welcome for shared knowledge and experience





วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการพยาบาลด้วยหัวใจเพื่อเพื่อนมนุษย์

แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการพยาบาลด้วยหัวใจเพื่อเพื่อนมนุษย์
ธิดารัตน์  เลิศวิทยากุล
         ในบทจะนี้กล่าวถึง   แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการพยาบาลด้วยหัวใจเพื่อเพื่อนมนุษย์ ที่ครอบคลุม
หัวข้อดังนี้
1.               ความหมายของการบริหาร
2.               ความสำคัญของการบริหาร
3.               แนวคิดการบริหาร
4.               องค์ประกอบการบริหาร
5.               ทฤษฎีการบริหาร
5.1 ทฤษฎีการบริหารแบบดั้งเดิม
5.2 ทฤษฎีการบริหารโดยใช้พฤติกรรมศาสตร์
5.3 ทฤษฎีบริหารเชิงปริมาณ
5.4 ทฤษฎีบริหารร่วมสมัย
5.5 ทฤษฎีบริหารที่เกิดขึ้นใหม่
5.6 ทฤษฎีทัศนะเชิงคุณภาพ
5.7 การบริหารเชิงพุทธ
6.               แนวคิดการดูแลเพื่อเพื่อนมนุษย์ (Humanization)
ผลการเรียนรู้          ด้านความรู้
1. อธิบายความหมายของการบริหารและการบริหารการพยาบาลได้
2. สรุปใจความสำคัญของความสำคัญ แนวคิด และองค์ประกอบการบริหารได้
3. อธิบายและสรุปใจความสำคัญของทฤษฎีการบริหารและแนวคิดการดูแลเพื่อเพื่อนมนุษย์ได้
วิธีการสอน
1.               บรรยายแบบมีส่วนร่วม (Interactive Lecture)
2.               การเรียนแบบร่วมแรงร่วมใจ  (Cooperative Learning)
สื่อการสอน
1.               เอกสารประกอบการสอน
2.               Power point
3.               Blogger
วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
1.               สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้น
2.               การสะท้อนคิด
3.               ข้อสอบกลางภาค


1. ความหมายของการบริหาร
         การบริหารมักใช้กันอยู่ 2 คำ คือ administration  และ ชึ่งมีความหมายเช่นเดียวกัน  แต่ใช้ต่างกันซึ่ง นิตยา ศรีญาณลักษณ์ (2545) และ พวงทิพย์ ชัยพิบาลสฤษดิ์ (2551) ได้ให้ความเห็นตรงกันว่า administration   มักใช้ในองค์กร ของรัฐซึ่งรับผิดชอบในการกำหนดเป้าหมาย และนโยบายอย่างกว้างๆ ให้ถือปฎิบัติ ผู้บริหารที่รับผิดชอบ เรียกว่า ผู้บริหาร  ส่วน management มักใช้ในองค์กรธุรกิจ เน้นการนำนโยบายไปปฎิบัติ ผู้บริหารที่รับผิดชอบ เรียกว่า ผู้จัดการ
         การบริหาร  (นิตยา ศรีญาณลักษณ์ ,2545) หมายถึง  กิจกรรมที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปนำศาสตร์มาร่วมกันดำเนินงานโดยใช้วิธีการที่เหมาะสมอย่างมีศิลปะ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ  
         การบริหาร   (พวงทิพย์ ชัยพิบาลสฤษดิ์2551)  หมายถึง การที่บุคคลทำงานอย่างสำเร็จบรรลุเป้าหมาย โดยผ่านผู้อื่นหรือผู้อืนดำเนินการ ทั้งนี้ผู้บริหารเป็นผู้จัดการด้านทรัพยากร เป็นผู้ตัดสินใจและชี้นำผู้อื่น ให้ดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย และต้องตระหนักถึงปฏิสัมพันธ์และการประสานงานด้านสังคมด้วย
         การบริหาร (พระราชวิจิตรปฏิภาร, 2549 อ้างถึงใน อมร สุวรรณนิมิตร, 2553) ได้ให้ความหมาย เชิงพุทธศาสนา ไว้ว่า ประกอบด้วย 2 คำ คือ บริ”  หรือ ปริซึ่งหมายถึง รอบด้าน  รอบข้างและรอบรู้  ส่วนคำว่า หารแปลว่า นำไป  ดังนั้นคำว่า บริหารจึงหมายถึง  ต้องนำไปทั้งหมดทุกกระบวนการ
         กล่าวโดยสรุป การบริหาร จึงหมายถึง  การที่บุคคลทำงานอย่างสำเร็จบรรลุเป้าหมาย โดยผ่านผู้อื่นหรือผู้อืนดำเนินการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยนำศาสตร์มาร่วมกันดำเนินงานโดยใช้วิธีการที่เหมาะสมอย่างมีศิลปะทุกกระบวนการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ   ที่คำนึงถึงปฏิสัมพันธ์และการประสานงานด้านสังคมโดยมีผู้บริหารเป็นผู้จัดการด้านทรัพยากร เป็นผู้ตัดสินใจและชี้นำผู้อื่นให้ดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย

