ความสำคัญของการสื่อสารเพื่อพัฒนางานบริการสุขภาพ
ความสำคัญของการพัฒนางานบริการสุขภาพ
วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์เป็นกระดูกสันหลังของระบบสุขภาพของทุกประเทศทั่วโลก
และได้รับการเตรียมมาอย่างดีระดับหนึ่ง จึงถือว่าเป็นกลุ่มที่มีพลังอำนาจมากที่สุดที่จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในระบบสุขภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในศตวรรษที่21 และเป็นผู้ที่จะทำให้เป้าหมายในการพัฒนามนุษย์
10 ปีข้างหน้าประสบความสำเร็จ
การพัฒนาระบบบริการสุขภาพภายในเครือข่ายสถานบริการสุขภาพทุกระดับเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้รับบริการให้เข้าถึงระบบบริการตามสิทธิ์
และให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพ เกิดความปลอดภัย และมีความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับอันเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาระบบบริการ
แม้ว่าสถานบริการทุกแห่งและทุกระดับจะมีความพยายามในการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังพบเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์
คือความไม่พอใจ การร้องเรียน ความขัดแย้ง ความเสี่ยงต่างๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดมา ซึ่งเกิดจากความคาดหวังทั้งในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของประชาชนผู้รับบริการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง
มีความบกพร่องในการสื่อสาร การมีข้อร้องเรียนจากการบริการและสามารถชี้แจงข้อร้องเรียนสร้างความเข้าใจกับผู้ร้องเรียนได้ครบทุกเรื่อง
ดังนั้นจึงมีความจาเป็นอย่างยิ่งในการดาเนินงานพัฒนาคุณภาพบริการ ที่ต้องดาเนินการอย่างต่อเนื่อง
และจริงจัง ต่อไป เพื่อให้เกิดผลงานการพัฒนาตามเป้าหมายที่วางไว้และเกิดความสอดคล้องกับสภาพบริบทและสถานการณ์ของประเทศให้มีความสมดุลทั้งในส่วนของงบประมาณ
ทรัพยากรที่มีอยู่ และอัตรากาลังคนของแต่ละพื้นที่ในทุกเครือข่ายโดยใช้กรอบหลักการจัดทาแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพใน 3 องค์ประกอบคือ
1.การแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานโดยมีภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินงานเข้ามามีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการ
เพื่อกาหนดทิศทางหลักการและแนวทางการดาเนินงาน การติดตามผล ความก้าวหน้าและร่วมแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการดาเนินงานนั้นด้วย
2. การบูรณาการแผนพัฒนาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
จึงมุ่งเน้นให้แผนงานที่จัดทำขึ้นมีความครอบคลุมและสอดคล้อง ระหว่างเรื่องของทรัพยากรบุคคล
งบประมาณ และการจัดสรรทรัพยากรการลงทุนในเครือข่ายพื้นที่ทุกระดับให้เกิดความสมดุลและมีเอกภาพ
3.หน่วยบริการสุขภาพทุกระดับ
และทุกเครือข่ายหน่วยบริการสุขภาพ มีการจัดทาแผนงานเพื่อพัฒนาหน่วยบริการและเครือข่ายตามแนวทางภาพรวมให้เกิดความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
เป้าหมายของการปฏิรูประบบบริการสุขภาพ
1. ความเสมอภาค (equity) ความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการ
