welcome for shared knowledge and experience





วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โภชนาการสำหรับหญิงให้นมบุตร (Nutrition for lactating women)

โภชนาการสำหรับหญิงให้นมบุตร
(Nutrition for lactating  women)
แม้ทารกจะคลอดออกมาจากครรภ์มารดาแล้ว  หญิงมีครรภ์ยังต้องได้รับสารอาหารที่เพียงพอและเป็นประโยชน์ต่อไป เพราะทารกยังต้องกินนมมารดาอยู่ โดยเฉพาะใน 6 เดือนหลังคลอด ทารกต้องได้นมมารดาเป็นหลัก ดังนั้นโภชนาการสำหรับหญิงให้นมบุตรจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก

ความต้องการด้านโภชนาการในระยะให้นมบุตร
(Nutritional requirements in lactation)
            กระบวนการสร้างน้ำนมจำเป็นต้องใช้สารอาหารโดยเฉพาะ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมที่เพียงพอแก่ทารก ดังนั้นสารอาหารที่ร่างกายต้องการช่วงระยะให้นมทารก มีดังนี้
1.       สารอาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ในแต่ละวันต้องผลิตน้ำนมสำหรับทารกในระยะ 6 เดือนแรก ประมาณ 850 ซีซี  แต่ในช่วง 6 เดือนหลัง จะลดลงประมาณ 600 ซีซี /วัน  จากการศึกษาพบว่า น้ำนมคน 100 ซีซี ให้พลังงาน 67 กิโลแคลลอรี่ และต้องใช้พลังงาน 85 กิโลแคลลอรี่ ในการผลิตน้ำนม 100 ซีซี เพราะฉะนั้นกรรมการอาหารและโภชนาการสหรัฐอเมริกา จึงเสนอให้หญิงที่ให้นมบุตรต้องรับพลังงานเพิ่ม วันละ 500 กิโลแคลลอรี่
2.       โปรตีน  ต้องการเพื่อใช้ในการผิตน้ำนมและซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ ของมารดาที่เสียไประหว่างคลอด ในน้ำนมมาดาที่มีโภชาการดี ผลิตน้ำนมวันละ 850 ซีซี มีโปรตีนร้อยละ 1.2 คิดเป็นโปรตีนทั้งหมด 10 กรัม   อาหารโปรตีนจะเปลี่ยนเป็นโปตีนในน้ำนมร้อยละ 70  ดังนั้นหญิงให้นมบุตรควรได้รับโปรตีนเพิ่มวันละ 19 กรัม ใน 6 เดือนแรกหลังคลอด และ 14 กรัมในช่วง 6 เดือนหลัง
3.       แคลเซี่ยม  เป็นสารอาหารที่สำคัญในการสร้างน้ำนม ในน้ำนม 100 ซีซี มีแคลเซี่ยม 30 มิลลิกรัม ใน 1 วัน หญิงให้ห้นมบนมบุตรจึงต้องการแคลเซี่ยม 200-300 มิลลิกรัม
4.       เกลือแร่และวิตามินชนิดต่างๆ ควรรับประทนอาหารให้ครบ 5 หมู่  กินอาหารทะเลอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง  และกินตับอย่างน้อยอาทิตย์ละ1 ครั้ง
5.       น้ำ ในระยะให้นมบุตร มารดาควรดื่มน้ำประมาณ 8-10 แก้ว ซึ่งจะช่วยหลั่งน้ำนมให้ดีขึ้น

ตาราง 7.4
ตาราง 7.5

แนวทางการบริโภคอาหารของหญิงให้นมบุตร
(Guide for eating)
1.       ประเภทของอาหาร
1.1.     เนื้อสัตว์ต้องไม่ติดมัน เช่นเนื้อปลา  ไก่ เนื้อหมูหรือ วัวไม่ติดมัน ควรได้รับ 180-240 กรัมต่อวัน หรือวันละ ¾- 1 ถ้วยตวง
1.2.     ไข่ควรกินวันละ 1 ฟอง
1.3.     นมไขมันต่ำอย่างน้อยวันละ แก้ว
1.4.     ผักผลไม้รับประทานทุกวัน
1.5.     ไขมัน วันละ 3 ช้อนโต๊ะ
1.6.     ข้าวและแป้งชนิดต่างๆ ควรได้รับวันละ 4 ถ้วยตวง ไม่ควรรับประทานอาหารหวานจัด
2.       ข้อแนะนำเกี่ยวกับอาหารในหญิงให้นมบุตร
2.1  กินอาหารให้ครบ 5 หมู่
2.2  หลีกเลี่ยงอาหารที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
2.3  หลีกเลี่ยงอาหารหวาน  ของทอด  ขาหมู  ไขมันสูง
2.4  ดื่มน้ำให้เพียงพอ
2.5  พักผ่อนและออกกำลังกายให้เพียงพอและสม่ำเสมอ
3.       ตัวอย่างรายการอาหาร ใน 1 วัน
อาหารเช้า          
ข้าวสุก    1 ½ -2   ถ้วยตวง
ผัดถั่วงอกใส่เต้าหู้กับหมู       1          ถ้วยตวง
แกงจืดตำลึงหมูสับ             1          จาน
ละมุด                             1          ผล
อาหารว่าง
นมไขมันต่ำ                      1          ถ้วยตวง
อาหารกลางวัน
ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ้วหมูใส่ไข่       1          จาน
เกาเหลาลูกชิ้นเนื้อสดกับตับ   1          ถ้วย
กล้วยบวดชี                      1          ถ้วย
ส้ม                                2          ผล
อาหารว่าง
นมไขมันต่ำ                      1          ถ้วยตวง
แอปเปิ้ล                          1          ผล
อาหารเย็น
ข้าวสุก    1 ½ -2   ถ้วยตวง
แกงเลียง                         1          ถ้วยตวง
ปลาทอด                         1          ตัว
ผัดผักบุ้งกับหมู                  1          จาน
มะละกอ                         1          ถ้วยตวง
อาหารว่าง
นมไขมันต่ำ                      1          ถ้วยตวง
ดื่มน้ำวันละ                      8-10      แก้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

รายการบล็อกของฉัน