         การบริหารการพยาบาล หมายถึง  การดำเนินงานตามกระบวนการบริหาร โยอาศัยปัจจัยต่างๆ ที่จำเป็นต่อการบริหาร เพื่อให้บุคลากรสามารถให้การพยาบาลที่มีคุณภาพและตามวัตถุประสงค์ขององค์กรพยาบาล(นิตยา ศรีญาณลักษณ์ ,2545)

2. ความสำคัญของการบริหาร
         การบริหารเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่เป็นระบบการทำงานร่วมกันของคนเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยนำองค์ความรู้ด้านการบริหารไปประยุกต์ใช้สู่การปฏิบัติ นั่นคือการใช้กระบวนการและเทคนิคทางการบริหารกับคนเพื่อให้คนทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมาย ดังนั้นการบริหารจึงเป็นศิลปะเช่นกัน การบริหารการพยาบาลจึงมีความสำคัญ ต่อผลที่เกิดในองค์กรพยาบาลขึ้นดังนี้
         2.1 ช่วยให้บุคลากรพยาบาลร่วมกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
         2.2 ช่วยชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มความสำเร็จขององค์กรในอนาคต
         2.3 ช่วยให้องค์กรพยาบาลมีความก้าวหน้า การคงอยู่ อย่างยั่งยืน
         2.4 เป็นเครื่องมือในการจัดระเบียบองค์กรพยาบาลที่ซับซ้อน
         2.5 เป็นการแสดงถึงความสามารถของผู้บริหารการพยาบาลที่ต้องใช้เครื่องมือในการวินิจฉัยสั่งการ โดยจะต้องคำนึงถึงปัจจัยสภาพแวดล้อมต่างๆ
         2.6 เป็นเครื่องมือช่วยให้บุคลากรทางการพยาบาลปฏิบัติหน้าที่ที่มีคุณภาพต่อผู้ใช้บริการ
         สรุป ความสำคัญของการบริหารการพยาบาลมีผลโดยตรงต่อบุคลากรทางการพยาบาลที่อยู่ในองค์กรที่ซับซ้อน การบริหารจัดการทางการบริการที่ดี จะนำพาคนในองค์กรปฏิบัติงานได้สำเร็จ และเกิดคุณภาพการบริการทางการพยาบาลมีผลให้องค์กรวิชาชีพเจริญก้าวหน้า และสังคมมีความสุข

3. แนวคิดการบริหาร
         การบริหารมีแนวคิดที่หลากหลาย ดังนั้นแนวคิดด้านการบริหารการพยาบาลก็มีความหลากหลาย ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า ผู้บริหารนั้นจะมีแนวคิด เพื่อนำสู่การปฏิบัติอย่างไร  ในที่นี้ นิตยา ศรีญาณลักษณ์ ( 2545)  ได้กล่าวถึงแนวคิดด้านการบริหารไว้ 4 ประการดังนี้
         3.1 การบริหารที่มุ่งผลงาน (Task   center)
                ผู้บริหารการพยาบาลที่มีแนวคิดแบบนี้จะมุ่งงานเป็นหลัก จะกำหนดวิธีการทำงานที่ดีที่สุด และจะ ปรับคนให้เข้ากับงาน มองผลงานและกำไรเป็นสิ่งสำคัญ
         3.2 การบริหารที่มุ่งตัวบุคคล( Personal  center)
                ผู้บริหารการพยาบาลที่มีแนวคิดแบบนี้จะให้ความสำคัญกับคน เชื่อว่า คนดีแล้วผลงานจะดีตามมา จึงปรับงานให้เข้ากับคน หรือเรียกอีกแบบหนึ่งว่า แนวทางแบบมนุษยสัมพันธ์
         3.3 การบริหารที่มุ่งคนและงาน (Modern development)
                เป็นแนวคิดที่ผสมผสานระหว่างการบริหารที่มุ่งที่ตัวบุคคล และ มุ่งที่ผลงาน จึงเป็นการมองระบบความสัมพันธ์ทั้งคน องค์กร และระบบสังคม
         3.4 การบริหารที่มุ่งถึงประสิทธิภาพตามสถานการณ์
                แนวคิดนี้เชื่อว่าไม่มีวิธีบริหารใดที่ดีที่สุด  หากแต่ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของสถานการณ์นั้น ๆ
4. องค์ประกอบการบริหาร
         องค์ประกอบการบริหาร (Mahesvari,1991 อ้างถึงใน นิตยา ศรีญาณลักษณ์, 2545) ว่าเป็นกระบวนการเปลี่ยนรูป  (Conversion process)  ซึ่งเริ่มมาจากปัจจัยนำเข้า หรือตัวป้อน หรือต้นทุน (Input)  ไปยังกระบวนการหรือกิจกรรม ( Process) และผลิตผลหรือผลลัพธ์ หรือผลการบริหาร (product  or  output) ซึ่งเรียกว่า IPP Model   ดังภาพที่ 1