ได้รับบริการสุขภาพตามความจาเป็นในด้านสุขภาพของแต่บุคคลได้ โดยไม่มีปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์
ฐานะทางเศรษฐกิจสังคม เชื้อชาติ เพศ ฯลฯ เป็นอุปสรรค
2. ประสิทธิภาพ (efficiency) ระบบใช้จ่ายทรัพยากรน้อยที่สุด
เกิดผลตอบแทนทางด้านสุขภาพสูงสุด
3. คุณภาพ (quality) บริการที่มีคุณภาพคุณภาพทางด้านเทคนิค
(technical quality) และคุณภาพเชิงสังคมจิตวิทยา
(psycho-social quality)
ปัญหาที่ท้าทายการบริการสุขภาพ
๑. ค่าใช้จ่ายในการบริการสุขภาพที่เพิ่มขึ้น
๒. แหล่งประโยชน์ทั้งเงินและกาลังคนมีจากัด
๓. ปัญหาสุขภาพที่ท้าทายมากขึ้น การเพิ่มจานวนโรคเรื้อรังเป็นอย่างมาก โรคระบาด
โรคอุบัติใหม่
๔. ความคาดหวังของประชาชนต่อการบริการสุขภาพ
๖. การเปลี่ยนแปลงลักษณะของประชากร การเพิ่มประชากรผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๖๓ คาดว่าจะสูง ถึง ๑๕.๓ ล้านคน
๗. การเกิดภัยพิบัติ ทั้งจากธรรมชาติ และ จากมนุษย์
๘. ความจำเป็นในการเน้นบริการระดับปฐมภูมิเชิงรุก
โดยมีการวางแผนแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
ดังนี้
1.แผนพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ
โดยมีสาระสำคัญของการพัฒนาคือการบูรณาการพัฒนาระบบบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิให้เชื่อมโยงกับระบบบริหารจัดการในภาพรวมทั้งเรื่องกาลังคน
งบประมาณ การลงทุนด้านทรัพยากรต่างๆ นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงกับแผนการพัฒนาศักยภาพหน่วยบริการปฐมภูมิสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในหน่วยบริการปฐมภูมิเพื่อให้ระบบบริการแบบใกล้บ้านใกล้ใจ การให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์และการทางานเชิงรุกในชุมชน
พร้อมทั้งการทางานเชื่อมโยงกับกองทุนสุขภาพของท้องถิ่นนั้นๆ
2.แผนพัฒนาระบบบริการทุติยภูมิ/ตติยภูมิ โดยมีสาระสำคัญของการพัฒนาคือการพัฒนาคุณภาพบริการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผ่านการรับรองตามกระบวนการพัฒนาที่เป็นเป้าหมาย
และมีการประเมินขีดความสามารถของกลุ่มงานย่อยและภาพรวมของสถานบริการระดับทุติยภูมิอย่างสม่ำเสมอและพัฒนาให้ยกระดับการบริการให้ได้ตามระดับที่เหมาะสม
ทั้งการบริการทางการแพทย์ระดับพื้นฐานและระดับเฉพาะทาง ตลอดจนการประเมินความเหมาะสม
คุ้มค่าของการลงทุนด้วยเทคโนโลยีราคาแพง และพัฒนานวัตกรรมรูปแบบการบริการใหม่ๆในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
3.แผนพัฒนาระบบการสนับสนุน
การติดตามและประเมินผลการพัฒนาระบบบริการ สาระสำคัญของการพัฒนาคือการมีคณะกรรมการชุดต่างๆที่ชัดเจนในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาตามเป้าหมายโดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดาเนินการ
และเกิดความสมดุล ครอบคลุม บริสุทธิ์ ยุติธรรมและสอดคล้องกับบริบทของจังหวัดและทุกพื้นที่
จัดวางระบบการประเมินผลที่ชัดเจนเป็นระบบทั้งการตรวจเยี่ยม การประเมินรับรองการสำรวจความคิดเห็นของผู้รับบริการ
และการรับฟังปัญหาอุปสรรคในการดาเนินงานของผู้เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปรับปรุงการทางานต่อไป
การกำหนดทิศทางการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยบริการปฐมภูมิ
ได้แก่ การให้บริการผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
(Humanized Care) โดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเชิงรุก
(Health Promotion & Disease Prevention) เช่น ความเข้าใจและทักษะการจัดการแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่
(Area-based health management) การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านเพื่อการดูแลสุขภาพตนเอง
และการทำงานอย่างมีส่วนร่วมกับท้องถิ่นและชุมชน
รัฐบาลมีนโยบายที่จะนาหลักการและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่การปฏิบัติ
มีเป้าหมายด้านสาธารณสุขที่จะให้ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพอย่างครอบคลุม มีคุณภาพ และเข้าถึงบริการได้อย่างไม่เป็นอุปสรรค
โดยจะพัฒนาระบบบริการสุขภาพของภาครัฐในทุกระดับให้ได้มาตรฐาน ยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล
และพัฒนาระบบเครือข่ายการส่งต่อในทุกระดับให้มีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงกันทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน
เพื่อให้ระบบหลักประกันสุขภาพมีคุณภาพอย่างเพียงพอ ทั่วถึง มีทางเลือกหลากหลายรูปแบบ
องค์ประกอบของการพัฒนางานสาธารณสุขหรือการบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิอย่างยั่งยืน
ประกอบด้วยการดำเนินงาน 4 ด้านด้วยกัน คือ
1. การจัดหากำลังคนในงานบริการปฐมภูมิให้พอเพียง
2. การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสาธารณสุข
3. การพัฒนาการบริหารจัดการด้านงบประมาณและ
Facilities ต่าง ๆ ที่จาเป็นสาหรับการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการควบคุมโรค
4. และการมีกฎหมายมาควบคุม กำกับ หรือรองรับมาตรฐานการปฏิบัติงานของวิชาชีพสาธารณในระดับปฐมภูมิเพื่อเป็นหลักประกันทาง
สุขภาพให้กับประชากรว่าจะได้รับบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่ได้มาตรฐานคุณภาพตามสิทธิใน
รัฐธรรมนูญ พรบ.สุ ขภาพแห่งชาติ พ.ศ.
2550 และธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.
2552
ปัญหาสุขภาพคนไทยและระบบบริการสุขภาพ
สภาพปัญหาสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป
คนไทยมีอายุยืนขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมาและสังคมไทยได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว
และจะเพิ่มจานวนขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดว่าอีกยี่สิบปีข้างหน้าเราจะมีผู้สูงอายุสูงถึงหนึ่งในสี่ของประชากร
แบบแผนการเจ็บป่วยและเสียชีวิตเปลี่ยนจากโรคติดต่อเป็นหลักมาเป็นโรคไม่ติดต่อ ซึ่งเกิดจากการถดถอยของสมรรถภาพการทางานของอวัยวะต่างๆในร่างกายและผลสะสมของพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม
เช่น เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
มะเร็ง ฯลฯ จากผลการสารวจสุขภาพคนไทยโดยการตรวจร่างกาย พบว่าประชากรไทยมักไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคเรื้อรัง
หรือกลุ่มที่รู้ว่าเป็นโรคเรื้อรังนั้นส่วนใหญ่ยังไม่สามารถควบคุมอาการและดูแลรักษาตนเองได้อย่างถูกต้อง
ซึ่งภาวะดังกล่าว มักนามาซึ่งภาวะทุพพลภาพในที่สุด ทาให้มีภาวะพึ่งพิงในการดารงชีวิต
