welcome for shared knowledge and experience





วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ภาวะการขาดวิตามิน ดี

ภาวะการขาดวิตามินดี
            วิตามินดี มีแหล่งใหญ่จากรังสีอัลตร้าไวโอเลตบี จากแสงแดด  ผู้สูงอายุที่ไม่ค่อยได้ออกแสงแดดมักขาดวิตามิน ดี  หากเกิดในเด็ก จะทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อน (Rickets) ในผู้ใหญ่ เป็นโรคกระดูกอ่อนในผู้ใหญ่ (Osteomalacia)


      
            อาการแสดง  ทำให้กระดูกอ่อน โค้งงอง่าย รูปร่างกระดูกผิดปกติ นอกจากนี้วิตามิน ดีช่วยในการดูดซึมของแคลเซียม ซึ่งสัมพันธ์กับโรคกระดูกพรุน 

ภาวะขาดวิตามินโฟเลท

ภาวะขาดวิตามินโฟเลท
            Folate or folic acid ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ในเมตาโบลิซึมของกรดอะมิโน มีความจำป้นในการสร้างและการเจริญเติบโตของเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวในไขกระดูก
            สาเหตุ  จากการที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือมีภาวะความต้องการมากขึ้น
            อาการแสดง  เกิดภาวะโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่ (megaloblastic anemia) เนื่องจากการสังเคราะห์ DNA ต้องอาศัยโฟเลท

โรคขาดวิตามิน บี2

โรคขาดวิตามิน บี2
วิตามินบี 2 หรือไรโบฟลาวิน มีหน้าที่สำคัญเป็นโคเอนไซม์ในปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับการหายใจของเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญกรดอะมิโน
สาเหตุ  จากการที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือมีภาวะความต้องการมากขึ้น  หรือโรคพยาธิสภาพบางอย่าง เช่น Hypothyroidism  หรือการดื่มสุรา
 
อาการแสดง  มักจะพบที่ตาโดยมีการระคายเคือง น้ำตาไหล รู้สึกแสบร้อน คันตา สู้แสงไม่ได้ แสบร้อนที่ริมฝีปาก และลิ้น มีรอยแตกที่มุม 2 ข้าง ซึ่งจะพบมากที่สุด ลิ้นอาจมีลักษณะบวมแดง ผิวหนังมีคราบไคลที่ซอกจมูก

โรคขาดวิตามิน บี 1

โรคขาดวิตามิน บี 1
            วิตามิน บี 1 หรือ ไธอะมิน (Thaiamine)มีหน้าที่สำคัญในกระบวนการเผาผลาญสารอาหารเพื่อให้พลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต หากขาดวิตามิน บี 1 จะเป็นโรคเหน็บชา
            สาเหตุ
1.       ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ แหล่งอาหารวิตามิน บี 1 ได้แก่ จมูกข้าวสาลี  รำข้าวสาลี เนื้อหมูสด ข้าวซ้อมมือ เป็นต้น
2.       ร่างกายมีภาวะต้องการใช้วิตามินมากขึ้น เช่น ภาวะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
3.       โรคหรือพยาธิสภาพบางอย่าง ทำให้ความต้องการวิตามินบี 1 มากขึ้น เช่น โรคติดเชื้อ หรือภาวะไข้สูง
4.       ผู้ที่ดื่มสุราหรือยาดองเป็นประจำ
5.       ผู้ป่วยโรคตับแข็ง
อาการแสดง อาการแสดงจะแตกต่างกันในเด็กและผู้ใหญ่
1.       โรคเหน็บชาในเด็ก (infantile beriberi) มักพบในอายุ 2-3 เดือน มักมีอาการ อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน เช่นหน้าเขียว หอบเหนื่อย ตัวบวม หัวใจโต เต้นเร็ว  ร้องเสียงแหบ ไม่มีเสียง  อาจตายภายใน 2-3 ชั่วโมง
2.       โรคเหน็บชาในผู้ใหญ่ ( adult beriberi)
2.1    มีอาการชาโดยไม่บวม มักชาปลายมือ ปลายเท้า กล้ามเนื้อของแขนและขาไม่มีกำลัง
2.2    มีอาการชาและบวม  มักชาปลายมือปลายเท้า มีน้ำคั่งในช่องท้อง และช่องปอด บางรายมีอาการหอบเหนื่อย หัวใจโตและเต้นเร็ว หัวใจอาจวาย ถ้ารักษาไม่ทันท่วงทีอาจเสียชีวิต