 


                                 ภาพที่ 1 IPP  conversion  Model   กระบวนการเปลี่ยนรูป

         ซึ่งสามารถอธิบายแต่ละองค์ประกอบดังนี้
         1. ปัจจัยนำเข้าหรือตัวป้อน หรือต้นทุน (Input) หมายถึง ทรัพยากรทางการบริหาร คือ 4 M’s นั่นเอง ประกอบด้วย คน (Man)  เงิน (Money) วัสดุอุปกรณ์ (Material)  และวิธีจัดการ (Management)
         2. กระบวนการบริหาร (process) ประกอบด้วยการวางแผน (Planning) การนำแผนสู่การปฏิบัติ (Implementation) และการประเมินผล (Evaluation)
         3. ผลิตผลหรือผลลัพธ์ หรือผลการบริหาร (product or  output)  หมายถึงผลทั้งหมดที่เกิดจาการบริหาร หากมองในเชิงการบริหารการพยาบาล หมายถึง สุขภาพของผู้ใช้บริการด้านสุขภาพนั่นเอง
         กล่าวโดยสรุป การบริหารการพยาบาลเป็นการใช้กระบวนการบริหารที่มีองค์ประกอบและปัจจัยต่างๆที่สนับสนุนให้เกิดผลลัพธ์ที่มีคุณภาพต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งพอสรุปในภาพที่ 2

  


ภาพที่ 2 องค์ประกอบทางการบริหาร


5. ทฤษฎีการบริหาร
         ทฤษฏีทางการบริหารมีวิวัฒนาการมาโดยตลอด เริ่มตั้งแต่ ศตวรรษที่ 18 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน มีนักทฤษฎีและนักวิชาการได้เสนอทฤษฎีทางการบริหารไว้หลายทฤษฎี พอสรุปได้ดังนี้

5.1 ทฤษฎีการบริหารแบบดั้งเดิม (Classical  Theory)
            เป็นทฤษีที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยแรกๆ  เน้นที่การบริหาร งาน เป็นสำคัญ ลักษณะการบริหารงานมีระเบียบแบบ
แผน มีกฎเกณฑ์และเหตุผล เช่น
                                5.1.1 ทฤษฎีบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific management)   ใช้วิธีการตั้งปัญหาเพื่อหาแนวทางไปสู่จุดหมายที่ต้องการ เน้นการบริหารที่ตัวงาน มีนักทฤษฎีที่สำคัญดังนี้
                            1) Frederick Winslow Taylor   เป็นบิดาทฤษฎีบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ เชื่อว่าการแก้ปัญหาของ
คนงานที่ทำงานไม่เต็มศักยภาพ  แก้ไขโดยหลักการ 4 ประการ คือ
·        กำหนดวิธีการทำงานทดแทนการทำงานแบบลองผิดลองถูก
·        วางแผนการทำงานแทนการปล่อยให้คนงานเลือกการทำงานเอง
·        คัดเลือกคนงานที่มีความสามารถแล้วฝึกอบรมให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ร่วมกัน
·        ใช้หลักการแบ่งงานกันระหว่างผู้บริหารและคนงาน หัวใจสำคัญของหลักการดังกล่าว คือ กำหนดวิธีการทำงานที่ดีที่สุด
                                ส่วนในการจัดสิ่งจูงใจ เชื่อว่า  เงินเป็นปัจจัยจูงใจที่สำคัญ คนงานที่ทำงานเกินมาตรฐานที่กำหนดจะได้รับค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้น  ผู้บริหารการพยาบาลได้ประยุกต์ใช้โดยใช้ค่าตอบแทนเพื่อตอบสนองความต้องการด้านเศรษฐกิจและกายภาพมากกว่าด้านสังคม
                                                2) Henry L. Gantt   เจ้าของ Gantt’s chart การนำเอาเทคนิคการจัดตารางสำหรับการควบคุมการปฏิบัติงานมาใช้ เพื่อปรับปรุงและยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน และยังคงใช้แพร่หลายในปัจจุบัน
กิจกรรม
เวลาในการปฏิบัติ
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
1. วางแผนกิจกรรม 5ส. ในหอผู้ป่วย