และต้องการได้รับการดูแลจากบุคคลในครอบครัวหรือสังคมต่อไป ข้อมูลการศึกษาภาระโรคของคนไทย
พบว่าสาเหตุหลักของการสูญเสียปีสุขภาวะของคนไทยมาจากโรคไม่ติดต่อเป็นหลัก ตามด้วยกลุ่มโรคติดต่อโดยเฉพาะโรคเอดส์ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม
และการบาดเจ็บโดยเฉพาะจากอุบัติเหตุจราจร
ปัจจัยทางสังคมนอกระบบสาธารณสุข (Social determinants of health) มีส่วนสาคัญในการเปลี่ยนแปลงสภาพปัญหาสุขภาพของประชากรไทย
การพัฒนาเศรษฐกิจที่ผ่านมามีผลทาให้สุขภาพคนไทยดีขึ้นจาก “การอยู่ดีกินดี”
แต่ขณะเดียวกันก็สร้างปัญหาตามมา เช่น ปัญหาจากมลภาวะ พฤติกรรมสุขภาพ
ปัญหาสังคม ปัญหาการกระจายรายได้อันนาไปสู่การแปลกแยกทางสังคม ( Social
exclusion) และความไม่สงบทางการเมือง ทาให้เกิดปัญหาทั้งสุขภาพทางกายและทางจิต
การที่สังคมก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุจะมีผลให้มีค่าใช้จ่ายด้านบริการสุขภาพสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เนื่องจากค่าใช้จ่ายทางสุขภาพเพิ่มสูงขึ้นตามอายุเป็นลักษณะตัวอักษร “J” (J
Curve) กล่าวคือ ค่าใช้จ่ายสุขภาพจะสูงในช่วงวัยแรกเกิดจากนั้นจะลดต่ำที่สุดในช่วงหนุ่มสาว
จากนั้นจะกลับสูงขึ้นในวัยกลางคนและสูงที่สุดในวัยชรา
ระบบบริการสาธารณสุขไทยในปัจจุบันและปัญหา
ประเทศไทยประสบผลสาเร็จในการขยายความครอบคลุมของสถานบริการสาธารณสุข โดยมีโครงสร้างหน่วยบริการทั้งระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ
กระจายครอบคลุมทุกจังหวัด และต่อมาก็มีการจัดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแก่ประชาชนไทย
โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จาเป็น อย่างไรก็ดียังพบว่าความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขยังคงดารงอยู่
อันเนื่องมาจาก
1. จำนวนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่เพียงพอโดยเฉพาะ
แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล รวมถึงเจ้าหน้าที่ด้านวิชาชีพอื่นๆ ที่จาเป็นสาหรับรองรับปัญหาด้านสาธารณสุขที่ทวีจานวนมากขึ้น
เช่น นักกายภาพบาบัด อาชีวะบำบัด รวมถึงบุคลากรที่ไม่ใช่สายวิชาชีพ เช่น ผู้ช่วยผู้ดูแลผู้สูงอายุ
2. การขาดความเป็นธรรมในการกระจายของบุคลากรสาธารณสุข
รวมถึงการกระจายของโรงพยาบาลตติยภูมิชั้นสูงที่มีการกระจุกตัวบางพื้นที่ เช่น กรุงเทพมหานคร
ในขณะที่บางเขตพื้นที่ไม่มีบริการดังกล่าว
3. บริการที่จาเป็นสาหรับปัญหาสุขภาพใหม่
เช่น บริการระยะกลางและบริการระยะยาวสาหรับ ผู้มีภาวะทุพพลภาพหรือพิการ ทั้งในชุมชนและในสถาบันยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
บริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายทั้งชั่วคราวและถาวรเกือบทั้งหมดจากัดอยู่ในโรงพยาบาลใหญ่
ซึ่งเป็นข้อจากัดในการเข้าถึงบริการสาหรับผู้ป่วยที่มีภาวะทุพพลภาพโดยเฉพาะสาหรับผู้ป่วยที่อยู่ในชนบท
4. ระบบบริการปฐมภูมิขาดคุณภาพและไม่เข้มแข็ง
แม้ว่าจะมีแนวคิดในการผลักดันให้เกิดบริการปฐมภูมิซึ่งครอบคลุมบริการสาธารณสุขมูลฐานด้วย
แต่ในทางปฏิบัติยังไม่มีการดาเนินการผลักดันอย่างเป็นระบบ สถานบริการปฐมภูมิของรัฐซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
มีบุคลากรไม่เพียงพอ และได้รับงบประมาณเพิ่มเติมน้อยกว่าบริการรักษาเฉพาะทางอย่างชัดเจน
