จริยธรรมกับการสื่อสาร
วัตถุประสงค์
1.นักศึกษาสามารถอธิบายอิทธิพลของปรัชญาในการสื่อสารทางพยาบาลวิชาชีพ
2. นักศึกษาสามารถอธิบายทฤษฎีจริยศาสตร์กับการพยาบาลได้
3. นักศึกษาสามารถอธิบายรูปแบบของจริยศาสตร์ในการสื่อสารทางการพยาบาลได้
4. นักศึกษาสามารถสามารถนำหลักธรรมไปใช้ในการสื่อสารทางการพยาบาลได้
“ความเจ็บป่วยเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซับซ้อน และการตรวจก็ต้องละเอียดอ่อน
ซับซ้อน ไม่แพ้กัน มันมีเรื่องที่เราเรียกว่า stigmatization หากเราไปทำให้เกิด stigmata (มลทิน) ขึ้นกับคน จะมีปัญหาทางจิต และทางสังคมต่อไปอีกมาก เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
หลายคนพูดว่า การแพทย์ที่ผ่านมาของเรา เป็น Modernize Health Care ประมาณสัก 100 ปีที่ผ่านมา ขณะนี้มาถึงช่วงที่จะต้องขยับไปอีกขั้น
เป็นขั้นที่สูงขึ้น คือ Humanize Health care การรักษาที่มีหัวใจ
ความเป็นมนุษย์ เพราะความเจ็บป่วยเกี่ยวโยงกับเรื่องความรู้สึก เรื่องจิตใจ เรื่องครอบครัว
เรื่องสังคม เรื่องวัฒนธรรม และอะไรต่าง ๆ มากมาย มีผู้ป่วย จำนวนมากที่ไม่มีโอกาสได้พูด
ดังนั้น งานอย่างหนึ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง คือการวิจัยรวบรวม ความทุกข์ของผู้ป่วยเป็นประจำทุกปี”
(ศ.นพ.ประเวศ วะสี)
จีน วัตสัน (Jean Watson) นักวิชาการทางพยาบาลสมัยปัจจุบันกล่าวว่า
“คำว่า พยาบาล เตือนสำนึกของเราให้ตระหนักถึงการปฏิบัติ ที่อ่อนโยนที่สุดของสิ่งมีชีวิต
เป็นการ แสดงออกของความรัก ความเมตตา กรุณา การให้และการรับ เป็นสารัตถะของสองชีวิตที่
เกื้อกูลกัน” การปฏิบัติการพยาบาลดำเนินไปโดยมีมนุษยธรรม ความเมตตาต่อมนุษย์ในยาม
ทุกข์จากความเจ็บป่วยเป็นพื้นฐาน และอาศัยแนวคิดของปรัชญาการพยาบาลดังต่อไปนี้
มนุษย์แต่ละคนเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในตัวเอง ชีวิตมนุษย์เป็นสิ่งที่มีคุณค่า
และมี จุดมุ่งหมาย
การพยาบาลเป็นการปฏิบัติที่มีเหตุผล หมายถึง การต้องอาศัยข้อเท็จจริง การ
พิจารณาไตร่ตรอง การตัดสินใจเลือกวิธีการปฏิบัติอย่างมีหลักการ และเป็นระบบ
ลักษณะเฉพาะของการพยาบาล คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ชีวภาพ และ ความรู้ทางสังคมศาสตร์
มนุษยศาสตร์มาผสมผสานให้เกิดประโยชน์ต่อการให้ความ ช่วยเหลือผู้ป่วย
พยาบาลแต่ละคนมีฐานะของการเป็นพลเมืองคนหนึ่งของสังคม นอกเหนือจาก บทบาทของพยาบาล
พยาบาลแต่ละคนจึงมีหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคมควบคู่กับการรับผิดชอบ ต่อหน้าที่พยาบาล
การยาบาลเป็นกระบวนการที่มีจุดมุ่งหมายโดยเฉพาะของตนเอง
มีการทำงานที่เป็น ระบบ มีวิธีการและมีกระบวรการเปลี่ยนแปลงที่สร้างสรรค์
จากปรัชญาของพยาบาลข้างต้นทำให้ประจักษ์ว่า การพยาบาลมีลักษณะเป็นศาสตร์ที่
เกี่ยวข้องกับมนุษย์ (humanistic science) มีความเป็นศาสตร์
และศิลปะอยู่ในตัว ความเป็น ศาสตร์อธิบายอย่างกว้าง ๆ ได้ว่าต้องอาศัยความรู้ วิธีการและขั้นตอนที่เป็นระบบตามแนว
วิทยาศาสตร์ และอาศัยความชำนาญจากประสบการณ์ของการปฏิบัติขณะเดียวกัน การ พยาบาลก็ประกอบไปด้วยคุณค่าของความอ่อนโยน
(tenderness) ความเมตตากรุณา (compassion) และการห่วงใยเอื้ออาทรต่อเพื่อนมนุษย์