2. ประกาศนโยบาย




3. จัดอบรมเจ้าหน้าที่




4. แบ่งพื้นที่ดูงาน




ภาพที่ 3 Gantt’s chart

                                                3) Frank Bunker Gillbreth   ได้ศึกษาความเบื่อหน่ายและผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีต่อคนงาน ซึ่งถ้าวิเคราะห์การทำงานตามหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งทำให้เกิดงานแบบประจำ (Routine) จึงสรุปให้เห็นว่า การทำงานด้วยการแบ่งงานเป็นส่วนๆตามความชำนาญ จะทำงานให้ได้ดีขึ้น
                                5.1.2 ทฤษฎีการจัดการเชิงบริหาร (administrative management)   มีหลักการคือให้ผู้บริหารเป็นผู้ประสานกระบวนการต่างๆ ภายในองค์กรเข้าด้วยกัน ซึ่งกระบวนการบรืหารจะแตกต่างตามแนวคิดของผู้บริหารแต่ละคน  มีนักทฤษฎีที่สำคัญดังนี้
                                                1) Henry Fayol ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกแนวความคิดเกี่ยวกับการจัดการเชิงบริหาร เขาเชื่อว่าผู้บริหารจะประสบผลสำเร็จได้ต้องเข้าใจหน้าที่พื้นฐานของผู้บริหารที่ต้องปฏิบัติ  ไว้ 5 ประการ คือ  POCCC
·        การวางแผน (Planning)
·        การจัดองค์การ (Organizing)
·        การบังคับบัญชาและการสั่งการ (Commanding)
·        การประสานงาน (Coordinating)
·        การควบคุม (Controlling)
                                                                หลักการของ Fayol  นำมาใช้ในการบริหารการพยาบาลหลายประการ เช่น การแบ่งงานกันตามความชำนาญ  จะเห็นว่าการบริหารการพยาบาลในโรงพยาบาลใหญ่ๆ จะแบ่งผู้ป่วยออกเป็นหอผู้ป่วยที่เฉพาะทาง และกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารการพยาบาลชัดเจน
                                                2) Luther Gulick and Lyndall Urwick  ได้เพิ่มกระบวนการบริหารของ Fayol เป็น 7 ประการ รู้จักกันดี ใน POSCoRB  ได้แก่
·        การวางแผน(Planning)
·        การจัดองค์กร (Organizing)
·        การจัดบุคลากร (Staffing)
·        การอำนวยการ (Directing)
·        การประสานงาน ( Coordinating)
·        การบันทึกรายงาน ( Reporting)
·        งบประมาณ (Budgeting)
                                5.1.3 ทฤษฎีระบบราชการ ( Bureaucracy)   นักทฤษฎีคือ  Max Weber   เป็นทฤษีที่เสนอแนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างขององค์กร เน้นการมีเหตุผลเป็นสำคัญ  การใช้อำนาจในสังคมทั้งแง่เศรษฐกิจและการเมืองจึงศึกษาและสร้างแนวทางการดำเนินงานการบริหารแบบระบบร่าชการซึ่งมีลักษณะสำคัญ 7 ประการ
·        มีการแบ่งงานกันทำตามความรู้ความสามารถ
·        จัดระบบตำแหน่งหน้าที่ตามสายบังคับบัญชาระดับสูงมายังระดับต่ำ
·        มีการกำหนดระเบียบข้อบังคับ กฎเกณฑ์ต่างๆ
·        บุคลากรทำหน้าที่ที่กำหนดไว้อย่างเป็นทางการ ต้องอยู่ภายใต้กฏระเบียบ
·        การจ้างงานใช้หลักคุณสมบัติทางวิชาชีพ
·        มีความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ อาชีพมั่นคง
·        มีอำนาจหน้าที่ตามตำแหน่ง ดดยมีระเบียบรองรับ
                                ปัจจุบันการบริหารการพยาบาลยังคงมีสายบังคับบัญชาจากระดับสูงมาต่ำ  ทำให้เกิดการปฏิบัติงานล่าช้า หลายขั้นตอน  เน้นในกฎระเบียบแบบแผน ทำให้บุคลากรพยาบาลไม่ค่อยริเริ่มสร้างสรรค์