ในส่วนคลินิกเอกชนเริ่มมีบางส่วนให้บริการอย่างรอบด้านตามแนวคิดบริการสาธารณสุขปฐมภูมิภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
แต่คลินิกส่วนใหญ่ยังเน้นให้บริการรักษาพยาบาลเป็นหลัก เมื่อพิจารณาจากทัศนคติของประชาชนก็พบว่า
ยังไม่เข้าใจและขาดความเชื่อมั่นต่อระบบบริการสาธารณสุขปฐมภูมิ ซึ่งเห็นชัดเจนจากสัดส่วนการใช้บริการที่สถานีอนามัยและโรงพยาบาลชุมชนมีแนวโน้มลดลง
5. ศักยภาพของบุคลากรยังมีจากัดในการจัดการกับปัญหาสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป
มีความซับซ้อนมากขึ้นและต้องการความร่วมมือจากภาคส่วนอื่นและชุมชน
ปัจจุบันการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญสาหรับโรงพยาบาลต่างๆ
ในการตอบสนองความต้องการ ความคาดหวังของผู้ป่วย การดูแลอย่างเต็มความสามารถด้วยความระมัดระวัง
ความเอื้ออาทร และเคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีของผู้ป่วยนั้น มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ
ฉบับฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
(Hospital Accreditation : HA) ถือเป็นกรอบสาหรับประเมินและพัฒนาที่เน้นเป้าหมาย
และเปิดโอกาสให้มีความยืดหยุ่นในการนาไปปฏิบัติ สามารถรองรับความหลายของของโรงพยาบาลต่างๆ
ซึ่งมีศักยภาพแตกต่างกัน อีกทั้งเป็นแนวทางในการดาเนินการเพื่อให้การให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพ
และเป็นระบบที่ชัดเจน หัวใจสำคัญของคุณภาพโรงพยาบาล คือ การเน้นผู้ป่วยและผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
เมื่อโรงพยาบาลมีความเข้าใจในกระบวนการคุณภาพ และมีการพัฒนาคุณภาพมาในระดับหนึ่ง กระบวนการเยี่ยมสำรวจภายใน
จึงถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทาให้โรงพยาบาลต่างๆ สามารถธำรงไว้ซึ่งระบบคุณภาพ ช่วยกระตุ้นให้หน่วยงานต่างๆ
เข้าใจ สามารถพัฒนาคุณภาพได้อย่างถูกทิศทางตามข้อกำหนด และสอดคล้องกับบริบทของตน เป็นการต่อยอดการพัฒนาคุณภาพ
รับทราบ ยืนยันการทาดี เป็นการให้กาลังใจแก่หน่วยงานต่างๆ สะท้อนให้เห็นโอกาสพัฒนา
รวมทั้งเป็นการช่วยประเมินระบบงานต่างๆ ทาให้ระบบนั้นคงอยู่และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้
และเป็นการเตรียมความพร้อมในการรองรับการเยี่ยมสำรวจจากองค์กรภายนอก เพื่อให้ผ่านการรับรองตามมาตรฐานนั้น
ความสำคัญของการสื่อสารเพื่อพัฒนางานบริการสุขภาพ ทำให้รู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคม
ช่วยให้เข้าใจความต้องการ และปฏิกิริยาของกลุ่มชน ช่วยให้มีการเจรจาต่อรอง และการประนีประนอม
งานบริการสาธารณสุขที่ประชาชนส่วนใหญ่ในชุมชนต้องการคืองานบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิซึ่งจะให้การดูแลสุขภาพ
และเป็นหลักประกันทางสุขภาพของบุคคลต่างๆ และของครอบครัวต่าง ๆ ที่จะมี สุขภาพดีและเจ็บ
ป่วยน้อยลง ส่งผลให้ปริมาณการใช้บริการในระดับทุติยภูมิและระดับตติยภูมิลดลงหรืออยู่ในขอบเขตที่สามารถจัดบริการให้ได้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
สามารถช่วยชีวิตให้ได้มากที่สุดและลดอัตราความพิการให้น้อยที่สุดตามมาตรฐานของระบบบริการที่กำหนดไว้ได้โดยไม่มีการขาดแคลนของกาลังคนในสายงานการรักษาพยาบาล
