welcome for shared knowledge and experience





วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โรคขาดโปรตีนและพลังงานในเด็ก

โรคขาดโปรตีนและพลังงานในเด็ก
การประเมินภาวะโภชนาการของทารกและวัยก่อนเรียน ด้านโปรตีนและพลังงานที่นิยมใช้คือ การวัดสัดส่วนต่างๆ
ของร่างการเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานเช่นการชั่งน้ำหนักตัว (Weight for age or Weight for height)  การวัดส่วนสูง (Height for age)  การวัดเส้นรอบวงศีรษะ  (Head circumference) การวัดเส้นรอบอก (Chest circumference)  แต่วิธีที่นิยมมากที่สุดพบว่า วิธีการชั่งน้ำหนักเป็นวิธีที่นิยมกันมากที่สุด  โดยมีแนวทางการตัดสินความรุนแรงของโรคขาดโปรตีนและพลังงาน ดังนี้
ปกติ  หมายถึง มีน้ำหนัก › 90%  ของน้ำหนักมาตรฐานเด็กไทยที่อายุเท่ากัน (Standard weight by age)
ขาดสารอาหารระดับ 1 (Malnutrition 1) หมายถึง มีน้ำหนัก › 75 – 89.9 %  ของน้ำหนักมาตรฐานเด็กไทยที่
                                                                   อายุเท่ากัน
ขาดสารอาหารระดับ 2 (Malnutrition 2) หมายถึง มีน้ำหนัก › 60 – 74.9 %  ของน้ำหนักมาตรฐานเด็กไทยที่
                                                                 อายุเท่ากัน
ขาดสารอาหารระดับ 3 (Malnutrition 3) หมายถึง มีน้ำหนัก ‹ 60 % ของน้ำหนักมาตรฐานเด็กไทยที่อายุเท่ากัน
สาเหตุของการเกิดโรคขาดโปรตีนและพลังงานในเด็ก
1.       1.การขาดความรู้ เนื่องจากนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดของทารกแรกเกิดจนถึง 6 เดือน โดยมารดาจะต้องได้รับสารอาหารครบถ้วน และทารกจะต้องได้รับอาหารเสริมที่เหมาะสมตามวัย
2.       2. ความยากจน ทำให้เด็กได้รับสารอาหารทั้งปริมาณและคุณภาพไม่เพียงพอ
3.       3.ความเชื่อ การงดของแสลงซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายระหว่างตั้งครรภ์

ไม่มีความคิดเห็น:

รายการบล็อกของฉัน