(caring and concern for human being) อันเป็นศิลปะของพยาบาลที่ช่วยให้การปฏิบัติของพยาบาลก้าวพ้นจากขอบข่ายของ
วิทยาศาสตร์ พ้นจากลักษณะท่าทีของผู้ให้การบำบัดรักษา (therapist) ไปสู่ท่าทีของผู้ให้ ความอบอุ่นใจแก่เพื่อนมนุษย์ที่อยู่ในภาวะของความเจ็บป่วย
(comforter)
ปัญหาจริยธรรมทางการพยาบาล (Ethical
Problems in Nursing) คือปัญหาที่ พยาบาลต้องพิจารณาใคร่ครวญ ว่าอะไรควรทำ
ไม่ควรทำ หรือ สถานการณ์ขัดแย้งที่ต้อง ตัดสินใจเลือกการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
(Ethical Dilemmas) เคอร์เทน(Leah Curtain) ได้อธิบายลักษณะกว้าง
ๆ ของปัญหาจริยธรรมทางการพยาบาลที่ต้องตัดสินเลือกการกระทำ ไว้ ดังนี้
เป็นปัญหาที่ไม่อาจหาข้อยุติได้จากเพียงข้อเท็จจริงที่ประจักษ์ (empirical data) แต่เพียงด้านเดียว
เป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนจนยากที่จะกำหนดได้แน่ชัดว่าจะใช้ข้อเท็จจริง
และ ข้อมูลอย่างไรในการตัดสิน
และของปัญหาจริยธรรมที่เกิดไม่เพียงกระทบต่อเหตุการณ์เฉพาะหน้าในปัจจุบัน
เท่านั้น แต่มีผลกระทบเชื่อมโยงต่อไปภายหน้าด้วย
ทฤษฎีจริยศาสตร์
โดยทั่วไป การตัดสินใจเลือกความประพฤติ/ การกระทำที่ถูกต้องเหมาะสมมักใช้ ศาสนา กฎหมาย ค่านิยมในสังคม
ขนบธรรมเนียมประเพณี และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของสถาบัน เป็นมาตรการตัดสินความประพฤติ
/ การกระทำของมนุษย์ ซึ่งนักจริยศาสตร์เห็นว่าปัจจัยดังกล่าว ไม่อาจนำมาใช้ในการตัดสินใจเลือกได้อย่าง
ถูกต้องเหมาะสม และบางครั้งก็ทำให้เกิดความขัดแย้ง นักจริยศาสตร์จึงได้เสนอทฤษฎีเพื่อใช้
เป็นมาตรการตัดสินความประพฤติ / การกระทำของมนุษย์ ได้แก่ ทฤษฎีประโยชน์นิยม
(Utilitarianism) และทฤษฎีหน้าที่นิยม (Formalism)
1. ทฤษฎีประโยชน์นิยม (Utilitarianism) ทฤษฎีนี้ถือว่า ผลของการกระทำที่
ก่อให้เกิดประโยชน์แก่คนจำนวนมากที่สุด เท่าที่จะกระทำได้ เป็นการกระทำที่ถูกต้อง ในทาง
ตรงกันข้าม ผลของการกระทำที่ก่อให้เกิดโทษแก่คนจำนวนมาก จะเป็นการกระทำที่ไม่ ถูกต้อง
(นักปรัชญาที่เป็นรู้จักกันคือ จอห์น สจวร์ต มิลล์ John
Strwwart Mill) มิลล์เห็นว่าเกณฑ์ตัดสินคุณค่าทางจริยะ
คือ การแสวงหาความพึงพอใจมากที่สุด แก่คนจำนวนมากที่สุด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวนี้อย่างแท้จริง
ควรอบรมให้ประชาชน ยึดหลักการเสียสละผลประโยชน์ส่วนตัว และมุ่งหาประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
ประโยชน์ ส่วนตัวก็จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ (กีรติ,
2538) สิวลี (2537) ได้สรุปหลักการของทฤษฎี และเกณฑ์ในการตัดสินคุณค่าทางจริยะ ในทรรศนะของมิลล์ไว้ดังนี้
·
คุณค่าทางจริยะไม่มีอยู่จริง
เป็นสิ่งที่คนเราสมมติขึ้น จึงเป็นสิ่งที่ขึ้นกับ สภาพแวดล้อม กาลเวลาและเปลี่ยนแปลงได้
·
เกณฑ์การตัดสินคุณค่าความประพฤติ / การกระทำของมนุษย์มีได้หลายเกณฑ์
·
การกระทำที่ก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่คนจำนวนมากเป็นเกณฑ์การตัดสิน
ความประพฤติ / การกระทำของมนุษย์
·
ประโยชน์ย่อมอยู่เหนือหลักการ
2. ทฤษฎีหน้าที่นิยม (Formalism) ความถูกต้องทางศีลธรรมของการกระทำถูกกำหนด