5.2 ทฤษฎีบริหารโดยใช้พฤติกรรมศาสตร์ (Behavior Theory) 
            เน้นลักษณะผลกระทบต่อพฤติกรรมของคนในองค์กร บางคนเรียกว่า เป็นการบริหารงานตามแนวมนุษย
สัมพันธ์ ซึ่งมีแนวคิดจากนักวิชาการ ดังนี้
                                5.2.1  Elton Mayo พบว่าวิธากการทดลองของประสิทธิภาพในการทำงานสามารถทำได้โดยผู้บริหารต้องทุ่มเทสนใจปัญหาและความต้องการของมนุษย์ ซึ่งสรุปเป็นแนวคิดจากการทดลองของ Hawthone ดังนี้
·        บุคคลจะปฏิบัติงานได้ดีขึ้นหากปฏิบัติต่อเขาเหมือนมนุษย์
·        ปริมาณการทำงานของบุคลากรไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถทางกายภาพอย่างเดียว หากขึ้นยู่กับความสามารถทางสังคมด้วย
·        บำเหน็จรางวัลทางจิตใจ มีผลต่อการทำงานมากกว่าบำเหน็จทางทรัพย์อย่างเดียว
·        การแบ่งแยกกการทำงานตามลักษณะเฉพาะของงานมิได้เป็นหลักประกันว่าจะอำนวยผลประโยชน์สูงสุดในการทำงานเสมอไปแต่มีปัจจัยอื่นๆ อีกมาก
·        บุคลากรไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการจัดการทางสังคมหรือ บำเหน็จรางวัลมากนัก หากแต่ตอบสนองในลักษณะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม
·        การที่บุคลากรได้มีความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการบ้างจะเป็นผลการปฏิบัติงานที่ทำให้เกิดความจงรักภักดีและเป็น้ำหนึ่งใจเดียวกัน
                                5.2.2  Douglas Mc Gregor เจ้าของทฤษี และ ได้วางหลักสมมติฐานเกี่ยวกับคนเป็น 2 แนวตรงกันข้าม ดังนี้
·        สมมติฐานทฤษฎี X
1) คนส่วนใหญ่จะขี้เกียจ ไม่ชอบการทำงาน มักเลี่ยงงาน
2) บุคคลโดยเฉลี่ยต้องถูกบังคับ ควบคุม สั่งการจึงจะทำงาน
3) คนส่วนใหญ่มักไม่มีความพยายามและความรับผิดชอบ
4) คนส่วนใหญ่ชอบจะมีการชี้นำ เพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบมีความทะเยอทะยานน้อย
·        สมมติฐานทฤษฎี Y
1) โดยพื้นฐานของคนพร้อมที่จะให้ความร่วมมือสนับสนุน
2) คนโดยทั่วไป มีความขยันหมั่นเพียรและมีความรับผิดชอบ
3) คนโดยพื้นฐานมีความคิดริเริ่มด้วยตนเองถ้าได้รับแรงจูงใจที่ถูกต้อง
                                            4) คนโดยทั่วไปพื้นฐานจะพยายามพัฒนาตนเองและวิธีการทำงานอยู่เสมอ
                5.2.3  William G. Quchi เป็นแนวคิดการบริหารงานแบบญี่ปุ่น  โดยอเมริกานำมาประยุกต์เป็นรูปแบบ วิธีการทำงานแบบกลุ่มคุณภาพ ดดยให้แนวคิดว่าการบริหารจะให้ผลดีกว่า ถ้าให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการตัดสินใจบริหาร นั่นคือให้ความสำคัญกับกลุมคน ไม่ใช่ตัวบุคคล  แนวคิดนี้เรียกว่า ทฤษฎีแนวคิดนี้เชื่อว่า
·        ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่มุ่งแสวงหาความสัมพีนธ์ใกล้ชิดระหว่างกัน
·        ผู้ปฏิบัติงานจะขาดความคุ้นเคยกันเพราะสภาพแวดล้อมของงานที่จัดวัทำให้เกิดช่องว่างของความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกโดยไม่จำเป็น
·        ผู้ปฏิบัติงานต่างมีจิตสำนึกที่ดีด้านความผูกพันทางใจ ความรัก ความสามัคคีอยู่แล้ว
·        ผู้ปฏิบัติงานสามารถไว้วางใจได้ ดดยทำงานไม่บกพร่อง ผู้บริหารเพียงแต่เอาใจใส่ ดูแลสวัสดิภาพความเป็นอยู่ให้ดีเท่านั้น
                                ดังนั้นคุณลักษณะขององค์กรจึงประกอบไปด้วยการจ้างงานตลอดชีพ การประเมินผลบุคลากรนานๆครั้ง การแบ่งงานกันทำ ไม่แยกชำนาญเฉพาะ  การควบคุมโดยทางอ้อม การตัดสินเป็นกลุ่ม และการรีวมกันรับผิดชอบโดยที่การเสี่ยงจะถูกกระทบไปยังสมาชิกทุกคน

