welcome for shared knowledge and experience





วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงานตอนที่ 9 (Team Work)

การทำงานเป็นทีม  Team Work

           การทำงานให้สำเร็จขึ้นอยู่กับความสามารถสองอย่างเป็นสำคัญ คือสามารถในการใช้วิชาความรู้อย่างหนึ่ง สามารถในการประสานสัมพันธ์กับผู้อื่นอีกอย่างหนึ่ง ทั้งสองประการนี้ต้องดำเนินคู่กันไป และจำเป็นต้องกระทำด้วยความสุจริตกาย สุจริตใจ ด้วยความคิด ความเห็นที่เป็นอิสระ ปราศจากอคติ และด้วยความถูกต้อง ตามเหตุตามผลด้วย จึงจะช่วยให้งานบรรลุจุดหมายและประโยชน์ที่พึงประสงค์โดยครบถ้วน ( พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9)              

           " การทำงานไม่จำเป็นต้องเป็นอัจฉริยะ ไม่จำเป็นต้องเหนือผู้อื่น แต่ขอให้ทำงานร่วมกับเขาได้ งานนั้นก็จะสำเร็จ"

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 8-4(แนวทางการบริหารความขัดแย้ง)

แนวทางการบริหารความขัดแย้ง

1.กระตุ้นหรือสนับสนุนให้เกิดความขัดแย้งในเชิงสร้างสรรค์์
     1.1  วิธีการกระตุ้น : การประชุมกลุ่ม  การสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่ม การเลือกผู้บริหารให้เหมาะสม การใช้ระบบการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ  การใช้บุคคลภายนอกที่มีแบบแผนค่านิยมความเชื่อที่แตกต่างเข้าไปกระตุ้น  หรือการจัดโครงสร้างองค์กรใหม่
     1.2 การทำให้เกิดสภาวะการสร้างสรรค์ในองค์กร หมายถึงการสร้างหรือก่อให้เกิดแนวความคิดหรือสิ่งใหม่ ๆขึ้นในองค์กร  ทั้งระดับบุคคลและระดับองค์การ

2. การป้องกันการขัดแย้งที่มีลักษณะทำลาย    ผู้บริหารควรจะได้หาทางป้องกันความขัดแย้งที่มีลักษณะทำลายไว้ก่อนที่จะสายเกินแก้  โดยใช้หลักการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข หรือสาเหตุที่คาดว่าจะนำไปสูู่ความขัดแย้ง ซึ่งมีวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
     2.1 กำหนดเป้าหมายขององค์การ แผนกงานหรือกลุ่มต่างๆรวมทั้งกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกในองค์การให้มีความชัดเจนมากทีี่สุด
     2.2 ผู้บริหารต้องเน้นให้แผนกงานหรือกลุ่มงานรับรู้ว่าองค์การนั้นมีเป้าหมายร่วมกันในการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การโดยส่วนรวม
     2.3 ส่งเเสริมให้มีกิจกรรมที่สร้างสัมพันธ์และกระซับความสามัคคีระหว่างแผนกงานหรือกลุ่มงาน
     2.4 ควรมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนบุคลากร ระหว่างหน่วยงานเพื่อความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน
     2.5 ผู้บริหารจัดสรรทรัพยากรอย่างเพียงพอ
     2.6 ควรมีผู้ประสานงานระหว่างกลุ่มที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี

การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 8-3(ประเภทความขัดแย้ง)

ประเภทของความขัดแย้ง
แบ่งอออกเป็น 3 ประเภท
1.ความขัดแย้งในตัวบุคคล(intrapersonal confflict)    เป็นความขัดแแย้งที่เกิดขึ้นกับตัวบุุคคลเอง
2.ความขัดแย้งระหว่างบุคคล (interpersonal conflict) เป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล 2 คนหรือมากกว่า ซึ่งเกิดจากการที่มีค่านิยม ความเชื่อ ทัศนคติ และเป้าหมายที่ไม่สอดคล้องกัน
3. ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม (inergroup conflict)    เป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มบุคคลสองกลุ่มหรือมากกว่า ซึ่งอาจจะเป็นระหว่างแผนกในองค์การเดียวกันหรือระหว่างองค์การหรือแม้แต่ระหว่างกลุุ่มบุคคลทีนับถือศาสนาต่างกัน