โดยภาระหน้าที่ และกฎที่แน่นอนตายตัว รูปแบบของการกระทำจะต้องเป็นไปตามหลักการ
/ กฎ นักปรัชญาซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในทฤษฎีนี้ ได้แก่ อิมมานูเอล คานท์
(Immanuel Kant) การ กระทำดังกล่าวกระทำโดยมีความตั้งใจดี เพราะไม่คำนึงว่าผลที่ได้รับจะเป็นอย่างไร
เกณฑ์ ในการตัดสินคุณค่าทางจริยะ คือกระทำโดยตั้งใจจะกระทำตามความมุ่งมั่นในหน้าที่
หากจะ มีเหตุผลอื่นประกอบด้วยก็เป็นเพียงเหตุผลรอง
ความมุ่งมั่นในหน้าที่
จะสั่งด้วยคำสั่งเด็ดขาด (Categorical imperative) หมายถึงสิ่งที่ ต้องทำตามความมุ่งมั่นในหน้าที่อย่างไม่มีเงื่อนไข ผู้มีความตั้งใจดีจะตัดสินใจกระทำตาม
ความมุ่งมั่นในหน้าที่ทันทีโดยไม่รอชั่งดูทางได้ทางเสีย (กีรติ,
2538)
คำสั่งเด็ดขาดจะสั่งให้กระทำภายใต้หลักการซึ่งก็เป็นคำสั่งเด็ดขาดในตัวของตัวมันเอง
ด้วย ดังต่อไปนี้
กระทำโดยความสำนึกว่าเป็นกฎสากล
กระทำโดยความสำนึกว่า บุคคลเป็นจุดหมาย ไม่ใช่วิถีไปสู่จุดหมายอื่น
กระทำโดยความสำนึกว่า ตนมีเสรีภาพ และมนุษย์ทุกคนต่างก็มีเสรีภาพ
สิวลี (2537) ได้สรุปหลักการของทฤษฎี
และเกณฑ์ในการตัดสินคุณค่าทางจริยะใน ทรรศนะของคานท์ ซึ่งมีลักษณะที่เข้มงวด และสอดคล้องกับศาสนา
ไว้ดังนี้
คุณค่าทางจริยะ มีอยู่จริง เป็นอิสระ ตายตัว ไม่เปลี่ยนแปลง
เกณฑ์การตัดสินคุณค่าความประพฤติ / การกระทำของมนุษย์มีเพียงเกณฑ์เดียว
เจตนาเป็นเกณฑ์การตัดสินคุณค่าความประพฤติ / การกระทำของมนุษย์
หลักการอยู่เหนือผลประโยชน์
มนุษย์มีค่าเหนือสิ่งอื่นใดในจักรวาล
จริยศาสตร์เป็นการให้คำตอบเกี่ยวกับสิ่งที่ควรทำและสิ่งที่ไม่ควรทำในสถานการณ์นั้น
ๆ พร้อมยกเหตุผลบนพื้นฐานของมโนธรรมประกอบ ซึ่งนักจริยศาสตร์ได้เสนอทฤษฎีที่ใช้เป็น
เกณฑ์ คือ ทฤษฎีประโยชน์นิยม และทฤษฎีหน้าที่นิยม ส่วนจริยธรรมเป็นหลักความประพฤติ
ที่ควรประพฤติ เป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ความถูกต้องดีงามนั้นขึ้นกับเวลา สถานที่ และ
องค์ประกอบอื่น ๆ ด้วย จริยธรรมมี 2 ส่วน คือ จริยธรรมภายใน ได้แก่ ความรู้เชิงจริยธรรม ทัศนคติเชิงจริยธรรม และเหตุผลเชิงจริยธรรม
อีกส่วนหนึ่งคือ จริยธรรมภายนอก ได้แก่ พฤติกรรมเชิงจริยธรรม ทั้งจริยธรรมภายในและ
จริยธรรมภายนอกต้องได้รับการพัฒนามา ตั้งแต่เกิด โดยอาศัยสติปัญญา ความรู้สึกนึกคิดส่วนบุคคล
พฤติกรรมการเลี้ยงดู และ ประสบการณ์จากสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ทฤษฎีที่ใช้ในการอธิบายเกี่ยวกับพัฒนาการทาง
จริยธรรมของบุคคล ได้แก่ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม ของเปียเชต์
ทฤษฎีพัฒนการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก และทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของ แบนดูรา พัฒนาการทางจริยธรรมของบุคคลที่เป็นไปตามขั้นตอน
จะทำให้บุคคลมีคุณธรรม จริยธรรม สามารถใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจเชิงจริยธรรมและ
การกระทำเชิงจริยธรรม ได้แก่ ความเกื้อกูล การบอกความจริง ความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม
และสิทธิส่วนบุคคล ทั้งนี้การตัดสินใจเชิงจริยธรรมต้องใช้แนวคิดทางจริยศาสตร์ร่วมด้วย
คุณธรรมและจริยธรรมในการสื่อสาร
คุณธรรมในการสื่อสารทำให้การสื่อสารนั้นราบรื่นขึ้น
