welcome for shared knowledge and experience





วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โภชนาการสำหรับทารก เด็กวัยก่อนเรียน วัยเรียน และวัยรุ่น (Nutrition in infancy,children and adolescence)

ภชนาการสำหรับทารก เด็กวัยก่อนเรียน  วัยเรียน  และวัยรุ่น
(Nutrition  in infancy,children and adolescence)
วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักศึกษาสามมารถ
1.       ประเมินการเจริญเติบโตที่เหมาะสมเมื่อได้รับสารอาหารเพียงพอในวัยทารก เด็กวัยก่อนเรียน วัยเรียนและวัยรุ่นได้
2.       กำหนดชนิดและปริมาณอาหารที่ร่างกายต้องการในวัยทารก เด็กวัยก่อนเรียน วัยเรียนและวัยรุ่นได้
3.       อธิบายผลดีของการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา
4.       อธิบายการให้นมมารดา นมผสม และอาหารเสริมสำหรับทารกได้
5.       วางแผนการจัดอาหารให้เพียงพอตามที่กำหนดสำหรับทารก  เด็กวัยก่อนเรียน วัยเรียนและวัยรุ่นได้
6.       ให้คำปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในทารก เด็กวัยก่อนเรียน วัยเรียนและวัยรุ่นได้

โภชนาการสำหรับทารก
(Nutrition in infancy)
วัยทารก  หมายถึง เด็กแรกเกิดตอย่างรวดเร็ว  ทารกที่คลอดโดยมารดาที่มีสุขภาพและภาวะโภชนาการดี น้ำหนักจะอยู่ประมาณ  2,700-3,900 กรัม หรือโดยเฉลี่ยประมาณ 3,000 กรัม 
 ทารกหลังคลอดถ้าได้รับอาหารพอเพียงจะเจริญเติบโตมีน้ำหนักดี ดังต่อไปนี้
            2 เท่าของน้ำหนักแรกเกิดเมื่ออายุ 4-5 เดือนคือ 6 กิโลกรัม
            3 เท่าของน้ำหนักแรกเกิดเมื่ออายุ 12 เดือน คือ 9 กิโลกรัม
            4 เท่าของน้ำหนักแรกเกิดเมื่ออายุ   2 ปี คือ    12 กิโลกรัม
            จากนั้นน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอีกปีละประมาณ 2 กิโลกรัม เช่นเด็กอายุ ปี จะหนักประมาณ 18 กิโลกรัม  หรือใช้สูตร การหาน้ำหนักภายหลัง 2 ปี ดังนี้
            น้ำหนัก (กิโลกรัม)  =  8 + ( 2 X อายุเป็นปี )± 2

            สำหรับส่วนสูงที่ทารกหลังคลอดได้รับอาหารเพียงพอมีส่วนสูงเพิ่มขึ้นดังนี้
            0.5  เท่า ของส่วนสูงแรกเกิด เมื่ออายุ 1 ปี
            1 เท่า ของส่วนสูงแรกเกิด เมื่ออายุ 4 ปี

            เส้นรอบวงศีรษะ เนื่องจากการเจริญเติบโตของสมองตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์จนกระทั่งอายุ 2 ปี ในระยะนี้จำนวนเซลล์และขนาดสมองขึ้นอยู่กับการได้รับสารอาหารที่เหมาะสม เส้นรอบวงศีรษะจะเพิ่มขึ้น 2/3 เท่าของเส้นรอบวงศีรษะแรกเกิดเมื่ออายุ 2 ปี
            การประเมินภาวะโภชนาการของทารกจากส่วนสูง น้ำหนัก และเส้นรอบวงศีรษะโดยการเปรียบเทียบกับตารางการเจริญเติบโตมาตรฐานของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจำแนกตามเพศได้แก่
            -ส่วนสูงเมื่อเปรียบเทียบกับอายุ (Height for age)
            -น้ำหนักเมื่อเปรียบเทียบกับอายุ (Weight for age)
            -น้ำหนักเมื่อเปรียบเทียบกับส่วนสูง (Weight for Height)
            -เส้นรอบวงศีรษะเมื่อเปรียบเทียบกับอายุ (Head circumference for age)

