ที่มา: เกณฑ์อ้างอิงน้ำหนัก ส่วนสูงและเครื่องชี้วัด ภาวะโภชนาการของประชาชนไทย โดยคณะทำงานจัดทำเกณฑ์อ้างอิง น้ำหนัก ส่วนสูงและเครื่องชี้วัดภาวะโภชนาการของประชาชนไทย กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2543
http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=69&post_id=11640
โภชนาการสำหรับเด็กวัยก่อนเรียน
(Nutrition in preschool children)
เด็กวัยก่อนเรียนคืออายุตั้งแต่ 1 ขวบ ถึง 6 ขวบ ระยะนี้การเจริญเติบโตของร่างกายและสมองจะช้าลงกว่าในระยะทารก เพื่อให้การเจริญเติบโตของเด็กวัยนี้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เด็กวัยนี้จึงต้องการอาหารที่มีทั้งจำนวนและคุณภาพเพียงพอ เด็กวัยนี้มักออกไปนอกบ้านได้เองหรือพ่อแม่พาออกไป จึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย ถ้าร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหากมีการติดเชื้ออาการก็จะรุนแรงมากขึ้น
ความต้องการสารอาหารให้วัยก่อนเรียน
(Nutritional Requirement)
1. พลังงาน เด็กวัยก่อนเรียนโดยเฉพาะช่วง 1-3 ปีจะต้องการพลังงานสูงในการทำกิจกรรมและการเจริญเติบโต และความต้องการพลังงานต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะค่อยๆลดลงเมื่อเด็กอายุมากขึ้น คือ
อายุ 1-3 ปีต้องการพลังงาน 100 กิโลแคลลอรี่ ต่อ กิโลกรัม
อายุ 4-6 ปี ต้องการพลังงาน 85 กิโลแคลลอรี่ ต่อ กิโลกรัม หรือประมาณ 1,200-1,450 กิโลแคลลอรี่ ต่อวัน พลังงานที่ได้รับนี้ ควรมาจากคาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 50-60 ไขมันร้อยละ 25-35 และโปรตีนร้อยละ 10-15 ของพลังงานทั้งหมด
การคำนวณหาความต้องการของพลังงานเด็กวัยก่อนเรียน ทำได้ดังนี้คือ
เด็กอายุ 1 ปี ต้องการพลังงาน 1,000 กิโลแคลลอรี่
เมื่ออายุเกิน 1 ปี ให้บวก 100 แคลลอรี่ต่อปี
ตัวอย่างเช่น
เด็กอายุ 4 ปีจะต้องการพลังงาน = 1,000 +300 = 1,300 กิโลแคลลอรี่
2. โปรตีน
เด็กวัยนี้ต้องการโปรตีนเพื่อนำไปสร้างเนื้อเยื่อต่างๆ เพื่อการเจริญเติบโต นมเป็นแหล่งสำคัญในการให้เด็กได้รับเพียงพอ ดังนั้นเด็กวัยนี้ต้องดื่มนม วันละ 2-3 ถ้วย
อายุ (ปี) | ความต้องการโปรตีน(กรัม)/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน |
ชาย | |
1-3 | 1.8 |
4-6 | 1.5 |
3. วิตามินและเกลือแร่
ถ้าขาดจะทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ เด็กวัยนี้ถ้าได้รับนม วันละ 2-3 ถ้วย ก็จะทำให้รับแคลเซียมและฟอสฟอรัส เพียงพอต่อการสร้างกระดูกและฟัน และควรได้รับเหล็ก 10 มก. ต่อ วัน สังกะสีมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตหากขาดจะทำให้ความอยากอาหารลดลง แผลหายช้า ควรได้รับ10 มก. ต่อ วัน สังกะสีได้จาก อาหารพวกนม ข้าว เนื้อสัตว์ ปลา อาหารทะเล ถั่ว ผัก เป็นต้น
4. น้ำ เด็กต้องการน้ำ 4-6 แก้ว ต่อ วัน หรือ 1,000 -1,500 มล.