หากสื่อสารกันอย่างขาด คุณธรรมแล้วอาจทำให้เกิดความขัดแย้ง ความโกรธขึ้นได้ หรือบางทีทำให้สิ่งที่เราต้องการ
สื่อไปนั้นทำเกิดผลเสียต่อผู้ส่งสาร ดังนั้นบางอย่างที่ไม่ควรจะสื่อให้ผู้อื่นรู้ ซึ่งต้องอาศัย
หลักธรรมในการพิจารณา วาจานั้นสามารถทำให้เกิดผลเสียก็ได้ผลดีก็ได้ ทำให้คนมีอนาคต
ก็ได้ ฆ่าคนก็ได้ หาสื่อสารกันโดยไม่มีคุณธรรมแล้วจะทำให้เกิดความเดือดร้อนมากมาย ใน
เว็บไซด์นี้ขอแบ่งคุณธรรมในการสื่อสารเป็น 2 พวก คือ พวกที่ใช้ในการพิจารณาสารว่าควร จะส่งในผู้รับสารหรือเปล่า และหลักธรรมที่ช่วยให้การส่งสารมีประสิทธิภาพคือ
เมื่อสารได้รับ การพิจารณาแล้วว่าเป็นสารที่เหมาะสมแก่การส่งให้แก่ผู้รับสาร เราควรจะส่งสารนั้นอย่างไร
จึงจะดี
1. หลักธรรมในการพิจารณาสารที่จะส่ง
1.1 ปฏิจฺจสมุปบาท เป็น วิธีคิดที่ว่าด้วยเหตุผล คือคิดจากเหตุ ไปหาผล ตัวอย่างเช่น
เวลาจะพูดอะไรออกไปต้องคิดว่าพูดอย่างนี้แล้วจะทำให้เขารู้สึก อย่างไร เมื่อเขารู้สึก
อย่างนี้แล้ว เป็นผลดีสำหรับตัวเขาและตัวเราหรือไม่ ถ้าตรึกตรองดีแล้ว จะเกิดผลเสียก็
ไม่ควรพูดออกไปไม่ว่าจะเป็นความจริงก็ตาม ปฏิ จฺจสมุปบาทนี้เป็นการคิดแบบป้องกัน ปัญหา
ใช้เฉพาะเมื่อตอนยังไม่เกิดปัญหาขึ้นเท่านั้น แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้วเราต้อง ใช้อริยสัจ
4 ในการแก้ปัญหา ซึ้งเป็นการคิดจากผลไปหาเหตุ
1.2 ศีล 5 นอกจากใช้วาจาที่สุภาพอ่อนหวานแล้วข้อมูลที่เราได้ส่งให้กับผู้รับสารนั้น
ต้องเป็นข้อมูลจริง การส่งสารที่เป็นเท็จให้กับผู้ที่รับสารนั้นเป็นการทำผิดคุณธรรมของ
การสื่อ สารและอาจทำให้ผู้ที่รับสารได้รับความเดือดร้อน และไม่ควรพูดในขณะที่ไม่มี
สติครบถ้วนเช่น คนเมาส่งสาร ทำให้สารที่ส่งอาจเกิดความผิดเพี้ยนเป็นผลเสียต่อ ตนเองและผู้อื่น
2. หลักธรรมที่ช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ
2.1 สัคหวัตถุ 4 หลักธรรมนี้เป็นหลักธรรมที่เราคุ้นเคยกันดี
เป็นหลักธรรมที่ใช้ยึด เหนี่ยวจิตใจ แต่ในเรื่องการสื่อสารนี้เราจะใช้หัวข้อเดียวของหลักธรรมนี้คือ
ปิยวาจา คือการ พูดอย่างสุภาพ อ่อนหวาน ไม่ว่ากับผู้ใดก็ตาม จะทำให้การสื่อสารของเราเป็นไปอย่างราบรื่น
2.2 สติ สัมปชัญญะ สติ และสัมปชัญญะไม่ได้เป็นคำ ๆ เดียวอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่
จะเกิดขึ้นควบคู่กันไปสติคือความรับรู้ ความระลึกได้ ซึ่งทำให้เรารู้ตัวว่าเรากำลังทำอะไรอยู่
เราจะสื่อสารอย่างไร้ประสิทธิภาพเมื่อขาดสติเพราะไม่ว่ารู้ตัวว่าต้องจะสื่อ อะไรให้ผู้รับสาร
ทราบ ดังนั้นหากจะสื่อสารแล้วต้องมีสติเสมอ สัมปชัญญะ คือ ตัวที่เลือกว่าจะสนใจอะไร เมื่อรู้ว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นแล้ว
จะสนใจหรือไม่นั้น ขึ้นกับสัมปชัญญะ อย่างถ้าผู้รับสารได้รับสารหลายอย่างในเวลาเดียวกัน
เช่น เวลานักเรียน ไปท่องบทร้อยกรองให้ครูฟัง ครูจะต้องมีสติ และสัมปชัญญะในการฟังตั้งสองคน
หากมีสติ และสัมปชัญญะเกิดพร้อมกันแล้วเราสามารถพูดได้ว่าเกิดสมาธิแล้ว และทำให้การส่งสารและ
รับสารเป็นไปอย่างสมบูรณ์ที่สุด
หลักธรรมที่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสื่อสารนั้นมีอีกมากหากแต่ธรรมที่