และขาดแคลนงบประมาณที่จาเป็นต้องใช้สาหรับการให้บริการการ รักษาพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งต้องอาศัยหลักการสื่อสารที่ดีเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการดูแลป้องกันตัวเองจากความเจ็บป่วย
ในปัจจุบันสถานการณ์ด้านสุขภาพมีความสลับซับซ้อนมากเกินกว่าจะให้แพทย์หรือบุคคลากรด้านสาธารณสุขเป็นผู้ดูแลแต่เพียงลาพังได้แล้ว
ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันนี้อาการเจ็บป่วยของผู้คนไม่ได้เกิดจากโรคติดต่อเพียงอย่างเดียว
โดยมาจากพฤติกรรมเสี่ยงนานาประเภทที่เจ้าตัวอาจหลีกเลี่ยงได้แต่ก็ยังเดินหน้าเข้าไปหา
เช่น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง การขาดการออกกาลังกาย
หากพฤติกรรมด้านสุขภาวะซึ่งมาจากเจ้าของร่างกายเป็นต้นตอใหญ่ของการเจ็บป่วย แนวคิดด้านการดูแลสุขภาพจึงได้ปรับเปลี่ยนจุดเน้นจาก “การรักษาโรค” มาเป็น “การป้องกันและการส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง” ที่รู้จักกันในคาขวัญสั้นๆว่า
“สร้างนาซ่อม” แนวคิดใหม่ด้านสุขภาพนี้ได้กระชับแนวคิดการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมให้เข้ามาใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น
การสื่อสารสุขภาพท้องถิ่นช่วยกันคิดว่าจะสื่อสารเรื่องอะไร
ให้ใครเป็นพิเศษหรือสื่อสารกับคนทั้ง
ชุมชน หวังให้เกิดอะไร จะใช้วิธีสื่อสารอย่างไร
จึงจะได้ผล ถ้าทาได้จะเกิดอะไรขึ้น เป็นเรื่องของเรา เป็นปัญหาที่เราพบอยู่ เป็นเรื่องที่เราต้องการรู้
สามารถแก้ปัญหาตรงจุด เข้าใจง่าย ใช้ประโยชน์ได้จริงเพราะสุขภาพ(ความเจ็บป่วย การป้องกัน การดูแล การรักษา
.......) มีลักษณะเฉพาะท้องถิ่น เพราะการสื่อสาร(ภาษา ช่องทาง ความถนัด ความชอบ...) มีลักษณะเฉพาะท้องถิ่น
ดังนั้น หากชุมชนสามารถช่วยกันคิดและทาการสื่อสารสุขภาพภายในชุมชน โดยใช้ ท้องถิ่น
เป็นฐานคิดและทา จะตอบสนองตรงความต้องการของท้องถิ่น การที่ชุมชนทาเรื่องสื่อสารสุขภาพด้วยตนเอง
เท่ากับ เป็นการช่วยกันดูแลสุขภาพของกันและกันเป็นการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ เป็นการร่วมกันสร้างความสุขให้เกิดขึ้นในชุมชน
จากการที่รัฐบาลปัจจุบันมีความตั้งใจที่จะทำให้ประชาชนทุกคนมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนทุกคน สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้ตามความจำเป็น จึงมีความจาเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะต้องมีการสื่อสาร ทำความเข้าใจ ระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการอย่างชัดเจน
และต่อเนื่อง โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีช่องทางในการสอบถามปัญหาข้อข้องใจและข้อร้องเรียน
ซึ่งจะช่วยบรรเทาความทุกข์ร้อน วิตกกังวลของผู้รับบริการ และยังเป็นช่องทางให้ผู้ให้บริการได้รับทราบข้อบกพร่องของการให้บริการ
ซึ่งจะสามารถนามาปรับปรุงพัฒนาการดาเนินงานให้ดีขึ้น สนองตอบความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อีกทั้งยังเป็นการสร้างเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงาน จึงต้องมีการพัฒนาความสามารถของเจ้าหน้าที่ทุกระดับให้มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการทีมทีคุณภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น