ความต้องการสารอาหารในทารก
(Nutritional Requirements)
1.       พลังงาน ทารกมีการสูญเสียความร้อนมากเนื่องจากพื้นที่ผิวของทารกมีมากเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำหนักตัว ทารกต้องการพลังงานวันละ 100 กิโลแคลลอรี่ / กิโลกรัม ซึ่งมากกว่าผู้ใหญ่ 3 เท่า (ผู้ใหญ่ต้องการวันละ 30-40 กิโลแคลลอรี่ / กิโลกรัม
การใช้พลังงานของทารกมีดังนี้
1.1 พลังงานสำหรับ BMR = 55   กิโลแคลลอรี่ / กิโลกรัม / วัน
1.2 พลังงานสำหรับการเจริญเติบโต = 35   กิโลแคลลอรี่ / กิโลกรัม / วัน
1.3 พลังงานสำหรับการทำกิจกรรม = 10   กิโลแคลลอรี่ / กิโลกรัม / วัน
      รวมทั้งหมด  100   กิโลแคลลอรี่ / กิโลกรัม / วัน
      ในช่วง 2-3 เดือนแรกเกิด  ทารกได้รับพลังงานจากน้ำนมมารดาอย่างเพียงพอ  น้ำนมมารดาให้พลังงาน 68 กิโลแคลลอรี่ ต่อ น้ำนม 100  มิลลิลิตร (20 กิโลแคลลอรี่/ 1 ออนซ์)
2.       คาร์โบไฮเดรต   แลคโตสเป็นสารอาหารคาร์โบไฮเดรตที่พบในน้ำนมมารดา ในนมมารดาจะให้พลังงานจากแลคโตส ร้อยละ 42 ของพลังงานทั้งหมด ในนมวัวให้พลังงานจากแลคโตส ร้อยละ 28 ของพลังงานทั้งหมด   แลคโตสมีความสำคัญกับทารกเพราะเป็นแหล่งให้กาแลคโตส   กับ กลูโคส ร่างกายทารกจะนำมาสร้าง Cereboside  ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ Myelin ในใยประสาท
3.       โปรตีน ความต้องการโปรตีนในทารกแรกเกิด – 6 เดือน จะเป็น 2.2กรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน และลดลงเหลือ 2 กรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ใน 6 เดือนหลัง
4.       ไขมัน เป็นแหล่งให้พลังงานให้กรดไขมันจำเป็น (essential fatty acid)เป็นตัวพาวิตามินที่ละลายในไขมันและให้ทารกรู้สึกอิ่ม  มีการเรียนรู้ในการควบคุมการกินอาหาร
5.       วิตามินและเกลือแร่
5.1    Vitamin K ควรให้ทารกแรกคลอดทุกคน เพื่อป้องกัน hemorrhagic disease  ปริมาณที่ให้คือ 1 มิลลิกรัม ฉีดกล้ามเนื้อ
5.2    วิตามินจากน้ำนมมารดา มีเพียงพอไม่จำเป็นต้องเสริม ยกเว้นในรายที่มารดาได้รับวิตามิน ดี ไม่พียงพอและทารกไม่ได้รับแสงอุลตร้าไวโอเลต ควรให้วิตามินดีเสริม 400 IU / วัน
5.3    การขาดธาตุเหล็กพบได้น้อยมากในช่วง 4-6 เดือน เพราะทารกจะสะสมเหล็กไว้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ระยะหลัง  6 เดือน การดูดซึมเหล็กของทารกจะลดลง จึงให้เหล็กเสริม
5.4    ฟลูออไรด์ ถ้าหากใช้น้ำที่บริโภคมีฟลูออไรด์ต่ำกว่า 0.3 ส่วน / ล้านส่วน ควรเสริมฟลูออไรด์ในขณะที่ฟันยังไม่สร้างสารเคลือบฟัน  ปริมาณที่เสริมคือ 0.5 มิลลิกรัม ต่อวัน
5.5    ทารกควรได้รับอาหารเสริมตั้งแต่ 4 เดือน เพราะน้ำนมและนมผสมสารอาหารไม่เพียงพอ
6.       น้ำ ทารกควรได้น้ำ 150 มล. ต่อ 100 กิโลแคลลอรี่ ต่อ วัน

ผลดีของการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา
1.       ทารกได้รับสารอาหารครบถ้วน น้ำนมมารดามีสารอาหารที่เพียงพอแก่ทารกจนกระทั่ง 6 เดือน จากนั้นต้องได้รับอาหารเสริม
2.       ประหยัด
3.       สะดวก สะอาด ปลอดภัย
4.       มีภูมิต้านทานเชื้อโรค ในน้ำนมมารดา จะมี Immunoglobin (Ig A) ซึ่งมีบทบาทในการป้องกันการติดเชื้อ
5.       ด้านจิตใจ สายสัมพันธ์แม่ลูก (Bonding)
6.       ป้องกันการเกิดภูมิแพ้ (allergy)  เพราะน้ำนมมารดาไม่มี  βlactoglobulin  ซึ่งเป็นสาเหตุโรคภูมิแพ้
7.       ไม่เกิดปัญหาทารกได้รับสารอาหารมากเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุนำไปสู่โรคอ้วนและเบาหวานในเวลาต่อมา
8.       ผลดีต่อตัวมารดา ประจำเดือนมาช้า ช่วยในการวางแผนครอบครัว ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ประมาณ 7 เดือน  เพิ่มประสิทธิภาพการหดตัวของมดลูกเพราะการที่ทารกดูดนมจะมีการกระตุ้นให้หลั่ง Oxytocin ช่วยให้มดลูกหดตัวเข้าเชิงกรานได้ดี  อีกทั้งมีอัตราการเกิดมะเร็งที่เต้านมน้อยกว่ามารดาที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา
(Breast feeding)
                            baby_101.jpg
1.       เตรียมเต้านมตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ โดยการนวดหรือทาด้วยน้ำมันมะกอกหรือครีม ควรดึงหัวนมวันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละหลายๆที และถ้าหัวนมบุ๋มหรือบอดให้พยายามดึงออก
2.       การให้นมบุตรควรให้ทารกดูดนมทันทีหลังคลอด น้ำนมแม่เป็นสีเหลืองมีไม่มากนัก วันละ 10-40 มล.ต่อวัน แต่มีประโยชน์มากด้านภูมิคุ้มกันโรค การให้ทารกดูดนมมารดาเป็นการกระตุ้นสร้างและหลั่งนมออกมามากขึ้น ทารกจะใช้เวลาดูดนมประมาณ 5-20 นาที จนหมดเต้าในระยะแรกๆ และดูดสลับทั้ง 2 เต้าในแต่ละมื้อ
3.       ข้อบ่งชี้ว่าแม่มีน้ำนมเพียงพอและคุณภาพดีคือขณะที่ทารกดูดนมข้างหนึ่ง จะมีน้ำนมไหลออกมาอีกข้างหนึ่ง เมื่อทารกดูดจนพอใจแล้วจะหลับไปด้วยความสุข ไม่ร้องกวน
4.       การหย่านมควรสนับสนุนให้ทารกดื่มนมแม่นานที่สุดเท่าที่จะทำได้หากไม่มีข้อห้ามอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 18 เดือน และทารก  เมื่ออายุ 4-6 เดือนขึ้นไป