ได้ ยกมาแล้วนี้ พอเพียงแล้ว แต่จะใช้ธรรมอื่น ๆ เสริมอีกก็ได้เช่น วาจาสุภาษิต ในมงคลชีวิต 38 ธรรมะในศาสนาพุทธมีเรื่องของการสื่อสารมากเนื่องจาก
กรรมที่เกิดจากมโนหรือจิตนั้น สำคัญที่สุด รองลงมาเป็นกรรมจากวาจา และสำคัญน้อยที่สุดคือการกระทำ
แนวคิดเชิงจริยธรรมในการพยาบาล
มี 4 แนวคิด คือ
1. การพิทักษ์สิทธิ (Advocacy)
2. หน้าที่ความรับผิดชอบ(Accountability)
3. ความร่วมมือ(Cooperation)
4.ความเอื้ออาทร (Caing)
1. ก ารพิทักษ์สิทธิ (Advocacy) การให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถเมื่อมี
เหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ในทางกฎหมายหมายถึง การทำหน้าที่ปกป้องสิทธิมนุษยชนขั้น พื้นฐานแทนบุคคลซึ่งไม่สามารถจะปกป้องตนเองได้
พฤติกรรมที่จำเป็นต่อบทบาทการพิทักษ์ สิทธิ คือ การพัฒนาวิชาชีพการพยาบาลให้อยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม
และความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์ การส่งเสริมความสุขสบายของผู้ป่วยอย่างบูรณาการ ฟาริดา
(2536) ได้ กล่าวถึงหน้าที่ของพยาบาลในฐานะผู้พิทักษ์สิทธิผู้ป่วย ดังนี้
·
ให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพผู้ป่วยสามารถกำหนดทางเลือกที่เหมาะสมได้
·
แจ้งถึงสิทธิและใช้สิทธิให้เต็มความสามารถ
·
จัดหาทรัพยากรที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
และให้โอกาสผู้ป่วยได้เลือกใช้ตามความ พอใจ
·
สื่อภาษาระหว่างผู้ป่วย
ครอบครัว แพทย์ ทีมสุขภาพ และทีมการพยาบาล เพื่อ ความเข้าใจตรงกัน
·
ให้ความรู้แก่บุคลากรทั้งหมดให้ตระหนักถึงความรับผิดชอบของตนเอง
และมีความ ว่องไวในการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อสนองความต้องการของผู้ป่วย
นอกจากนี้การพิทักษ์สิทธิโดยพยาบาลยังเป็นสิ่งที่บอกถึงสัมพันธภาพระหว่างพยาบาล
กับผู้ป่วย สะท้อนให้เห็นเป็น 3 รูปแบบ พยาบาลทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิของผู้ป่วย
พยาบาลเป็นผู้ช่วยผู้ป่วยในการค้นหาความต้องการของตนเอง และช่วยให้ ความต้องการนั้น
ๆ ได้รับการตอบสนอง โดยพยายามชี้ให้เห็นข้อดี และ ข้อเสียของทางเลือกต่างๆ ที่ผู้ป่วยจะต้องตัดสินใจด้วยตนเอง
พยาบาลทำหน้าที่พิทักษ์คุณค่าความเป็นมนุษย์ และทำหน้าที่ไม่ให้มีการล่วง ละเมิดศักดิ์ศรี
ความเป็นส่วนตัว และทางเลือกของผู้ป่วย
พยาบาลในฐานะผู้พิทักษ์สิทธิต้องเป็นคนอ่อนโยน ช่างสังเกต และละเอียดอ่อน
เพียงพอ มีความใส่ใจทีจะช่วยเหลือผู้อื่นอย่างไม่เบื่อหน่าย ตระหนักในคุณค่าของบุคคล
เอกภาพ ความเป็นองค์รวม อิสรภาพ ความเสมอภาค และความรู้สึกมีส่วนร่วมในการ ตัดสินใจในปัญหาของตนเองของผู้ป่วย
มีความเคารพในผู้ป่วยทุกคนโดยไม่มีอคติ ไม่ว่าจะ ด้วยเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม
และประเพณีที่แตกต่างกันก็ตาม
2.หน้าที่ความรับผิดชอบ(Accountability) หมายถึง ขอบเขตหน้าที่
และภาระหน้าที่ที่ สัมพันธ์กับบทบาทของพยาบาล คือการช่วยเหลือผู้ป่วยแต่ละคนให้ได้รับการดูแลสุขภาพที่มี
คุณภาพ ในการปฏิบัติหน้าที่ทางวิชาชีพพยาบาล พยาบาลมีศักยภาพไม่เพียงแต่จะช่วยเหลือ
ผู้ป่วยเท่านั้น แต่จะช่วยขจัดความไม่สุขสบาย หรือความเครียดด้วยในบางครั้ง หน้าที่ความ
