำการสื่อสาร
   สภาพแวดล้อมทางจิตภาพ หมายถึง อารมณ์ ความรู้สึกของผู้ส่งสาร และผู้รับสารขณะทำการสื่อสาร และสภาพแวดล้อมทางสังคมทางสังคมภาพ หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทำการสื่อสาร ด้านอายุ เพศ การศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ฯลฯ

คุณลักษณะที่ดีในการสื่อสาร
มนุษย์จะพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสารได้ดี ถ้าได้ปฏิบัติตามบัญญัติ 10 ประการของการ สื่อความหมายที่ดี (หลุย จำปาเทศ,2533: 218) ดังนี้
1.         มีความคิดที่กระจ่างชัดเสียก่อน ก่อนมีการสื่อความหมาย
2.         มีวัตถุประสงค์ของการสื่อความหมายที่แน่ชัด
3.         ตระหนักถึงสภาพของสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมของผู้กำลังจะมีการสื่อ ความหมายด้วยกัน
4.         ใช้ Two-way Communication ในการสื่อความหมาย
5.         มีเนื้อหาและถ้อยคำการออกเสียงที่ดีและถูกต้องตามวรรคตอนในการสื่อ ความหมาย
6.         ในขณะที่เป็นผู้ส่งสารหรือผู้พูดควรแยกประเด็นการพูดออกให้เห็นเด่นชัด เช่น แยกออกเป็นข้อ ๆ
7.         การสื่อความหมายจะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อมีการติดตามผลการสื่อความหมายนั้น ๆ
8.         ข่าวสารที่ส่งออกไปต้องมีความหมายและมีความสำคัญ
9.         กิริยาท่าทาง (Body language) จำเป็นต้องสอดคล้องและเหมาะสมกับการสื่อ ความหมายนั้น ๆ
10.     ผู้สื่อความหมายต้องเป็นผู้ฟังที่ดีด้วย

อุปสรรคของพฤติกรรมการสื่อสาร หมายถึง  สิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่สัมฤทธิผลตามที่ ผู้ส่งสารต้องการ ซึ่งมีอยู่มากมาย เช่น เกิดจากความไม่ชัดเจนในความหมายของภาษาที่ใช้ สื่อสารที่เกิดจากตัวบุคคลที่มีภูมิหลัง บุคลิกภาพ ความรู้ ทักษะในการสื่อสารต่างกัน ซึ่งการ ขจัดอุปสรรคในการสื่อสาร คือ เมื่อรู้ว่าสิ่งใดเป็นอุปสรรคแล้วขจัดอุปสรรค โดยยึดหลัก สำคัญ 7 ประการ คือ
1. ความน่าเชื่อถือ หมายถึง ความถูกต้องน่าเชื่อถือของสาร และของบุคคลผู้ส่งสาร รวมถึงแหล่งสารด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะหลายประการ ได้แก่
1.1   ความรู้ และประสบการณ์ของผู้ส่งสาร หรือแหล่งสารเกี่ยวกับเนื้อหาสาระที่สื่อสารกัน
1.2   บุคลิกภาพของผู้ส่งสาร การมีบุคลิกภาพดีมีผลต่อความเชื่อถือต่อสารมาก
1.3การมีคุณสมบัติที่สอดคล้องสัมพันธ์กับเนื้อหาของสารเช่น การให้นัก โภชนากรแนะนำการบริโภคอาหาร
1.4  วิธีการสื่อสารก็มีผลต่อความน่าเชื่อถือ เช่น ผู้ป่วยปวดท้อง มาพบแพทย์ แพทย์ ตรวจแล้วบอกว่า ไม่เป็นไรผู้ป่วยไม่เชื่อเพราะยังคงมีอาการปวดท้องอยู่ การใช้คำว่า ไม่ เป็นไรควรเปลี่ยนเป็น ไม่เป็นอะไรมากหรือ อาการเช่นนี้อาจเกิดขึ้นได้ แล้วจะหายไปเองฯลฯ