การให้น้ำนมผสม
   1.การเตรียมขวดนม
1.1    ล้างและทำความสะอาดขวดนมและหัวนมทุกครั้งหลังจากที่ทารกดื่มนมเสร็จแล้วผึ่งให้แห้งทุกครั้ง
1.2    ขวดนมและหัวนมต้มน้ำให้เดือด 5-10 นาที หรือนึ่งในหม้อนึ่ง
1.3    การผสมนมให้ใส่น้ำสุกที่พออุ่นในขวดจนถึงระดับขีดที่ต้องการเช่น 2 หรือ 4 ออนซ์ แล้วตวงนมผงใส่เข้าไปในขวด ปิดขวดนมแล้วเขย่าจนนมผงละลายหมด จะได้น้ำนมที่มีพลังงาน 20 กิโลแคลลอรี่ ต่อ ออนซ์
   2.หลักการเลี้ยงลูกด้วยนมผสมมีหลักการเหมือนเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือ
1.1    กอดทารกบนตักแก้มชิดกับอกเพื่อให้ทารกได้รับการสัมผัสและอบอุ่น
1.2    ถือขวดนมให้ตั้งตรงไม่ให้มีอากาศในหัวนมที่ทารกดูดเข้าไป
1.3    ระยะแรกๆทารกจะดูดนมครั้งละ 1-2 ออนซ์ ทุก 2-3 ชั่วโมง  และจะเพิ่มเป็น 3-4 ออนซ์ ทุก 4 ชั่วโมงเมื่ออายุ 6-8  อาทิตย์    จะเพิ่มขึ้นเป็น 6-7 ออนซ์ ทุก 5 ชั่วโมง เมื่ออายุ4-6 เดือน  พอเกิน  6 เดือนอาจจะดื่มนม  7-8 ออนซ์วันละ  4 ครั้ง
1.4    ไม่ควรให้ทารก ดื่มกลูโคสเพราะมีรสหวานแต่ให้ประโยชน์น้อย
1.5    ไม่ควรให้นมระหว่างมื้อมาก นอกจากวันที่มีอากาศร้อนเหงื่อมาก
1.6    ควรให้ทารกเรอลมระหว่างให้นมผสมประมาณ 2 ออนซ์

การให้อาหารเสริม
(Supplementary food)
นมแม่ คืออาหารที่ดีที่สุด และจำเป็นที่สุดสำหรับทารกแรกเกิด เนื่องจากนมแม่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนให้ภูมิต้านทานลูก ส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก และช่วยในการพัฒนาของเด็กได้ดีที่สุดทั้งร่างกายและจิตใจดังนั้นในระยะสามเดือนแรกของชีวิต  ลูกน้อยจึงควรได้รับแต่น้ำนมแม่ ซึ่งธรรมชาติได้ปรุงแต่งให้สะอาด เหมาะสม มีคุณค่า และเพียงพอสำหรับเด็กทุกคนแต่เพียงอย่างเดียว ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้อาหารเสริมอื่นใด แม้แต่น้ำ
อย่างไรก็ดี น้ำนมแม่จะพอเพียงสำหรับลูกไปจะถึงอายุ 4-6 เดือน หลังจากนั้น น้ำนมแม่จะเริ่มมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการในการเจริญเติบโตของลูก ดังนั้นลูกจึงจำเป็นต้องได้รับอาหารเสริมตั้งแต่เดือนที่ 4 เป็นต้นไป ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ การเจริญเติบโตของลูกเป็นไปเหมาะสม แต่อย่างไรก็ตาม น้ำนมแม่ก็ยังต้องให้เป็นมื้อหลักอยู่เช่นเดิม  
            อาหารเสริมที่เหมาะสมและเพียงพอกับความต้องการของทารกมีความสำคัญยิ่งดังแสดงในตารางการให้อาหารเสริม ดังนี้

อายุ
 อาหารเสริม
ครบ 3 เดือน
ข้าวบดใส่น้ำแกงจืด  ผลัดเปลี่ยนกับกล้วยครูด (กล้วยสุก)
ครบ 4 เดือน
ข้าวบดกับไข่แดงต้มสุก ข้าวบดกับตับ หรือข้าวบดกับถั่วต้มเปื่อย
ครบ 5 เดือน
เริ่มอาหารจำพวกปลา ควรเติมฟักทองหรือผักบดด้วย
ครบ 6 เดือน
อาหารมื้อหลัก 1 มื้อ ให้กล้วยหรือมะละกอสุกเป็นอาหารว่างอีก 1 มื้อ
ครบ 7 เดือน
เริ่มเนื้อสัตว์บดผสมข้าวสุก และให้ไข่ทั้งฟองได้
ครบ 8-9 เดือน
อาหารมื้อหลัก 2 มื้อ
ครบ 10-11 เดือน
อาหารมื้อหลัก 3 มื้อ