รับผิดชอบของพยาบาลขึ้นอยู่กับการเลือกทางเลือกที่เป็นไปได้ดีที่สุดในการตอบสนองความต้องการ
2.1 เพื่อประเมินผลการปฏิบัติแบบใหม่
และประเมินผลการปฏิบัติที่กระทำอยู่อย่าง
ต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ
2.2 เพื่อคงไว้ซึ่งมาตรฐานการดูแลสุขภาพ
2.3 เพื่อทำให้การแสดงออกซึ่งความคิดเห็นส่วนตัว
ความคิดเห็นทางจริยธรรม และ
กระบวนการพัฒนาตนเองในเรื่องของวิชาชีพสุขภาพง่ายขึ้น
2.4 เพื่อกำหนดหลักการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
ความขัดแย้งเกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเด็นของความรับผิดชอบ
เช่น ค่านิยมทางวิชาชีพ ของพยาบาลอาจขัดแย้งกับนโยบายของสถาบัน และพยาบาลไม่แน่ใจว่าจะปฏิบัติตาม
แนวทางที่สถาบันกำหนดหรือไม่ ดังนั้น นโยบายและระเบียบการควรจะเป็นแบบเดียวกับ มาตรฐานหลักของการดูแลเพื่อคงไว้ซึ่งคุณภาพการดูแลภายในสถาบัน
3. ความร่วมมือ การมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันกับบุคคลอื่น เพื่อคุณภาพการดูแลผู้ป่วย
ความร่วมมือจะช่วยสนับสนุนกิจกรรมการพยาบาล เช่น การทำงานกับบุคคลอื่นทีมีเป้าหมาย
ร่วมกัน การรักษาสัญญา การมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และการเสียสละประโยชน์สุขส่วนตัว
เพื่อให้ความสัมพันธ์ในวิชาชีพมีความยั่งยืน
4. ความเอื้ออาทร เป็นสิ่งมีคุณค่าในความสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วย ด้วย
บทบาทของพยาบาลที่มีต่อการปกป้องศักดิ์ศรี และการดำรงรักษาสุขภาพของมนุษย์ เป็น บทบาทที่อยู่บนพื้นฐานของความเอื้ออาทร
ซึ่งความเอื้ออาทรประกอบด้วย
4.1 การไม่ทอดทิ้งผู้ป่วย
4.2 การให้ความเคารพผู้ป่วย
4.3 การเห็นอกเห็นใจผู้ป่วย
4.4 ความเป็นกันเองกับผู้ป่วย
รูปแบบการตัดสินใจเชิงจริยธรรมในการพยาบาล
1. ก ารทำให้ปัญหาจริยธรรมกระจ่างชัด เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
สาเหตุสำคัญของปัญหานี้เกิดขึ้นอย่างไร
อะไรคือประเด็นปัญหา
บุคคลผู้เกี่ยวข้อง
ด้วยข้อมูลที่เป็นจริงและค่านิยมที่เกี่ยวข้อง
2. การเก็บรวบรวมข้อมูลทีตรงกับประเด็นปัญหา เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สามารถ
นำไปใช้ในการกำหนดทางเลือกต่าง ๆ เป้าหมายโดยรวม และเป้าหมายที่ควรจะเป็นของผู้ป่วยรายนี้
คืออะไร
ผู้ป่วยต้องการอะไร
ผู้ป่วยเข้าใจว่าอะไร ผู้ป่วยถูกบังคับหรือไม่ ความสามารถในการตัดสินใจของผู้ป่วย
ศาสนา วัฒนธรรม และการปรับตัวของครอบครัว
ถามตัวเองว่าจะทำอย่างไรถ้าอยู่ในสถานการณ์เดียวกันกับผู้ป่วย หรือผู้ป่วยเป็น บิดามารดาของตน
ใครทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์สิทธิผู้ป่วย และความคิดเห็นของผู้พิทักษ์สิทธิคืออะไร เหตุผลในแง่ของกฎหมายมีผลกระทบต่อการตัดสินใจในครั้งนี้หรือไม่
3. ก ารค้นหาทางเลือก เป็นการวิเคราะห์ทางเลือกที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา ผลดี และ
ผลเสียที่เกิดขึ้น รวมทั้งทางเลือกที่ควรจะเป็น อะไรคือทางเลือกของการกระทำ อะไรคือผลลัพธ์ที่เป็นไปได้
อะไรคือผลกระทบที่มีต่อบุคคล
และสังคมโดยรวมทั้งทางบวก และทางลบทางด้าน จิตใจ อารมณ์ การเงิน กฎหมาย วิทยาศาสตร์
การศึกษา และศาสนา การตัดสินใจท่าจะเป็นจริง