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปัจจัยที่เสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน -1

ปัจจัยที่เสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน

1. การเสริมสร้างพลังอำนาจ  (Empowerment)  แรงจูงใจ (Motivation)
2. การบริหารความขัดแย้ง  (Conflict mamagement)
3. การบริหารเวลา (Time management)
4. การทำงานเป็นทีม  (Team Work)

บทนำการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารงาน

องค์ประกอบในการสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน
โดยทั่วไปขึ้นกับองค์ประกอบที่สสำคัญ 3 ด้านคือ
1.  ผู้บริหาร
2.  องค์กรและระบบงาน
3. คนหรือบุคลากรในหน่วยงาน

ผู้บริหาร
เป็นบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดในองค์กรหรือหน่วยงานที่กำหนดตามระเบียบของสังคม ดังนั้นผู้บริหารต้องใช้ภาวะผู้นำเป็นกลไก ชักนำให้คนในองค์กรซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญให้ความร่วมมือในการทำงาน
ผู้บริหารจึงมีการพัฒนาตนเองในทุกๆด้าน ดังนี้
       1.  บุคลิกภาพ
       2.  คุณสมบัติ
       3. ภาวะผู้นำ

องค์กรและระบบงาน     
องค์กรเป็นสถานที่ที่กำหนดขึ้น เพื่อให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับผู้ตาม   การจัดองค์กรพยาบาลตั้งมีการจัดองค์กรเพื่อให้ผู้นำและผู้ตามมีส่วนร่วมในการกำหนดตั้งแต่ ปรัชญา ภารกิจ นโยบาย  วิธีการ และเป้าหมายขององค์กร ดังนั้นองค์กรต้องจัดระบบงานโดย
      1. มีการวางแผนและควบคุมงานที่ดี
      2. การจัดระบบงานให้เหมาะสม
      3. การประสานงานที่ดี
      4.พัฒนาสมรรถภาพของคนให้สูงขึ้น

คนหรือบุคลากรในหน่วยงาน
ผู้บริหารที่มีความสามารถต้องกระตุ้นส่งเสริมบุคลากรให้มีการพัฒนาตนเอง สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี การที่บุคลากรของหน่วยงานจะต้องรู้จักการพัฒนาตนเองเป็นอันดับแรก เริ่มจาก
      1.  มีความรู้สึกที่ดีต่อทุกคนในองค์กร
      2. ให้ความช่วยเหลือกันในยามทุกข์ยาก
      3. ดูแลเอาใจใส่ยามเจ็บป่วย
      4. ให้ความจริงใจซึ่งกันและกัน
      5. รู้และเข้าใจและรู้จักให้อภัยผู้อื่น
      6. มีความชื่นชมเมื่อเขาได้ดีมีสุข

Thidaratana: การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 8-2(ความขัดแย้งในองค์กร)

Thidaratana: การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 8-2(ความขัดแย้งในองค์กร)

การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 8-2(ความขัดแย้งในองค์กร)

ความขัดแย้งในองค์กร
ในองค์กร มีหน่วยงาน และบุคลากรมากมาย เป็นกลุ่ม เป็นทีม
มีผู้นำและผู้ตาม  การทำงานในองค์กรย่อมมีความขัดแย้งไม่มากก็น้อย

สาเหตุ :  เกิดจาก
-ลักษณะองค์กร
-ผลประโยชน์ไม่สมดุล
-ความแตกต่างของเป้าหมาย
-บุคคลต้องปฏิบัติร่วมกัน
-ความคาดหวังที่แตกต่างกัน
-การประสานงานระหว่างหน่วยงานย่อย
-ความแตกต่างของกลุ่มในการปฏิบัติงาน
-กระบวนการสื่อสาร

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 8-1(ความขัดแย้งของบุคคล)

ความขัดแย้งของบุคคล
เป็นความขัดแย้งที่เกิดจากที่บุคคลมีความแตกต่างกันทั้งค่านิยม  ความเชื่อ  ทัศนคติ และเป้าหมายที่ไม่สอดคล้องกัน ซึ่งคนแต่ละคนล้วนมีประสบการณ์ของตัวเองมีการเรียนรู้ มีการรับรู้ที่อาจเหมือนกัน  ใกล้เคียงกัน  หรือแตกต่างกันก็ได้