แนวทางการบริโภคอาหารสำหรับเด็กวัยก่อนเรียน
(Guild for eating)
1. ประเภทของอาหาร
เด็กวัยนี้ต้องได้อาหารครบ 3 มื้อ แต่ละมื้อควรประกอบด้วย ดังนี้
1.1 ข้าวสวยปริมาณ ½ ถ้วยตวง
1.2 อาหารอื่น เช่น ไข่ 1 ฟอง เนื้อปลาหรือเนื้อสัตว์ 1 ช้อนโต๊ะ เต้าหู้เหลือง หรือถั่วเหลือง ½ ถ้วยตวง
1.3 น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันจำเป็น 1-2 ช้อนชา
1.4 ผัก 1-2 ช้อนโต๊ะ เช่นผักตำลึง ผักบุ้ง ผักกาด
1.5 ผลไม้อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นกล้วยหอม ครึ่งผล มะละกอสุก 1 ชิ้น น้ำผลไม้ 2 ออนซ์ เป็นต้น
2. การปลูกฝังนิสัยการกิน
ปริมาณอาหารที่เด็กกินแต่ละมื้อนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของเด็กเอง ต้องปลูกฝังนิสัยการกินที่ดี ไม่บังคับหรือขู่เข็ญ หรือให้รางวัล ก่อนมื้ออาหาร 1 ½ ชั่วโมง ไม่ควรให้รับอาหารใดๆเพราะจะทำให้ความยากอาหารลดลง ไม่ให้เด็กรับประทานน้ำหวาน น้ำอัดลม ลูกกวาด ชอคโกแลต เพราะจะทำให้ลดอาหารที่จำเป็นได้ และอาจจะเกิดฟันผุ
3. ตัวอย่างรายการอาหารสำหรับวัยก่อนเรียน อายุ 4-6 ปี ใน 1 วัน
อาหารเช้า
ข้าวสุก 1 ถ้วยตวง
แกงจืดตำลึง 1 ถ้วยตวง
ไข่ทอด 1 ฟอง
มะละกอสุก 1 ชิ้น
อาหารว่าง
นมสด 1 ถ้วยตวง
อาหารกลางวัน
ข้าวผัดปูใส่ไข่ 1 จาน
แกงจืดมะกะโรนีใส่มะเขือเทศและกุ้ง 1 ถ้วย
เต้าส่วน 1 ถ้วย
อาหารว่าง
กล้วยน้ำหว้า 1 ผล
อาหารเย็น
ข้าวสุก 1 ถ้วยตวง
แกงจืดผักกาดขาวกับหมูสับ 1 ถ้วย
ผัดผักบุ้งใส่หมูสับ 1 จาน
ส้ม 2 ผล
อาหารค่ำ
นมสด 1 ถ้วยตวง
โภชนาการสำหรับเด็กวัยเรียน
(Nutrition in school-age children)
เด็กวัยเรียนหมายถึง เด็กที่มีอายุ 7-12 ปี มีการเจริญเติบโตช้ากว่าทารก ในชนบทมีอัตราการเกิดภาวะขาดสารอาหารในเด็กวัยเรียน ในโรงเรียนจึงมีโครงการอาหารกลางวัน
ความต้องการสารอาหารให้วัยเรียน
(Nutritional Requirement)
เด็กวัยเรียนมีความต้องการสารอาหารเช่นเดียวกับวัยก่อนเรียน แต่ปริมาณมากกว่า มีดังนี้
1. พลังงาน ความต้องการพลังงานของเด็กวัยนี้ทั้งชายและหญิง ต้องการใกล้เคียงคือ 1,600-1,850 กิโลแคลลอรี่ ต่อวัน ความต้องการของเด็กวัยนี้อาจคำนวณได้จากน้ำหนักโดยมีวิธีการคิด ดังนี้
น้ำหนัก 10 กิโลกรัมแรก ให้คูณด้วย 100
น้ำหนัก 10 กิโลกรัมต่อมา ให้คูณด้วย 50
น้ำหนักที่เกิน 20 กิโลกรัม ให้คูณด้วย 20 นำค่าที่ได้มารวมกันเป็นความต้องการพลังงานใน 1 วัน
ตัวอย่าง เช่น
เด็กคนหนึ่งหนัก 40 กิโลกรัม จะต้องการพลังงาน
= (10X100)+(10X50)+(20x20)
=1,000+500+400
= 1,900 กิโลแคลลอรี่ ต่อ วัน
2. โปรตีน เด็กวัยนี้ควรได้รับโปรตีนวันละ 1.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จากอาหารประเภทเนื้อสัตว์ นมไข่
3. วิตามินและเกลือแร่ ต้องการเพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง
4. น้ำ เด็กต้องการน้ำ 4-6 แก้ว ต่อ วัน เช่นเดียวกับเด็กวัยอื่นๆ
แนวทางการบริโภคอาหารสำหรับวัยเรียน
(Guide for eating)
1. ประเภทอาหาร เด็กวัยเรียนควรได้รับนมถั่วเหลืองหรือนมสด วันละ 3-4 ถ้วยและอาหาร 3 มื้อ ในแต่ล
มื้อประกอบด้วย
1.1 ข้าวสุกสวย 1 ½ ถ้วย
1.2 ไข่ 1 ฟอง หรือเนื้อสัตว์อื่นๆ 4 ช้อนโต๊ะ
