welcome for shared knowledge and experience





วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 8-4(แนวทางการบริหารความขัดแย้ง)

แนวทางการบริหารความขัดแย้ง

1.กระตุ้นหรือสนับสนุนให้เกิดความขัดแย้งในเชิงสร้างสรรค์์
     1.1  วิธีการกระตุ้น : การประชุมกลุ่ม  การสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่ม การเลือกผู้บริหารให้เหมาะสม การใช้ระบบการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ  การใช้บุคคลภายนอกที่มีแบบแผนค่านิยมความเชื่อที่แตกต่างเข้าไปกระตุ้น  หรือการจัดโครงสร้างองค์กรใหม่
     1.2 การทำให้เกิดสภาวะการสร้างสรรค์ในองค์กร หมายถึงการสร้างหรือก่อให้เกิดแนวความคิดหรือสิ่งใหม่ ๆขึ้นในองค์กร  ทั้งระดับบุคคลและระดับองค์การ

2. การป้องกันการขัดแย้งที่มีลักษณะทำลาย    ผู้บริหารควรจะได้หาทางป้องกันความขัดแย้งที่มีลักษณะทำลายไว้ก่อนที่จะสายเกินแก้  โดยใช้หลักการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข หรือสาเหตุที่คาดว่าจะนำไปสูู่ความขัดแย้ง ซึ่งมีวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
     2.1 กำหนดเป้าหมายขององค์การ แผนกงานหรือกลุ่มต่างๆรวมทั้งกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกในองค์การให้มีความชัดเจนมากทีี่สุด
     2.2 ผู้บริหารต้องเน้นให้แผนกงานหรือกลุ่มงานรับรู้ว่าองค์การนั้นมีเป้าหมายร่วมกันในการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การโดยส่วนรวม
     2.3 ส่งเเสริมให้มีกิจกรรมที่สร้างสัมพันธ์และกระซับความสามัคคีระหว่างแผนกงานหรือกลุ่มงาน
     2.4 ควรมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนบุคลากร ระหว่างหน่วยงานเพื่อความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน
     2.5 ผู้บริหารจัดสรรทรัพยากรอย่างเพียงพอ
     2.6 ควรมีผู้ประสานงานระหว่างกลุ่มที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี

ไม่มีความคิดเห็น:

รายการบล็อกของฉัน