สาเหตุ:  โดยเกิดจากภูมิหลังของบุคคล  ตาม
              -แบบฉบับของแต่ละคน
              -ความรับรู้
              -กระบวนการสื่อสารของบุคคล
              -สภาพขององค์การไม่เอื้ออำนวย
              -ความต้องการของบุุคคลไม่ด้รับการตอบสนองที่เหมาะสม
              -สถานภาพ

การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 8(การบริหารความขัดแย้ง)

การบริหารความขัดแย้ง

ความหมาย :   ความรู้สึกหรือปฏิกิริยาของบุคคล หรือกลุ่มบุคคลในองค์กรที่มีความเห็น
ความต้องการ  ค่านิยม  และเป้าหมาายไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งการต่อสู้กัน
เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด หรือการที่ฝ่ายหนึ่งรุกล้ำ หรือขัดขวางการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่ง
เพื่อให้เป้าหมายของตนบรรลุผล

สาเหตุ  ของความขัดแย้ง 
1. ความขัดแย้งของบุคคล
2.ความขัดแย้งในองค์กร

การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 7 - 3 (บทสรุปการบริหารเวลา)

       การบริหารเวลาเป้นเครื่องมือที่สำคัญ ในการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด 
การใช้เวลาออย่างไร้ประโยชน์ จะทำให้เกิดความเครียด ความกังวล จนถึงขั้น
"เสียบุคลิกภาพ"
       ท่านคิดว่า ท่านจะเป็นผู้บริหารงานที่บริหารเวลา ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ได้อย่างไร ?
เป็นประเด็น  น่าคิด.........

การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 7 - 2 (การบริหารเวลา)

หลักการบริหารเวลา 10  ประการ
"สเตฟานี คาล์พ" เสนอหลักการบริหารงานไว้ 10 ประการคือ
1.จงตระหนักถึงคุณค่าของเวลาที่มีอยู่
2.จงวางแผน
3.จงจัดลำดับเรื่องที่จะทำในแต่ละวัน
4.จงเขียนรายการโครงการที่ต้องทำ
5.จงจัดสรรเวลาให้เหมาะสม
6.หัดเป็นคนมีความยืดหยุ่น
7.หัดพูดคำว่า  "ไม่"
8. หาสมุดบันทึกคู่ใจ
9.จงเป้นคนที่รู้จักยอมเสียความสมบูรณ์แบบบ้าง
10.หาทางแบ่งเบาภาระในงานและชีวิตลงบ้าง

การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 7 - 1 (การบริหารเวลา)

ขั้นตอนในการวางแผนในการบริหารเวลา มี 6 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 จัดภารกิจแห่งชีวิต  : กำหนดภารกิจในชีวิตให้ชัดเจน
ขั้นตอนที่ 2 กำหนดเป้าประสงค์ : กำหนดการลงมือกระทำสิ่งที่ต้องการทำให้สำเร็จในช่วงเเวลาหนึ่ง
ขั้นตอนที่ 3 งานที่คั่งค้าง : จัดลำดับความสำคัญของงานที่คั่งค้าง ซึ่งต้องทำให้สำเร็จ  เขียนรายการสิ่งเหล่านั้นในสมุดบันทึกและจัดหมวดหมู่ของงาน
ขันตอนที่ 4 จัดโครงการที่จะทำเพื่อจัดระเบียบให้ชีวิต โดยวางแผนเป็นโครงการ จะสามารถบริิหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิผล
ขั้นตอนที่ 5 จัดลำดับความสำคัยของโโครงการ เพื่อปฏิบัติก่อนหลัง โดยดูจากเป้าประสงค์ ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ขั้นตอนที่ 6 ลงมือปกิบัติตามกำหนดการที่ตั้งไว้ โดยแผนการต้องมีความยืดหยุ่น โดยต้องเผื่อตารางเวลาหากมีงานเร่งด่วน

การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 7(การบริหารเวลา)

การบริหารเวลา (Time Management)