5.3 ทฤษฎีบริหารเชิงปริมาณ ( Quality Theory)
                                เป็นทฤษฎิที่นำเอาเทคนิคคณิตศาสตร์ และวิธีการเชิงสถิติเพื่อช่วยในการแก้ปัญหา มีแนวคิดที่สำคํญ 3 แนวคิด ดังนี้
                                5.3.1 การบริหารศาสตร์ (Management Science) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร ในการบริหารการพยาบาลจะใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Operational Research)เพื่อศึกษาสภาพความเป็นจริงแล้วนำผลการวิจัยมาบริหารจัดการ
                                5.3.2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System  :  MIS )      เน้นการออกแบบและนำเอาข้อมูลสารสนเทศโดยอาศัยคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหาร (Computer Based Information System  : CBISs) จะผลิตข้อมูลแลพสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารทุกระดับอย่างกว้างขวางและแพร่หลาย





ภาพที่ 4  การจัดการต่อข้อมูลทางการพยาบาล

                                5.3.3 การจัดการปฏิบัติการ  (Operations Management) เป็นทฤษฎีใหม่ที่พัมนามาจากทฤษฎีการจัดการ เน้นการใช้แนวทางปริมาณช่วยในการตัดสินใจ ทั้งนี้เพราะฝ่ายจัดการซึ่งมีความจำเป็นต้องมีข้อมูลข่าวสารมากขึ้นและข้อมูลต้องมีคุณภาพดี ให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตและการให้บริการองค์การให้มีประสิทธิภาพ เช่น การกำหนดตารางทำงาน  การวางแผนการผลิต  การออกแบบสถานที่ ตลอดจนการประกันคุณภาพ

5.4 ทฤษฎีบริหารร่วมสมัย (Contemporary Theory)
                                แนวคิดในการบริหารยุคนี้ นักวิชาการเชื่อว่า การบริหารงานจะประสบผลสำเร็จถ้าคนในหน่วยงานร่วมือร่วมใจ  สามัคคีกัน มุ่งสู่วัตถุประสงค์เดียวกัน เรียกว่าการทำงานเป็นกลุ่ม หรือเป็นทีม และงานเหล่านั้นต้องเป็นระบบ แนวคิดทฤษฎีนี้มีดังนี้
                                5.4.1 ทฤษฎีระบบ (System Theory) ทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมีความเกี่ยวข้องกัน ระบบหนึ่งย่อมประกอบด้วยหน่วยย่อยอื่นๆ ซึ่งองค์ประกอบพื้นฐานของระบบในการบริหารองค์กรประกอบด้วย สิ่งนำเข้า ซึ่งคือ ทรัพยากรต่างๆ เช่น คน วัสดุอุปกรณ์   เงิน ข้อมูลข่าวสาร กระบวนการ เป็นความสามารถในการบริหารเทคโนโลยี  เช่นการวางแผน การจัดองค์การ  การควบคุม  ส่วนสิ่งนำออก (Out put) ประกอบด้วย ผลการให้บริการ หรือผลลัพธ์อื่นๆ ที่องค์กรจัดขึ้น  และ องค์ประกอบสุดท้ายคือ ข้อมูลย้อนกลับ (Feed back) เกี่ยวกับผลการให้บริการและสถานะขององค์การที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม  และนักทฤษฏีที่ใช้ คือ Herbert G. Hicks ดังแสดงในภาพที่ 5 