หลักเกณฑ์ทั่วไปที่แนะนำในการให้อาหารเสริมแก่ทารก
1. เมื่อเริ่มให้อาหารเสริม ควรให้ทีละอย่าง 
2. เริ่มให้แต่ละอย่างทีละน้อยเท่านั้น แล้วจึงค่อยๆเพิ่มปริมาณเมื่อทารกรับได้ดี 
3. เมื่อจะเริ่มให้อาหารใหม่แต่ละชนิด ควรเว้นระยะห่างกันสัก 1-2 สัปดาห์ เพื่อดูปฏิกิริยาตอบสนองจากร่างกายเสียก่อน 
4. อย่าเริ่มอาหารเสริมจำพวกกล้วยครูดหรือข้าวบด ก่อนอายุ 3 เดือน เพราะระบบย่อยของทารกยังไม่พร้อม อาจเกิดปัญหาท้องอืด    อาหารไม่ย่อย   และทำให้ทารกดื่มนมลดลง 
5. ต้องเตรียมอาหารเสริมให้ลูกอย่างสะอาด 
6. ถ้าทารกไม่สมัครใจ ปฏิเสธไม่ยอมกินอาหารในครั้งแรกๆ อย่าพยายามบังคับ ให้ทารกกิน ควรจะให้เวลาทารกบ้าง    งดเสียก่อนชั่วคราว อีกสัก 3-4 วันค่อยลองใหม่ ลองฝึก  ไปเรื่อยๆ จนกว่าทารกจะกินได้ 
7. ให้เด็กหัดช่วยตัวเอง โดยทั่วไปเด็กจะนั่งได้เมื่ออายุ 7 เดือน และชอบหยิบของเข้าปากเอง ดังนั้นช่วงนี้จึงควรสอนให้เด็กจับ ช้อน  และส่งอาหารเข้าปาก 
8. อย่าให้อาหารรสจัดแก่เด็ก ควรปรุงรสจืดเป็นพื้นไปก่อน 
9. ไม่ให้อาหารจำพวกน้ำหวาน น้ำอัดลมแก่เด็ก เพราะจะทำให้เด็กติดใจในรสหวานของ อาหารเหล่านี้ แล้วปฏิเสธอาหารรสอื่น 
10. ในวันหนึ่งๆ เมื่อเด็กทานอาหารเสริมได้ 1 มื้อหลัก ควรให้อาหารที่ครบคุณค่าทั้ง 5 หมู่ 
  
     ไม่ควรกินอาหารจำกัดแต่หมู่เดียว หรือให้เด็กกินซ้ำซากจำเจจนเคยชินกับอาหารเพียงอย่างเดียวไม่ยอมกินอย่างอื่น
    การให้อาหารเสริม จะให้เวลาใดก็ได้ แล้วแต่ความสะดวกของมารดา แต่ควรให้เป็นเวลาเพื่อให้ระบบการย่อยของเด็กได้ฝึกปรับตัว
กราฟแสดงส่วนสูง                                                                                  กราฟแสดงน้ำหนัก
weight_large.gif    weight_large.gif
กราฟแสดงน้ำหนักและส่วนสูงเป็นตัวชี้วัดสุขภาพของทารก ในช่วง 2-3 เดือนแรก ทารกจะมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว และเมื่ออายุครบ 12 เดือน อัตราการเติบโตจะช้าลง
ที่มา : ttp://www.nestlebaby.com/th/baby_development/what_to_expect/information_about_weight_size/

2 ความคิดเห็น:

เด้ง กล่าวว่า...

อาหารเสริมไม่ได้เริ่มที่ 6 เดือนหรอครับ

เด้ง กล่าวว่า...

อาหารเสริมไม่ได้เริ่มที่ 6 เดือนหรอครับ

รายการบล็อกของฉัน