2.  ความชัดเจน   หมายความถึง การใช้ภาษาที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และเนื้อหา นั้นสามารถบอกได้ชัดเจน ไม่คลุมเครือ จนทำให้ตีความหมายไปได้หลายทาง
3.  ความสามารถ ความรู้ และทักษะในกระบวนการสื่อสาร การพิจารณา ความสามารถของผู้รับสารมีประเด็นที่ต้องคำนึงถึงหลายด้านทางกายภาพ เช่น ผู้รับมี ประสาทสัมผัสรับรู้ได้ครบถ้วน หรือมีความพิการทำให้เปิดรับสารไม่ได้บ้างหรือไม่ ทางด้าน จิตใจ ผู้รับสารอยู่ในอารมณ์อย่างไร การเข้าถึงสื่อ และระดับทางสติปัญญา
4.  เนื้อหาสาระ ความเหมาะสมของเนื้อหามีความสอดคล้องกับความคิดค่านิยมของ ผู้รับสาร ควรจะมีสาระ หรือคุณค่าที่มีคุณค่าควรแก่การสื่อสาร สาระนั้นตรงกับความสนใจ หรือประโยชน์ของผู้ที่เราจะสื่อสารด้วย สาระนั้นครบถ้วนครอบคลุมพอที่จะบรรลุประโยชน์ ตามความมุ่งหมายของการสื่อสาร
5. ความเหมาะสมกับกาลเทศะ การสื่อสารที่ดีต้องกลมกลืนไปกันได้กับวัฒนธรรม ของสังคม เหมาะสมกับสิงแวดล้อม บุคคล เวลา สถานที่ เช่นที่ใดควรคุยเรื่องอะไร หรือเวลา ใดควรพูดเรื่องใด การใช้ถ้อยคำภาษา กิริยาท่าทางต่อบุคคลใดมีความเหมาะสมหรือไม่
6. ช่องทางในการสื่อสาร หลักสำคัญประกอบด้วยการพิจารณาสิ่งแวดล้อมหลาย ๆ ด้าน เช่น ต้องการสื่อสารกับคนกลุ่มใด ด้วยวัตถุประสงค์อะไร ในสิ่งแวดล้อมอย่างไร คำตอบ เหล่านั้นมีผลต่อสื่อที่จะเลือกใช้
7.  ความต่อเนื่องและการกล่าวซ้ำ พฤติกรรมการสื่อสารประเภทโน้มน้าวชักจูงใจ ต้องอาศัยการเสนอสารที่ต่อเนื่อง การสื่อสารที่สม่ำเสมอช่วยรักษาและกระชับสัมพันธภาพ ระหว่างบุคคล การประชาสัมพันธ์สถาบันต่าง ๆ มีหลักอยู่ว่าต้องบอกกล่าวเรื่องราวเผยแพร่สู่ ประชาชนให้สม่ำเสมอ ในงานพยาบาลก็จำเป็นต้องมีความต่อเนื่องในการสื่อสาร เช่นการ รายงานความเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยทุกระยะ เพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษา
   การพยาบาลมีเป้าหมายในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลต่าง ๆ เพื่อช่วยผู้ป่วย ซึ่งต้องทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกถึงคุณค่า พลังความสามารถของตนเอง ช่วยให้ผู้ป่วยมีส่วน ร่วมในการรับผิดชอบต่อการหายจากความเจ็บป่วยของตนเอง หากพยาบาลดำเนิน สัมพันธภาพกับผู้ป่วยด้วยการระลึกรู้ถึงความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ และทักษะที่เกี่ยวกับ ผู้ป่วย และการพยาบาล ก็จะทำให้พยาบาลปฏิบัติการพยาบาลอย่างมีสติสัมปชัญญะ และ มั่นใจ