Ault Beri-beri

Infantile Beri-ber
  

ปัญหาจากการขาดวิตามิน

ปัญหาจากการขาดวิตามิน

โรคขาดวิตามิน เอ (Vitamin A Deficiency; VAD)
            มีลักษณะสำคัญคือ ทำให้ตาบอดได้ วิตามิน เอ มีหน้าที่สำคัญต่อกระบวนการทางเคมีของการมองเห็นที่สลัว การขาดวิตามิน เอทำให้เกิดความผิดปกติหลายอย่าง คือ การเจริญเติบโตหยุดชะงัก มีผลต่อสายตาและเยื่อบุต่างๆเช่นเยื่อบุบริเวณตาขาว ผิวหนัง เยื่อบุในช่องทางเดินต่างๆ ของร่างกาย มีการติดเชื้อง่าย
            สาเหตุ
1.       การขาดความรู้ ของมารดาในการเลี้ยงดูบุตร
2.       ความต้องการวิตามิน เอ เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเด็กซึ่งมีอัตราการติดเชื้อสูง
3.       การได้รับจากอาหารไม่เพียงพอ
อาการแสดง
อาการทางตาที่เกิดจากการขาดวิตามิน เอ คือ ตาแห้ง (Xerophthalmia) โดยอาการเริ่มแรงสุดคือ ตาบอดแสง (Night blindness)จากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงที่เยื่อบุตาด้านนอกรวมทั้งตาขาวทำให้มีลักษณะแห้ง (Conjuntival xerosis) และขรุขระเป็นแผล (Corneal erosion)จนในที่สุดกระจกตาอ่อนเหลวทำให้น้ำหล่อเลี้ยงในลูกตาทะลักออกมา(Keratomalacia)
หากเกิดมากทำให้การเจริญเติบโตชะงักได้ เพิ่มอัตราการเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้นมีผลให้อัตราตายสูงขึ้น

โรคขาดโปรตีนและพลังงานในผู้ใหญ่

โรคขาดโปรตีนและพลังงานในผู้ใหญ่
กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ให้ค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index : BMI) เป็นดัชนีชี้วัด เพื่อจำแนกภาวะโภชนาการ ระดับต่างๆ ดังนี้
            Body mass index  : BMI = น้ำหนัก(กิโลกรัม) / ความสูง (เมตร)2
            โรคอ้วน= ดัชนีมวลกาย ≥   25   กิโลกรัม / (เมตร)2
            ปกติ = ดัชนีมวลกาย ≥   20-24.9   กิโลกรัม / (เมตร)2
            ขาดอาหาร = ดัชนีมวลกาย ‹   20   กิโลกรัม / (เมตร)2
สาเหตุของการเกิดโรคขาดโปรตีนและพลังงานในผู้ใหญ่
            สามารถแบ่ง ได้ 2 ปัจจัย คือปัจจัยทางร่างกายและปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม
1.       ปัจจัยทางร่างกาย ได้แก่การเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยา โรคประจำตัว และความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน
1.1    การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเนื่องจากความชรา ทำให้มีภาวะเสื่อมของร่างกาย
1.2    โรคประจำตัว เช่นสมองเสื่อม โรคอัมพาตและอัมพฤกษ์ เป็นต้น
1.3    ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เป็นสาเหตุการขาดสารอาหาร
2.       ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ผู้สูงอายุไม่มีรายได้เป็นของตนเอง โดยเฉพาะชนบท
อาการแสดงของโรคขาดโปรตีนและพลังงาน
  • 1  ควาชิออร์คอร์ (kwashiorkor) มีการขาดโปรตีนอย่างมาก อาการเกิดจากการได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ มีอาการบวม เห็นได้ชัดที่ขาทั้ง 2 ข้าง เส้นผมเปราะหลุดง่าย ตับโต ผิวหนังบาง ลอกหลุดง่าย ซึมเศร้า ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม

2.        2. มาราสมัส (Marasmus) มีอาการขาดทั้งพลังงานและโปรตีน อย่างมาก เมีอาการแขนขาลีบเล็ก เหลือหนังหุ้มกระดูกเพราะกล้ามเนื้อและไขมันถูกเผาผลาญเป็นพลังงาน
3.      3.  อาการผสมผสานทั้งควาชิออร์คอร์และมาราสมัส

แนวทางส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการขาดโปรตีนและพลังงานในผู้ใหญ่
1.       การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีเจตคติที่ดีในการดูแลสุขภาพตนเอง บริโภคให้ถูกหลักโภชนาการ
2.       การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเข้าถึงการให้บริการทางการแพทย์ตลอดจนข้อมูลข่าวสารต่างๆ
3.       การมีมาตรการส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุ

โรคขาดโปรตีนและพลังงานในเด็ก (2)

