welcome for shared knowledge and experience





วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โรคขาดโปรตีนและพลังงานในผู้ใหญ่

โรคขาดโปรตีนและพลังงานในผู้ใหญ่
กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ให้ค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index : BMI) เป็นดัชนีชี้วัด เพื่อจำแนกภาวะโภชนาการ ระดับต่างๆ ดังนี้
            Body mass index  : BMI = น้ำหนัก(กิโลกรัม) / ความสูง (เมตร)2
            โรคอ้วน= ดัชนีมวลกาย ≥   25   กิโลกรัม / (เมตร)2
            ปกติ = ดัชนีมวลกาย ≥   20-24.9   กิโลกรัม / (เมตร)2
            ขาดอาหาร = ดัชนีมวลกาย ‹   20   กิโลกรัม / (เมตร)2
สาเหตุของการเกิดโรคขาดโปรตีนและพลังงานในผู้ใหญ่
            สามารถแบ่ง ได้ 2 ปัจจัย คือปัจจัยทางร่างกายและปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม
1.       ปัจจัยทางร่างกาย ได้แก่การเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยา โรคประจำตัว และความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน
1.1    การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเนื่องจากความชรา ทำให้มีภาวะเสื่อมของร่างกาย
1.2    โรคประจำตัว เช่นสมองเสื่อม โรคอัมพาตและอัมพฤกษ์ เป็นต้น
1.3    ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เป็นสาเหตุการขาดสารอาหาร
2.       ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ผู้สูงอายุไม่มีรายได้เป็นของตนเอง โดยเฉพาะชนบท
อาการแสดงของโรคขาดโปรตีนและพลังงาน
  • 1  ควาชิออร์คอร์ (kwashiorkor) มีการขาดโปรตีนอย่างมาก อาการเกิดจากการได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ มีอาการบวม เห็นได้ชัดที่ขาทั้ง 2 ข้าง เส้นผมเปราะหลุดง่าย ตับโต ผิวหนังบาง ลอกหลุดง่าย ซึมเศร้า ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม

2.        2. มาราสมัส (Marasmus) มีอาการขาดทั้งพลังงานและโปรตีน อย่างมาก เมีอาการแขนขาลีบเล็ก เหลือหนังหุ้มกระดูกเพราะกล้ามเนื้อและไขมันถูกเผาผลาญเป็นพลังงาน
3.      3.  อาการผสมผสานทั้งควาชิออร์คอร์และมาราสมัส

แนวทางส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการขาดโปรตีนและพลังงานในผู้ใหญ่
1.       การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีเจตคติที่ดีในการดูแลสุขภาพตนเอง บริโภคให้ถูกหลักโภชนาการ
2.       การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเข้าถึงการให้บริการทางการแพทย์ตลอดจนข้อมูลข่าวสารต่างๆ
3.       การมีมาตรการส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุ

ไม่มีความคิดเห็น:

รายการบล็อกของฉัน