ภาพที่ 5 หลักการบริหารตามทฤษฎีเชิงระบบ
           
                                5.4.2 ทฤษฎีบริหารตามสถานการณ์     แนวคิดนี้มุ่งเน้นว่าในทางปกิบัติไม่มีวิธีบริหารใดที่ดีที่สุด (no one the best way) ที่จะใช้ได้ทุกการบริหาร ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของสถานการณ์นั้นๆ   วิธีการบริหารไม่ตายตัว ใช้เทคนิคบริหารแบบผสมผสาน
                                5.4.3 การบริหารงานแบบเน้นวัตถุประสงค์ (Management by objective: MBO) พัฒนาโดย Peter Drucker, 1983)  ซึ่งให้คำนิยามแนวคิดนี้ว่าการบริหารใช้หลักการของการบริหารที่จัดให้แต่ละบุคคลได้ทำงานและมีความรับผิดชอบต็มที่ มีทิศทางในการทำงานที่ชัดเจน มีการทำงานเป็นทีม ซึ่งจะทำให้เกิดการประสานระหว่างวัตถุประสงค์ของบุคคลและวัตถุประสงค์ขององค์กรเป็นไปได้ด้วยดี โดยคำนึงถึงหลักการ ดังนี้
·        การมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน (Objective)
·        การมีส่วนร่วม (Participation)
·        การมีข้อมุลย้อนกลับ (Feedback)
·        การกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจน (Time Schedule)
                การประยุกต์ใช้ในการบริหารการพยาบาลโดยผู้บริหารต้องมีแนวคิกที่ชัดเจนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ และภารกิจของหน่วยงาน และต้องจัดให้มีการประเมินผลอย่างต่อเนื่องและจริงจัง โดยอาศัยวัตถุประสงค์เป็นมาตรฐานที่เป็นไปได้และมีคุณค่าต่อหน่วยงาน
                5.5 ทฤษฎีบริหารที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Theory)   การบริหารยุคใหม่ให้ความหมายกับคำว่า คุณภาพ (Quality) เข้ามามีบทบาทสำคัญ ผู้บริหารยุคใหม่ต้องให้ความสำคัญกับแนวคิดนี้ การบริหารองค์กรต้องปรับตัวตามสถานการณ์ใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้การบริหารแนวใหม่ คือ
                                5.5.1  การวางแผนองค์กร (Corporate planning) คือการวางแผนกลยุทธ์ที่สามารถปรับตัวด้านแผนงานอย่างมีประสิทธิภาพ
                                5.5.2 การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร (Corporate culture) เป็นแนวคิดทางการบริหารสมัยใหม่ที่เสริมสร้างประเพณีปฏิบัติและค่านิยมสำหรับทุกฝ่ายในองค์กร เพื่อเป็นเครื่องยึดมั่นและเป็นแนวทางให้ทุกฝ่ายปฏิบัติ
                รูปแบบการบริหารแบบนี้ ได้แก่ ทฤษฎี 7’s ซึ่งพัฒนาโดย Mc Kinsey เป็นกลยุทธ์การบริหารที่ช่วยให้เกิดความสำเร็จในองค์กรสูง ชี้ให้เห็นความสำคัญของคนอันเป็นปัจจัยพื้นฐานการสร้างวัฒนธรรมในองค์กร แบ่งเป็นองค์ประกอบ 7 ประการ 2 ปัจจัย ดังนี้
                ปัจจัยที่ 1 Hard Ss เป็นอุปกรณ์แห่งความสำเร็จ ได้แก่
                       1)  โครงสร้าง (Structure) หมายถึงการจัดระเบียบองค์กรที่เหมาะสม มีการแบ่งงาน รูปแบบง่ายไม่ซับซ้อน
                       2)  กลยุทธ์ (Strategy) หมายถึง แผนวิธีการดำเนินงานขององค์กร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร
                       3) ระบบ (System) หมายถึง วิธีการดำเนินงานขององค์กร ระเบียบวิธีปฏิบัติงาน
       ปัจจัยที่ 2  Soft  Ss   ส่วนเนื้อหาแห่งความสำเร็๗แห่งความสำเร็จ ได้แก่
                       1) แบบการบริหาร (Style) หมายถึง ลักษณะพฤติกรรมผู้บริหารในองค์กรที่รู้งานและทำงานอย่างจริงจัง
                       2) บุคลากร (Staff) หมายถึงคุณลักษณะของบุคลากร หน่วยงานที่ประสบความสำเร็จจะต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานในองค์กร
                       3) ทักษะ (skills)  หมายถึง ความสามารถเด่นของผู้บริหารในองค์กรที่มีความเข้มงวด และผ่อนปรนอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง
                       4) ค่านิยมร่วม (Shared values) หรือเป้าหมายสูงสุด  หมายถึง ผลรวมของค่านิยมส่วนบุคคลที่มีความเชื่อมั่นในศักยภาพขององค์ตนเองร่วมกัน
                       นั่นคือ องค์กรใดจะประสบผลสำเร็จในการบริหารงานต้องหลอมให้ปัจจัย 7’s ที่มีการเลือกแล้วเป็นมาตรฐานและยึดมั่นเป็นเครื่องมือในการทำงานของตนด้วยความสมัครใจ ดังภาพที่ 6
 