   การสื่อสารที่พยาบาลจะแสดงถึงความเข้าใจความรู้สึก ความคิดของผู้ป่วยนั้น พยาบาลต้องสื่อสารความรู้สึก ความเข้าใจของผู้ป่วยที่พยาบาลรับรู้ไปยังผู้ป่วยโดยไม่ต้องมี ข้อคำถามว่าทำไมต้องรู้สึกอย่างนั้น หรือมีความรู้สึกอย่างนั้นไปได้อย่างไร หรือแนะนำว่า ให้รู้สึกอย่างอื่น เป็นต้น ส่วนการสื่อสารเพื่อแสดงการยอมรับ แสดงออกโดยวาจาหรือท่าทาง ที่ไม่ได้ตัดสินคำพูดและพฤติกรรมของผู้ป่วยว่า ถูก ผิด ดี เลว เหมาะ ไม่เหมาะอย่างไร ใน สถานการณ์ผู้ป่วยหญิงที่ผ่าตัดเต้านมดังกล่าว หากพยาบาลเข้าใจความรู้สึกที่แท้จริงของ ผู้ป่วย และยอมรับพฤติกรรมก้าวร้าวด้วยความเข้าใจ พยาบาลควรจะพูดกับผู้ป่วยด้วย น้ำเสียงปกติว่า คุณคงไม่สบายใจ คุณอยากจะเล่าอะไรให้ฉันฟังไหมการยอมรับและความ เข้าใจในความรู้สึกของผู้ป่วยที่พยาบาลแสดงออกมาทั้งโดยคำพูด และท่าทางในลักษณะ เช่นนี้ยังเป็นสื่อบอกผู้ป่วยอีกด้วยว่า ฉันยินดีจะช่วยคุณซึ่งเป็นการแสดงความเอาใจใส่ ต้องการช่วยเหลือ (caring) ให้ผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่สุขกาย สบายใจมากที่สุดในสภาวการณ์ที่ เป็นอยู่
องค์ประกอบสำคัญในการดำเนินสัมพันธภาพเพื่อการช่วยเหลือให้ดำเนินไปด้วยดี มีอยู่ 5 ประการ คือ
1.   การเคารพในความเป็นบุคคล (Respect)  ของผู้อื่น คือการที่แสดงออกถึงความนับ ถือในคุณค่าของความเป็นตนเองในแต่ละบุคคลต่อผู้ป่วย โดยการที่พยาบาลจะแสดงออกถึง การเคารพในความเป็นบุคคลของผู้อื่นนั้นมีขั้นตอนในการดำเนินสัมพันธภาพ เป็นลำดับดังนี้ ขั้นเริ่มทำความรู้จักกับผู้ป่วย ขั้นเริ่มดำเนินสัมพันธภาพ ขั้นดำเนินสัมพันธภาพ ขั้นสิ้นสุด สัมพันธภาพ
2.         การยอมรับ ในความเป็นบุคคลของผู้ป่วยตามความเป็นจริง ซึ่งรวมทั้งความเข้าใจ และยอมรับถึงสภาพความเจ็บป่วย และความผิดปกติที่เกิดขึ้น การที่พยาบาลจะมีการยอมรับ ผู้ป่วยได้นั้นพยาบาลต้องเปิดใจที่จะเข้าใจสถานการณ์ของผู้ป่วย ไม่ด่วนที่จะตัดสินใด ๆ ต่อ ผู้ป่วย
3.         การเห็นใจ เข้าใจในความรู้สึกของผู้อื่น (Empathy) คือการที่พยาบาลเสดงให้ ผู้ป่วยเข้าใจว่าพยาบาลเข้าใจว่าผู้ป่วยรู้สึกอย่างไร ทำไมจึงรู้สึกเช่นนั้น ซึ่งการที่พยาบาลจะ ทำเช่นนั้นได้พยาบาลจะต้องมีความสามารถในการเข้าถึง โลกของผู้ป่วย ตามความรู้สึก จริงที่ผู้ป่วยมีอยู่ โดยที่พยาบาลจะไม่เอาความรู้สึกส่วนตัวของพยาบาลเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ในส่วนของการสร้างความเห็นใจ เข้าใจในความรู้สึกของผู้อื่นนั้น (ปาหนัน บุญ- หลง (2527) ได้อ้างคำกล่าวของวิลสัน (Wilson)) ว่ามีขั้นตอนในการสร้างความเห็นใจ เข้าใจในความรู้สึก ของผู้อื่น 4 ขั้นตอน ดังนี้