1.3 ผักใบเขียวและผักอื่นๆ 2-3 ช้อนโต๊ะ
1.4 น้ำมันหรือไขมัน 1 ช้อนโต๊ะ
1.5 ผลไม้ 1 ส่วน
1.6 ควรกินอาหารทะเลอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
2. ตัวอย่างรายการอาหารสำหรับวัยเรียนใน 1 วัน
อาหารเช้า
ข้าวสวย 1 ½ -2 ถ้วย
ผัดผักบุ้งกับหมู 1 จาน
ไข่ดาว 1 ฟอง
ส้มเขียวหวาน 2 ผล
อาหารว่าง
นมสด 1 ถ้วยตวง
อาหารกลางวัน
ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ้วใส่หมูและผัก 1 จาน
กล้วยบวดชี 1 ถ้วย
อาหารว่าง
นมสด 1 ถ้วย
เค้ก 1 ชิ้น
อาหารเย็น
ข้าวสวย 1 ½ ถ้วย
แกงเลียง 1 ถ้วย
หมูทอด 2 ช้อนโต๊ะ
ผลไม้ตามฤดูกาล 1 ส่วน
อาหารว่าง
นมสด 1 ถ้วยตวง
โภชนาการสำหรับเด็กวัยรุ่น
(Nutrition in adolescents)
เด็กรุ่นหมายถึง เด็กที่มีอายุ 13-19 ปี เป็นวัยที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงจากวัยเด็กเป็นวัยผู้ใหญ่ ระยะนี้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาหลายอย่าง
ความต้องการสารอาหารให้วัยรุ่น
(Nutritional Requirement)
1. พลังงาน วัยรุ่นควรได้รับพลังงาน 2,300-2,400 กิโลแคลลอรี่ ต่อวันสำหรับผู้ชาย และ1,850-2,000 กิโลแคลลอรี่ ต่อวันสำหรับผู้หญิง เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตและกิจกรรมต่างๆ
2. โปรตีน วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตเร็วมากจึงต้องการโปรตีนให้เพียงพอเพื่อเสริมสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้แก่กล้ามเนื้อ เลือด และฮอร์โมน เป็นต้น วัยรุ่นต้องการโปรตีนอย่างน้อยวันละ 1 กรัมต่อกิโลกรัม ในขณะที่ผู้ใหญ่ต้องการ 0.8 กรัมต่อกิโลกรัม ปัจจุบันพบว่าการกำหนดความต้องการของโปรตีนตามความสูงเป็นวิธีการที่เหมาะสมสำหรับวัยรุ่น
อายุ (ปี) | ความต้องการโปรตีน(กรัม)/ความสูง 1 ซม. | |
ชาย | หญิง | |
11-14 | 0.29 | 0.29 |
15-18 | 0.34 | 0.27 |
19-24 | 0.33 | 0.28 |
3. วิตามินและเกลือแร่ ถ้าได้รับสารอาหารที่เพียงพอแล้วจะไม่ขาดเกลือแร่และวิตามิน
3.1 แคลเซียมและฟอสฟอรัส ในช่วงวัยรุ่นมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว รวมทั้งสร้างกระดูก ทำให้มีความต้องการสูงกว่าวัยผู้ใหญ่ คือ 1,200 มก. ในขณะที่ผู้ใหญ่ ต้องการ 800 มก. อาหารที่ให้แคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง ได้แก่ น้ำนม ปลาเล็กปลาน้อย ปลาป่นกุ้งแห้ง ผักใบเขียว เช่นคะน้า กวางตุ้ง
3.2 เหล็ก ร่างกายต้องการเหล็กมากขึ้นโดยเฉพาะเด็กหญิงช่วงมีประจำเดือน มีการสูญเสียเลือดมากกว่าปกติ เด็กในวัยนี้ควรได้รับเหล็ก 15 มก. / วัน จนกระทั่งผู้ชายเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ลดลงเหลือ 10 มก./ วัน แต่เด็กผู้หญิงต้องได้ได้รับเหล็ก 15 มก. / วัน จนกระทั่งหมดประจำเดือน อาหารที่มีเหล็กสูงได้แก่ ไข่ เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ เลือดหมู ถั่วเมล็ดแห้ง และผักใบเขียว
3.3 ไอโอดีน ป้องกันโรคคอพอก ช่วงวัยรุ่นต่อมไทรอยด์จะทำงานหนักมากขึ้น มีการผลิตฮอร์โมนมากขึ้น ร่างกายจึงต้องการไอโอดีนมากขึ้น และวันรุ่นต้องการไอโอดีนวันละ 150 ไมโครกรัม
