องค์ประกอบของระบบประกันคุณภาพการพยาบาล
• การกำหนดมาตรฐานการพยาบาล Nursing Standard
• การตรวจสอบคุณภาพการพยาบาล Nursing Audit
• การปรับปรุงคุณภาพ Quality Improvement
มาตรฐานการพยาบาล
มาตรฐาน หมายถึง สิ่งที่สร้างขึ้นหรือแนวทางที่กำหนดขึ้น หรือ รูปแบบ หรือตัวอย่างที่สร้างขึ้น โดยผู้ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ที่จะกระทำได้ โดยคำนึงถึงระเบียบประเพณี หรือสิ่งอื่นที่มาเกี่ยวข้อง เช่น เกณฑ์ หรือระดับมาตรฐานและระดับคุณภาพที่พิจารณาให้เหมาะสม และเพียงพอสำหรับเป้าหมายเฉพาะ เพื่อเป็นเกณฑ์ในการวัดคุณค่าทั้งปริมาณและคุณภาพ
มาตรฐาน หมายถึง ข้อความที่อธิบายแนวทางการปฏิบัติหรือวิธีดำเนินการที่ครอบคลุมขอบเขตของการพยาบาลถือเป็นข้อกำหนดให้มีการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลดีต่อการดูแลหรือการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ ทั้งในส่วนบุคคล ครอบครัว ชุมชน ตลอดทั้งข้อความนั้นต้องเที่ยงตรง ชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้
มาตรฐานจำแนกตามระดับคุณภาพ
• มาตรฐานระดับสากล Normative Standard
– แนวทางกำหนดระดับดีเลิศ ตามความคาดหวังที่เป็นอุดมคติ ซึ่งโดยทั่วไปถูกกำหนดโดยองค์กรวิชาชีพ
• มาตรฐานระดับผู้เชี่ยวชาญ Empirical Standard
– เนื้อหาที่กำหนดเป็นมาตรฐานมาจากระดับผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีความรู้ ความสามารถ เช่นนักวิชาการ หรือผู้ปฏิบัติการ ส่วนใหญ่มักจะกำหนดโดนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดมาตรฐาน
• เซนเตอร์(Center,1978 อ้างใน นิตยา ศรีญาณลักษณ์,2545) ได้เสนอแนวทางการกำหนดมาตรฐานการพยาบาลไว้ดังนี้
1. กำหนดขอบเขตหรือวัตถุประสงค์ที่จะควบคุมคุณภาพการพยาบาล
2. ความสอดคล้องกันทั้งปรัชญา มาตรฐาน และวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
3. การกำหนดมาตรฐานการพยาบาลในลักษณะกระบวนการผู้กำหนดต้องมีความรู้ ความสามารถวิเคราะห์ปัญหาผู้ป่วย
ประเภทของมาตรฐานการพยาบาล
• คาร์ซและกรีน(Katz&Green,1997 อ้างใน นิตยา ศรีญาณลักษณ์,2545) จำแนกไว้ดังนี้
1. จำแนกตามแนวคิดเชิงระบบ แบ่งเป็น 3 ชนิดได้แก่
1.1 มาตรฐานเชิงโครงสร้าง (Structural standard)
1.2 มาตรฐานเชิงกระบวนการ (Process standard)
1.3 มาตรฐานเชิงผลลัพธ์ (Outcome standard)
มาตรฐานเชิงโครงสร้าง
• เกี่ยวข้องกับปัจจัยนำเข้าทั้งหมด ของระบบบริการการพยาบาล
– ปรัชญา วัตถุประสงค์ นโยบายการปฏิบัติงาน การ
– จัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ 4 M
– การอบรม การมอบหมายงาน การติดต่อสื่อสาร
มาตรฐานเชิงกระบวนการ
• จะบอกถึงกิจกรรมการพยาบาลทั้งหมดที่ให้กับผู้ป่วย โดยการระบุพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของพยาบาล การกำหนดมาตรฐานเชิงกระบวนการนี้กระทำเพื่อใช้วัดคุณภาพการพยาบาล โดยวัดจากความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลด้วยกระบวนว่า พยาบาลได้ทำอะไรให้ผู้ป่วย ซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมาย และคุณภาพ
มาตรฐานเชิงผลลัพธ์
• เป็นการวัดผลจากการดูแลผู้ป่วย ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์สุดท้ายในการวัดผลทางการพยาบาล โดยแสดงถึงพฤติกรรมที่ผู้ป่วยแสดงออกตามที่คาดหวังว่าจะเปลี่ยนไปใน ทางบวก และความพึงพอใจของผู้ป่วยมากว่ากระบวนการพยาบาล
2.จำแนกตามจุดเน้นของเนื้อหาแบ่งเป็น 2 ชนิดได้แก่
2.1 มาตรฐานการบริการพยาบาล (Standard of Nursing service)
2.2 มาตรฐานปฏิบัติการพยาบาล (Standard of Nursing practice)
มาตรฐานการบริการพยาบาล (Standard of Nursing service)
• ปัจจัยที่เกี่ยวข้องคล้ายกับมาตรฐานเชิงโครงสร้าง คือปัจจัยนำเข้าทั้งระบบ รวมถึงกลไกการจัดการเพื่อให้บริการพยาบาลบรรลุเป้าหมาย หรือเป็นมาตรฐานที่กำหนดไว้เป็นนโยบาย
มาตรฐานปฏิบัติการพยาบาล (Standard of Nursing practice)