        3.1  Identification คือการที่พยาบาลต้องโอนอ่อนผ่อนตามให้ตนเองมีความรู้สึกเหมือน ผู้ป่วยในขณะนั้น โดยเอาตัวเองไปใส่ในสถานการณ์ของผู้ป่วย
                                              3.2  Incoorporation คือการที่พยาบาลปรับความรู้สึกของตนให้คล้อยตามผู้ป่วยได้      
                                     แล้ว และต้องหาวิธีลดความวิตกกังวลของตน โดยศึกษาถึงสาเหตุและทำความเข้าใจตนเองให้ ถ่องแท้
                                       3.3  Reverberation คือขั้นที่มีการสะท้อนกลับไปกลับมาของปฏิกิริยาโต้ตอบกันระหว่าง ความรู้สึกของพยาบาลเองในสถานผู้ป่วย และความรู้สึกของพยาบาลเมื่อคล้อยตามความรู้สึก ของผู้ป่วย เป็นขั้นตอนที่พยาบาลจะต้องผสมผสานความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขั้นที่ 1 และ 2 โดยที่ พยาบาลยังเป็นตัวของตัวเอง ยังสามารถคิดและใช้สติปัญญาช่วยเหลือผู้อื่นได้
3.4 Detachment เป็นระยะสุดท้ายที่พยาบาลต้องแยกตนเองออกจากผู้ป่วยหรือเป็น การแยกตนเองออกมาจากเหตุการณ์ของผู้ป่วย ขั้นนี้เป็นขั้นสิ้นสุดสัมพันธภาพระหว่าง พยาบาลและผู้ป่วย ทั้งนี้เพราะหากพยาบาลมีความรู้สึกเหมือนผู้ป่วยตลอดเวลา และเหมือน ผู้ป่วยทุกคน สภาพจิตใจของพยาบาลคงจะทนไม่ได้
ประโยชน์ของการที่พยาบาลแสดงความเห็นใจ เข้าใจ ถึงความรู้สึกของผู้ป่วย (หรือผู้ร่วมงาน)มีดังนี้
1. ช่วยเสริมสร้างสายสัมพันธ์แห่งความเข้าใจจากเพื่อนมนุษย์ ในช่วงเวลาที่คนเรามีความรู้สึกว้าเหว่ เปล่าเปลี่ยว ไร้ที่พึ่ง แล้วมีใครสักคนที่เห็นใจ เข้าใจ เขาจะรับรู้ว่ายัง มีคนที่เข้าใจเขา สายสัมพันธ์จากความเข้าใจนี้ช่วยลดความรู้สึกที่ไม่ดีเหล่านั้น เกิด ความมั่นใจ และเข้มแข็งขึ้นได้
2. เพิ่มความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าเพิ่มขึ้น การที่มีคนรับฟังอย่างสนใจ พยายามเข้าใจความรู้สึกที่เกิดขึ้น และสะท้อนความเห็นใจ เข้าใจนั้น ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองมีค่า มี ความสำคัญเพียงพอที่พยาบาลจะเอาใจใส่ ความรู้สึกนี้จะนำไปสู่การเห็นคุณค่าแห่ง ตนเพิ่มขึ้น
     3. ช่วยให้เกิดการยอมรับอย่างจริงใจในความเป็นตัวของตัวเอง การที่พยาบาลยอมรับต่อ ความเป็นตัวของผู้ป่วยเองได้มากเท่าใด ผู้ป่วยก็จะมีความรู้สึก และแสดงออกอย่าง อิสระในความเป็นตัวของเขาเองได้มากเท่านั้น การที่ผู้ป่วยได้รับการยอมรับอย่าง จริงใจจากพยาบาลจะช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับตัวเองได้ดีขึ้น 