3.4 วิตามิน เอ จำเป็นในการเจริญเติบโตและคงสภาพของเยื่อบุต่างๆ วัยรุ่นต้องการวิตามินเอ อย่างน้อยวันละ 600-700 ไมโครกรัม อาร์อี ได้จากการกินตับสัตว์ต่างๆ น้ำนม เนย ไข่แดง ผักใบเขียว ฟักทอง มันเทศ
3.5 วิตามิน บี 2 เป็นวิตามินที่ทำหน้าที่เป็นเอนไซม์ ในการเผาผลาญอาหารในร่างกาย ถ้าขาดจะทำให้เกิดโรคนกกระจอกเพื่อป้องกันการขาด วัยรุ่นควรได้รับวันละ 1.3-1.7 มิลลิกรัม ซึงได้จากอาหารเครื่องในสัตว์ น้ำนม นมถั่วเหลือง ถั่วเมล็ดแห้ง ผักใบเขียวต่างๆ
3.6 วิตามิน ซี จำเป็นในการสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเซลล์ ต่างๆ ถ้าขาดจะทำให้เกิดโรคลักปิดลักเปิด แผลหายยาก เพื่อป้องกันการขาด วัยรุ่นควรได้รับวิตามิน ซี วันละ 50-60 มิลลิกรัม ซึ่งได้จากการกินผักผลไม้สด เช่นส้ม ฝรั่ง มะละกอสุก สับปะรด เป็นต้น
4. น้ำ เด็กวัยรุ่นต้องการน้ำ 6-8 แก้ว ต่อ วัน และเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีการเสียเหงื่อหรือการออกกำลังกาย
แนวทางการบริโภคอาหารสำหรับวัยรุ่น
(Guide for eating)
1. ประเภทของอาหาร วัยรุ่นควรดื่มนมสดหรือนมถั่วเหลือง วันละ 3-5 ถ้วย เพื่อให้ได้รับแคลเซียมและฟอสฟอรัสเพียงพอ รวมทั้งได้รับโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่อื่นๆอีกมาก อาหาร 3 มื้อควรประกอบด้วย
1.1 ข้าวสุกหรือก๋วยเตี๋ยว 1 ½ -2 ถ้วย
1.2 ไข่ 1 ฟอง หรือเนื้อสัตว์อื่นๆ 4-5 ช้อนโต๊ะ
1.3 ผักใบเขียวและผักอื่นๆ 4 ช้อนโต๊ะ
1.4 น้ำมันหรือไขมัน 1 ช้อนโต๊ะ
1.5 ผลไม้ 1-2 ผล
1.6 ควรกินอาหารทะเลอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
2. ตัวอย่างรายการอาหารสำหรับวัยรุ่นใน 1 วัน
อาหารเช้า
ข้าวสวย 1 ½ -2 ถ้วย
แกงจืดเต้าหู้ใส่วุ้นเส้นกับหมู 1 ถ้วยตวง
ผัดผักบุ้งจีน 1 จาน
นมสด 1 แก้ว
อาหารกลางวัน
ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าใส่ผักคะน้า 1 จาน
บะหมี่น้ำใส่หมูแดง 1 ชาม
เต้าส่วน 1 ถ้วย
อาหารว่าง
นมสดหรือถั่วเหลือง 1 แก้ว
ส้ม 2 ผล
อาหารเย็น
ข้าวสวย 1 ½ -2 ถ้วย
ไข่พะโล้เต้าหู้ทอด 1 ถ้วย
แกงส้มปลาช่อนใส่ผักรวม 1 ถ้วย
น้ำพริกกะปิ
ผักจิ้มน้ำพริก
ปลาทูทอด
ผลไม้ตามฤดูกาล 1 ส่วน
อาหารค่ำ
นมสด 1 ถ้วยตวง
ปัญหาการบริโภคอาหารในเด็กวัยรุ่น
(Eating disorders)
1. ภาวะเบื่ออาหาร (Anorexia nervosa) วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือถูกกระทบกระเทือนทางอารมณ์ได้ง่าย (Emotional disturbance) ได้แก่ ผิดหวังหรือเสียใจ จะทำให้กินอาหารไม่ได้ บางครั้งถูกบังคับให้รับประทานอาหารที่ไม่ชอบ บางคนถึงอยากจะอาเจียนจึงเกิดสภาพจิตใจไม่ปกติ (Psychic origin) ดังนั้นการแก้ไขปัญหานี้ ต้องสร้างนิสัยการรับประทานอาหารที่ดี
2. โรคอ้วน เด็กวัยรุ่นที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะดีมักเกิดโรคอ้วน เพราะพฤติกรรมการบริโภคอาหารขยะ (Junk Food) มากขึ้น
3. ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง (Hyperlipidemia) เด็กวัยรุ่นที่ประวัติครอบครัวคนเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนอายุ 55 ปี มักจะมีความเสี่ยงสูง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น