การบริหารเวสาของผู้นำ เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งเราะเป็นการช่วยให้คนเราตระหนักว่า การทำงานมาก การรับผิดชอบมาก ไม่ใช่เรื่องงยากและน่าหนักใจ ถ้าเข้าใจเรื่อง  เวลา ในฐานะเป็นเงื่อนไข หรือ ข้อจำกัด ที่สำคัญ เราสามารถที่จะสรรงาน  แบ่งงาน ที่สำคัญที่สุดทำก่อน ได้อย่างถูกต้อง

ประเภทของการใช้เวลา  สามารถแยกเป็น 5 ปรเภท คือ
1. สำคัญละเร่งด่วน
2. สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน
3. เร่งด่วนแต่่ไม่สำคัญ
4. ยุ่งเหยิง
5. เสียเวลาเปล่า

การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 6 การเสริมสร้างพลังอำนาจ

การเสริมสร้างพลังอำนาจ,  การมอบอำนาจ  (Empowerment)
          การที่องค์กรจะประสบความสำเร็จและก้าวไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ
ของทุกคน ซึ่งจะเป็นเช่นนั้นได้ก็ต่อเมื่อ พนักงานในองค์กรมีอิสระที่จะคิดและทำสิ่งต่างๆได้ สามารถ
ซักถามถึงนโยบายและวิธีปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพหรือการบริหารงาน หรือแม้กระทั่งได้มีโอกาส
ทดลองและประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ เราเรียกวิธีการนี้ว่า Self -Empowerment คือการให้พนักงานมีอำนาจในตัวเอง มีอำนาจในการตัดสินใจ หรือทำสิ่งต่างๆโดยไม่ต้องขออนุมัติทุกครั้งไป ผู้บริหารจะต้อง มีความเชื่อมั่นในพนักงานของตนให้พนักงานทุกคนได้รับทราบข้อมูล และมีส่วนร่วมในการดำเนินการขององค์กร โดยที่ฝ่ายบริหารรับฟังและนำความคิดของเขามาใช้ด้วย ซึ่งจะทำให้พนักงานได้ใช้ความคิดความอ่าน ประสบการณ์ การหยั่งรู้ และความคิดสร้างสรรค์ของเขาเองเพื่อช่วยให้องค์กรมีการปรับปรุงและประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
         ดังนั้น การดึงเอาศักยภาพในตัวบุคคลออกมาให้มากที่สุดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น นำไปสู่การมอบ
อำนาจหน้าที่หรือการกระจายอำนาจ (Empowerment) เพื่อให้ให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ของ
องค์กร
         ความหมายคำศัพทืที่เกี่ยวข้อง
 
         "EMPOWERMENT"   หมายความว่า การให้อำนาจ การให้ความสามารถ การทำให้สามารถ การอนุญาต หรือการเปิดโอกาสให้


         "INFLUENCE"       หมายความว่า อำนาจชักจูง อำนาจบังคับ อำนาจวาสนา หรืออิทธิพล ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อบุคคลคนหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่ง ทำให้มีผลกระทบกระเทือน ต่อการที่บุคคลอื่น หรือกลุ่มอื่นคิด หรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด

         "POWER"   หมายความว่า กำลัง ความสามารถ หรืออำนาจ ซึ่งเป็นศักยภาพ ที่บุคคลคนหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่งมีอิทธิพลต่อบุคคลอื่น หรือกลุ่มอื่น หรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด

          "AUTHORITY" หมายความว่า อำนาจบังคับบัญชา เป็นอำนาจพิเศษชนิดหนึ่ง ซึ่งให้แก่บุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่งอย่างเป็นทางการ เพราะตำแหน่งหน้าที่ หรือบทบาท ซึ่งมีอยู่ในองค์การแห่งนั้น เช่น ผู้จัดการ มีอำนาจบังคับบัญชาฝ่ายต่างๆ ในองค์การ หรือคณะกรรมการบริหาร มีอำนาจบังคับบัญชา ที่จะตัดสินใจเรื่องบางอย่าง ให้องค์การแห่งนั้น

 http://advisor.anamai.moph.go.th . EMPWERMENT. รศ.นพ.เมืองทอง เขมมณี. (ค้นเมื่อ

8สิงหาคม 2553 เวลา 15.20 น.)
 

รายการบล็อกของฉัน