โรคขาดโปรตีนและพลังงานในเด็ก (2)
  อาการแสดงของโรคขาดโปรตีนและพลังงาน
1.       ควาชิออร์คอร์ (kwashiorkor) มีการขาดโปรตีนอย่างมาก อาการเกิดจากการได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ มีอาการบวม เห็นได้ชัดที่ขาทั้ง 2 ข้าง เส้นผมเปราะหลุดง่าย ตับโต ผิวหนังบาง ลอกหลุดง่าย ซึมเศร้า ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม พบในเด็ก อายุมากกว่า 1 ปีและผู้ใหญ่
2.       มาราสมัส (Marasmus) มีอาการขาดทั้งพลังงานและโปรตีน อย่างมาก เด็กมีอาการแขนขาลีบเล็ก เหลือหนังหุ้มกระดูกเพราะกล้ามเนื้อและไขมันถูกเผาผลาญเป็นพลังงาน
3.       อาการผสมผสานทั้งควาชิออร์คอร์และมาราสมัส
แนวทางส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการขาดโปรตีนและพลังงานในเด็ก
1.       การให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่ประชาชนผ่านสื่อต่างๆ
2.       การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการเผยแพร่ความรู้อย่างสม่ำเสมอ
3.       การส่งเสริมวิชาการด้านโภชนาการ
4.       การส่งเสริมให้เด็กมีอาหารบริโภคอย่างเพียงพอและถูกหลักโภชนาการ
5.       การเปิดโอกาสให้ประชาชนและชุมชนมีบทบาทต่อการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการของตนเอง  

โรคขาดโปรตีนและพลังงานในเด็ก

โรคขาดโปรตีนและพลังงานในเด็ก
การประเมินภาวะโภชนาการของทารกและวัยก่อนเรียน ด้านโปรตีนและพลังงานที่นิยมใช้คือ การวัดสัดส่วนต่างๆ
ของร่างการเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานเช่นการชั่งน้ำหนักตัว (Weight for age or Weight for height)  การวัดส่วนสูง (Height for age)  การวัดเส้นรอบวงศีรษะ  (Head circumference) การวัดเส้นรอบอก (Chest circumference)  แต่วิธีที่นิยมมากที่สุดพบว่า วิธีการชั่งน้ำหนักเป็นวิธีที่นิยมกันมากที่สุด  โดยมีแนวทางการตัดสินความรุนแรงของโรคขาดโปรตีนและพลังงาน ดังนี้
ปกติ  หมายถึง มีน้ำหนัก › 90%  ของน้ำหนักมาตรฐานเด็กไทยที่อายุเท่ากัน (Standard weight by age)
ขาดสารอาหารระดับ 1 (Malnutrition 1) หมายถึง มีน้ำหนัก › 75 – 89.9 %  ของน้ำหนักมาตรฐานเด็กไทยที่
                                                                   อายุเท่ากัน
ขาดสารอาหารระดับ 2 (Malnutrition 2) หมายถึง มีน้ำหนัก › 60 – 74.9 %  ของน้ำหนักมาตรฐานเด็กไทยที่
                                                                 อายุเท่ากัน
ขาดสารอาหารระดับ 3 (Malnutrition 3) หมายถึง มีน้ำหนัก ‹ 60 % ของน้ำหนักมาตรฐานเด็กไทยที่อายุเท่ากัน
สาเหตุของการเกิดโรคขาดโปรตีนและพลังงานในเด็ก
1.       1.การขาดความรู้ เนื่องจากนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดของทารกแรกเกิดจนถึง 6 เดือน โดยมารดาจะต้องได้รับสารอาหารครบถ้วน และทารกจะต้องได้รับอาหารเสริมที่เหมาะสมตามวัย
2.       2. ความยากจน ทำให้เด็กได้รับสารอาหารทั้งปริมาณและคุณภาพไม่เพียงพอ
3.       3.ความเชื่อ การงดของแสลงซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายระหว่างตั้งครรภ์

ปัญหาโภชนาการ

แนวคิด
1.       โรคขาดโปรตีนและการพลังงานพบได้บ่อยในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ เมื่อเป็นแล้วจะมีภูมิต้านทานต่ำทำให้เกิดโรคติดเชื้อได้ง่ายและส่งผลเสียต่อสติปัญญาการเรียนรู้และประสิทธิภาพการทำงาน
2.       วิตามินมีความสำคัญในการเจริญเติบโตและช่วยในการทำงานของกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกาย ปัญหาจากการขาดวิตามินที่สำคัญ ได้แก่โรคขาดวิตามิน เอ  โรคขาดวิตามิน บี 1  โรคขาดวิตามิน บี 2   ภาวะขาดวิตามินโฟเลท รวมทั้งขาดวิตามินดีและซี
3.       แร่ธาตุมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของบุคคล หากขาดแร่ธาตุจะทำให้การทำงานของระบบต่างๆมีความผิดปกติ
4.       โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นสาเหตุทำให้มีอัตราการตายสูงเป็นอันดับต้นๆ การให้ความรู้ทางโภชนาการที่ถูกต้องเหมาะสมในแต่ละโรคจะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้
       วัตถุประสงค์  นักศึกษาสามารถอธิบาย
  1. 1.       โรคขาดโปรตีนในเด็กเล็กและผู้ใหญ่ได้
  2. 2.       ปัญหาจากการขาดวิตามินได้
  3. 3.       ปัญหาจากการขาดแร่ธาตุได้
  4. 4.       โรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้


รายการบล็อกของฉัน