welcome for shared knowledge and experience





วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การประกันคุณภาพ

กลุ่มสร้างคุณภาพงาน    (Quality Control Circle : Q.C.C )

ประวัติและพัฒนาการ การควบคุมคุณภาพ

             เริ่มโดย C.N.Frazee แห่งบริษัท Telephone Laboratories ในปี ค.ศ.1916 ซึ่งนำวิธีทางสถิติมาประยุกต์ใช้กับการตรวจสอบ (อเมริกา)

              ค.ศ.1925 Dr.Walter A. Shewhart แห่งบริษัท Western Electric ได้ใช้สถิติประยุกต์มาใช้ในการควบคุมการผลิตและใช้แผนภูมิควบคุม (Control Chart) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และในเวลาเดียวกัน Dr. Harold F. Dodge   ได้เสนอหลักการชักตัวอย่างเพื่อการยอมรับ

             1938 Dr. W. Edwards Deming ได้เข้าร่วมทีม Dr. Shewhart และ Dr.Dodge และ Deming ได้รับการยกย่องอย่างสูง และเป็นผู้สร้างระบบการควบคุมคุณภาพให้แก่อุตสาหกรรมในประเทศญี่ปุ่น

             และในปี 1950 Dr. Deming ไปบรรยายเรื่องวิธีการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติให้แก่ผู้บริหารระดับสูงของญี่ปุ่น ใช้เวลา ๘ วัน ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานลำดับต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในญี่ปุ่น (ตรวจสอบหลังการผลิต)

             Dr. K. Ishikawa  เน้นคุณภาพของบุคลากรในการทำงาน โดยกล่าวว่าคุณภาพของงานเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องร่วมกันทำ ไม่ใช้เกิดจากการตรวจสอบหลังการผลิตเท่านั้น

             ทำให้เกิดการปฏิรูปในด้านคุณภาพผลผลิต ในโรงงานอุตสาหกรรมในญี่ปุ่น จนพัฒนาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น  บิดาแห่งการบริหารระบบกลุ่มคุณภาพหรือกลุ่มคิวซี

             ประเทศไทย การดำเนินการด้านควบคุมคุณภาพหรือ QC เริ่มปี พ.ศ. 2518 โดยบริษัทในเครือของญี่ปุ่น

     - ไทยบริดจสโตน

     - ไทยฮีโน่ อุตสาหกรรม

ประโยชน์ในการทำกิจกรรมกลุ่มคิวซี

             ฝึกการทำงานเป็นทีม

             สร้างลักษณะความเป็นผู้นำ

             รู้จักรับผิดชอบต่อตนเองและเพื่อนร่วมงาน

             สร้างจิตสำนึกที่ดี  รักษาชื่อเสียง พิทักษ์ผลประโยชน์ต่อองค์การ

             สร้างความสามัคคีในกลุ่ม

             พัฒนาความรู้ของตนเอง มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

             ผลผลิตเพิ่มขึ้น  งานมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนการปฏิบัติการสร้างกลุ่มสร้างคุณภาพ

วัฏจักรของเดมิ่ง    ( Deming Cycle) คือ

      1.   การวางแผน     (P : plan  )

      2.   การปฏิบัติ     (D : do  )

      3.   การตรวจสอบ ( C : check )

      4.   การปรับปรุงแก้ไข  ( A  : action   )

                   1.   การวางแผน          (P : plan  )   ขั้นการวางแผน

             ระบุถึงปัญหาต่างๆ ที่ต้องการปรับปรุง 

             เก็บรวบรวมข้อมูล

             กำหนดหัวข้อและแสดงภาพของปัญหา

             กำหนดเป้าหมายที่แน่นอน  

             เลือกวิธีการแก้ไขปรับปรุง

2.   การปฏิบัติ     (D : do  )  ขั้นการปฏิบัติ

หลังจากได้ดำเนินการวางแผนขั้นต่าง ๆ แล้ว  ในขั้นไปนี้จะเป็นขั้นของการปฏิบัติตามแผน  เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้สาเหตุของแต่ละสาเหตุ 

3.   การตรวจสอบ ( C : check )ขั้นการตรวจสอบ

เมื่อทำในขั้นที่2 แล้ว   จะต้องตรวจติดตามผลงานที่ปฏิบัติไปด้วยโดย

             ตรวจสอบผลเป็นระยะ ระหว่างดำเนินการแก้ไข

             ตรวจสอบผลทั้งหมดภายหลังการแก้ไข แล้วเปรียบเทียบข้อมูลก่อนการแก้ไข เพื่อทราบว่าบรรลุตามเป้าหมายที่กลุ่มตั้งไว้หรือไม่

4.   การปรับปรุงแก้ไข  ( A  : action   ) ขั้นการปรับปรุง      

เป็นผลจากขั้นตอนการตรวจสอบจากที่กล่าวมาแล้วในหัวข้อที่  3  ที่ว่าถ้าได้ผลตามเป้าหมายหรือสูงกว่าเป้าหมายก็ได้นำผลการปฏิบัติต่างๆ มาจัดทำเป็นมาตรฐาน  และถ้าได้ผลต่ำกว่าเป้าหมายก็ให้รีบแก้ไขปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพขึ้น  แล้วจึงจัดทำเป็นมาตรฐานงานการปฏิบัติเพื่อเสนอรายงานผลงานให้กลุ่มอื่นได้ทราบต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

รายการบล็อกของฉัน