4. ก ารพิจารณาทางเลือก เป็นการอภิปรายข้อโต้แย้งของทางเลือกต่างๆ บนพื้นฐาน ของหลักจริยธรรม
และองค์ประกอบอื่น ๆ ประยุกต์หลักการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมในการตัดสินใจ
อภิปรายหลักการขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นทียอมรับดดยการทบทวนทางเลือกต่าง
ๆ บน พื้นฐานของหลักจริยธรรม ทฤษฎีจริยศาสตร์ แนวคิดเชิงจริยธรรมในการพยาบาล จรรยาบรรณวิชาชีพ
คำประกาศสิทธิของผู้ป่วย และสิทธิบัตรผู้ป่วยของสมาคมโรงพยาบาล แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา
อภิปรายค่านิยมพื้นฐานของบุคคลที่เกี่ยวข้อง
5. ก ารตัดสินใจ เป็นการตัดสินใจที่เป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม การตัดสินใจต้องกระทำอย่างเปิดเผย
และบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ใครเป็นผู้ตัดสินใจ และตัดสินใจเพื่อใคร เป็นการตัดสินใจอย่างเด็ดขาดหรือไม่
เป็นการตัดสินใจที่จะกระทำหรือโดยคำนึงถึงผลที่เกิดขึ้น ได้คำนึงถึงสิทธิของผู้ป่วยหรือไม่
6. ก ารประเมินผลการตัดสินใจ เป็นการประเมินผลที่เกิดขึ้นจริงว่าสอดคล้องกับที่คาด
ไว้หรือไม่
เปรียบเทียบผลลัพธ์ที่แท้จริงกับผลลัพธ์ที่คาดไว้
ท่านจะปรับขั้นตอนการตัดสินใจในคราวหน้าอย่างไร
ท่านคิดว่า การตัดสินใจในครั้งนี้จะนำไปใช้กับสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันใน
อนาคตได้หรือไม่
ปัจจัยหลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจที่ไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้อง
เป็น เรื่องสำคัญที่จะต้องทำความเข้าใจปัจจัยทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับกระบวรการตัดสินใจด้วย
ความตระหนักว่า ปัจจัยเหล่านี้เป็นอิสระต่อกันแต่ก็ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงซึ่งกันและกัน
จ ริ ย ธ ร ร ม คอมพิวเตอร์ เข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์มากยิ่งขึ้น เนื่องจาก
คอมพิวเตอร์มีความสามารในการจัดเก็บข้อมูล ประมวลผลสารสนเทศ และเป็นเครื่องมือการ สื่อสารที่รวดเร็ว
ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน และ หน่วยงานธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
คาดการณ์กันไว้ว่า ใน 2-3 ปีข้างหน้า ความก้าวหน้า
ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะมีการพัฒนาในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์ ซอร์ฟแวร์
การสื่อสารและเครือข่ายแบบไร้สาย และครือข่ายเคลื่อนที่ ตลอดจนเทคโนโลยี ด้านหุ่นยนต์
มนุษย์ได้คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อจะได้นำอุปกรณ์ ทางเทคโนโลยีเหล่านั้นมาช่วยอำนวยความสะดวก
ลดขั้นตอนการทำงาน ช่วยเพิ่มคุณภาพ ชีวิต หรือแม้แต่การช่วยชีวิตมนุษย์ ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ร่วมกันในสังคม
ในแต่ละ ประเทศจึงได้มีการกำหนดระเบียบ กฎเกณฑ์ รวมถึงกฎหมายที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
เพื่อให้เกิดคุณธรรมและจริยธรรมใน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ความหมาย จริยธรรม หมายถึง
"หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้
ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ" โดยทั่วไป เมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ แล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น
ที่รู้จักกันในลักษณะตัว ย่อ ว่ า PAPA ป ร ะ ก อ บ ด้ ว ย
- ค ว า ม เ ป็ น ส่ ว น ตั ว ( Information Privacy) ความ เป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไปหมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง
และ เป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับ ผู้อื่น
สิทธินี้ ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุค ค ล ก ลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆ -ค ว า ม ถู ก ต้ อ ง ( Information Accuracy) ใน การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม
จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญ ประการหนึ่ง คือ ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล
ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อย เพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการ
บันทึกข้อมูลด้วย ประเด็นด้านจริยธรรมที่ เกี่ยวข้องกับความถูกต้องของข้อมูล โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความ
ถูกต้องของข้อมูลที่จัด เก็บและเผยแพร่ เช่น ในกรณีที่องค์การให้ลูกค้าลงทะเบียนด้วย
ตนเอง หรือกรณีของข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ อีกประเด็นหนึ่ง คือ จะทรายได้ อย่างไรว่าข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากความจงใจ
และผู้ใดจะเป็นผู้รับผิดชอบหาก เกิดข้อผิดพลาด ดังนั้น ในการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศให้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือนั้น
ข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะนำเข้าฐานข้อมูล รวมถึงการปรับปรุง ข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
นอกจากนี้ ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไปตรวจสอบ ความถูกต้องของข้อมูลของตนเองได้
เช่น ผุ้สอนสามารถดูคะแนนของนักศึกษาในความ รับผิดชอบ หรือที่สอนเพื่อตรวจสอบว่าคะแนนที่ป้อนไม่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง
- การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) ปัจจุบัน การเข้าใช้งานโปรแกรม
หรือระบบ คอมพิวเตอร์มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการเข้า
ไปดำเนินการต่างๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของ
ข้อมูล ตัวอย่างสิทธิในการใช้งานระบบ เช่น การบันทึก การแก้ไข/ปรับปรุง และการลบ เป็น ต้น ดังนั้น ในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยใน
การเข้า ถึงของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ก็ถือเป็นการ
ผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัวในการใช้งาน คอมพิวเตอร์และเครือข่าย
ร่วมกันให้เป็นระเบียบ หากผู้ใช้ร่วมใจกันปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของแต่ละ หน่วยงานอย่าง
เคร่งครัดแล้ว การผิดจริยธรรมตามประเด็นดังที่กล่าวมาข้างต้นก็คงจะไม่ เกิดขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น