• เน้นการปฏิบัติการพยาบาลหรือการดูแล บอกถึงบทบาทความรับผิดชอบและสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ เนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นกระบวนการพยาบาล คือ การประเมินปัญหา การวินิจฉัย การวางแผน การปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผลทางการพยาบาล
3.การสร้างมาตรฐานการพยาบาลตามแนวคิดของ เมสัน
เมสัน (Mason, 1994) แบ่งมาตรฐานการพยาบาลตามหน่วยการพยาบาล (Unit of nursing care) ออกเป็น 5 ประเภทคือ
การสร้างมาตรฐานการพยาบาลตามแนวคิดของ เมสัน (Mason, 1994)
1. มาตรฐานตามวิธีการปฏิบัติการพยาบาล (Nursing intervention) โดยกำหนดเป็นขั้นตอน (Step-by
step-method) เช่น มาตรฐานการดูดเสมหะผู้ป่วยทางหลอดลมคอ มาตรฐานการทำความสะอาดร่างกายผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ มาตรฐานการเช็ดตัวลดไข้
2. มาตรฐานตามการวินิจฉัยการพยาบาล (Nursing diagnosis) รวมทั้งปัญหาสุขภาพ หรือความต้องการพื้นฐานของผู้ป่วย ตัวอย่างเช่น มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน เป็นต้น
3. ตามการวินิจฉัยทางการแพทย์ (Medical diagnosis) โดยการแปลความหมายว่าการวินิจฉัยทางการแพทย์นั้นๆ ต้องการ การพยาบาลที่ครอบคลุมอะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยข้ออักเสบ มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยโรคต่างๆ เป็นต้น
4.มาตรฐานตามมโนทัศน์ทางการยาบาล (Concept) ซึ่งอาจเป็นกลุ่มของประเภทหรือพฤติกรรมของผู้ป่วย กลุ่มของเหตุการณ์หรือกระบวนการซึ่งมีคุณลักษณะเฉพาะที่ให้ความหมายได้ ตัวอย่างเช่น มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่หมดสติ มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยก่อนหรือหลังผ่าตัด มาตรฐานการพยาบาลผู้คลอดในระยะคลอด มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรืออื่นๆ เป็นต้น
5. มาตรฐานการพยาบาลตามปัญหาสุขภาพและความต้องการพื้นฐานของผู้ป่วย (Health problems and needs) เช่น มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะอาเจียนรุนแรง มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่ต้องการเคลื่อนไหวภายหลังผ่าตัด เป็นต้น
นอกจากนั้นการกำหนดมาตรฐานการพยาบาลสามารถกำหนดได้หลายรูปแบบ ตามปรัชญา และนโยบายของหน่วยงาน การศึกษาเรื่องการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล จากภายนอก เช่นกฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพ ความคิดเห็นผู้รับบริการ การศึกษาความต้องการของผู้ใช้บริการ หรือความคิดเห็นจากผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการพยาบาล
หลักสำคัญของการกำหนดมาตรฐานการพยาบาล
1. ข้อความของมาตรฐานต้องมีความชัดเจน ถูกต้องผู้นำไปใช้เกิดความเข้าใจตรงกัน
2. สามารถปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จได้
3. สามารถวัดได้ ในรูปหน่วยที่สามารถเปรียบเทียบ ได้
4. มาตรฐานต้องยืดหยุ่น
ส่วนประกอบในการเขียนมาตรฐานการพยาบาล
• หัวข้อมาตรฐาน แจ้งเฉพาะว่าเป็นมาตรฐานประเภทใด เช่น มาตรฐานเชิงโครงสร้าง มาตรฐานเชิงกระบวนการ มาตรฐานเชิงผลลัพธ์ เป็นต้น
• ข้อความมาตรฐาน เป็นจุดมุ่งหมายหรือผลลัพธ์ที่ต้องการจุดเน้นแต่ละด้าน
• “การจัดองค์กร และการบริหารงานเอื้อให้หน่วยบริการในความรับผิดชอบสามารถจัดบริการพยาบาลได้อย่างมีคุณภาพ”
เกณฑ์เป็นทั้งประเด็นที่ใช้ประเมินการดำเนินงานว่าสามารถบรรลุเป้าหมายหรือไม่
• “มีหัวหน้าพยาบาลที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารรับผิดชอบกลุ่มงานการพยาบาลและร่วมเป็นกรรมการบริหารโรงพยาบาล”
• ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
• เป็นข้อความที่แสดงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการ ครอบครัว และชุมชน
• “น้ำหนักไม่ลดลงไปกว่าเดิม ไม่มีอาการบวม โปรตีนในเลือดไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น