4. ช่วยให้เกิดการปรับความรู้สึกใหม่ และเปลี่ยนพฤติกรรมได้ เมื่อพยาบาลแสดงความเห็น ใจ เข้าใจในพฤติกรรมของผู้ป่วย ผู้ป่วยก็รู้สึกอิสระที่จะให้เหตุผลหรือใช้กลวิธานทาง จิตใด ๆ ซึ่งการกระทำเช่นนี้ของผู้ป่วย จะทำให้ผู้ป่วยได้รับประสบการณ์ใหม่ในการ แก้ปัญหา เผชิญปัญหา อันจะนำไปสู่การปรับความรู้สึก และพฤติกรรมใหม่ นั่นคือ พยาบาลได้ให้โอกาสผู้ป่วยได้พัฒนาตนเอง
5. ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมตนเองได้ชัดเจนยิ่งขึ้น การที่ผู้ป่วยได้รับฟังพยาบาลพูดสะท้อน ความรู้สึกของผู้ป่วยเอง จะช่วยให้ผู้ป่วยเกิดการระลึกรู้ในตนเอง (Self-awareness) เพิ่มขึ้น นั่นคือช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจพฤติกรรมตนเองได้มากขึ้น
6. ช่วยให้ควบคุมสถานการณ์ได้ เนื่องจากผู้ป่วยได้รับความเห็นใจ เข้าใจจากพยาบาล แล้วส่งผลให้ผู้ป่วยเข้าใจในตนเองมากขึ้น จากนั้นเมื่อผู้ป่วยได้รับข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ผู้ป่วยก็จะสามารถได้ข้อสรุปในการแก้ปัญหาได้ในที่สุด

4. ความเชื่อถือ ไว้วางใจ (Trust) หมายถึงการที่บุคคลมีความยอมรับ เชื่อถือ มั่นใจใน ตัวบุคคลอื่นจะกระทำสิ่งที่ดีที่สุด และไม่เป็นอันตรายกับเขา การสื่อสารที่จะทำให้ผู้ป่วยเกิด ความไว้วางใจพยาบาลนั้น
5. การดูแลเอาใจใส่ (Caring) เป็นการแสดงออกถึงความสนใจอย่างจริงใจที่จะ ช่วยเหลือบุคคลอื่น ๆในทางการพยาบาลหากพยาบาลมีความจริงใจที่จะเอาใจใส่ช่วยเหลื่อ ทักษะในการติดต่อสื่อสารซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินสัมพันธภาพระหว่าง พยาบาลกับผู้ป่วยทั้ง 5ประการ กล่าวคือ การเคารพในความเป็นบุคคลของผู้อื่น (Respect) การยอมรับ(Acceptance) การเห็นใจเข้าใจในความรู้สึกคนอื่น (Empathy) ความเชื่อถือ ไว้วางใจ (Trust) การดูแลเอาใจใส่ (Caring) ดังที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดนั้นสามารถพัฒนาให้ เกิดขึ้นได้จากการฝึกฝน ให้เวลาตนเอง และหมั่นตรวจสอบวิเคราะห์ตนเองอยู่เสมอ นอร์ตัน (Norton, 1986) ได้เสนอแนวทางในการพัฒนาทักษะดังกล่าวไว้ดังนี้
สังเกตพฤติกรรมของตนเองทั้งพฤติกรรมที่เป็นวาจา อากัปกิริยา และพิจารณา พฤติกรรมเหล่านั้นเกี่ยวกับคุณลักษณะที่น่าเชื่อถือ น่าไว้วางใจ ความสามารถในการเข้าถึง ความรู้สึกของผู้อื่น และเจตคติเกี่ยวกับความสนใจ เอาใจใส่ต่อผู้อื่นอย่างจริงจัง
ใช้การระลึกรู้ตนเองวิเคราะห์ระดับความเชื่อถือไว้วางใจ การเข้าถึงความรู้สึกผู้อื่น และการดูแลเอาใจใส่ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน การวิเคราะห์ตนเองอย่างตรงไปตรงมาทั้งสองประการข้างต้นพร้อมทั้งการรับฟัง ความ คิดเห็นของผู้อื่นจะช่วยให้เกิดการหยั่งรู้ในตนเองมากขึ้น การตัดสินตนเองอย่าง







รายการบล็อกของฉัน