ภาพที่ 6 ความสัมพันธ์ของปัจจัยทั้ง 7
               
                               
                5.6 ทฤษฎีทัศนะเชิงคุณภาพ เน้น  การบริหารคุณภาพทั้งองค์กร ( T.Q.M : Total Quality Management)  เป็นแนวคิดการบริหารที่ยึดคุณภาพเป็นหัวใจของทุกเรื่อง  โดย มีหลักการยึดลูกค้าเป็นสำคัญ ( Customer Focus)  ปรับปรุงกระบวนการ ( Process Improvement) มีส่วนร่วมทั้งองค์กร ( Total Improvement)
                5.7 การบริหารเชิงพุทธ  องค์ความรู้การบริหารเชิงพุทธนี้ มักถูกนำเสนอในเชิงหลักกการเกี่ยวกับคน ( People Management) เช่น ผู้บริหารกับทศพิธราชธรรม และพรหมวิหารสี่ (เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา)  สำหรับด้านการวางแผนงานนั้นพระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ใน สัปปุริสธรรม 7 ประการ ( รู้หลักการ  รู้จุดหมาย  รู้ตน  รู้ประมาณ รู้กาล  รู้ชุมชน รู้บุคคล) (อมร สุวรรณนิมิตร , 2553)

6. แนวคิดการดูแลเพื่อเพื่อนมนุษย์ (Humanization)
www.korathealth.com/korathealth/news/news.php?action=dlattach (นพ.นิวัฒน์ชัย  นามวิชัยศิริกุล)
แนวคิดที่ประกอบรวมเป็นแนวคิดการดูแลเพื่อเพื่อนมนุษย์ (Humanization)
                1. แนวคิดองค์รวม (Holistic care)
                2. แนวคิดการเห็นอกเห็นใจกัน(Empathy)
                3. แนวคิด/ค่านิยมสำหรับ Humanized health care
         ลดอัตตาทำตัวให้เล็กลง
         รู้จักให้อภัยตนเอง/ผู้อื่นและรู้จักขอโทษผู้อื่นก่อนเสมอ
         เน้นเริ่มที่ใจและรู้จักการให้/สุขที่ได้เป็นผู้ให้
         เน้นชื่นชมการทำความดีมองเห็นความงามการทำให้เกิดความสุข
         การกำหนดความกว้างและความลึกของชีวิต
         การสร้างและขยายเมล็ดพันธ์แห่งความดี
4.แนวคิดเรื่องระดับการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญา (Spiritual Health Development ,SpD)

เอกสารอ้างอิง
บุญใจ  ศรีสถิตย์นรากูร. (2551). ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์การพยาบาลในศตวรราที่ 21 กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์         มหาวิทยาลัย
นิตยา  ศรีญาณลักษณ์. (2545). การบริหารการพยาบาล. กรุงเทพ : ประชุมช่าง จำกัด.
พวงทิพย์  ชัยพิบาลสฤษดิ์. (2551). คุณภาพการบริหารการพยาบาล. กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อมร สุวรรณนิมิตร. (2553) . การบริหารหารการพยาบาล. มหาสารคาม หจก. อภิชาติการพิมพ์.

ไม่มีความคิดเห็น:

รายการบล็อกของฉัน