แนวคิด หลักการ และวิธีการสื่อสาร(1)
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
นักศึกษาสามารถบอก
1)
ความหมายของการสื่อสาร
2)
องค์ประกอบของการสื่อสาร
การสื่อสาร
ชีวิตเป็นเรื่องของการเรียนรู้และสิ่งหนึ่งที่สำคัญและต้องมีการเรียนรู้คือ
ความสัมพันธ์ หรือ มนุษยสัมพันธ์
เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มักเป็นบทเรียนของกันและกัน
ถ้าไม่ใส่ใจเรียนรู้ซึ่งกันและกันก็จะอยู่ในโลกนี้ด้วยความยากลำบาก
เพราะชีวิตจะมีคุณค่าและรู้สึกมีความสุขเมื่อได้แสดงออกอย่างที่รู้สึก
มีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวและสิ่งใหม่ๆตามที่เราต้องการ
ดังนั้นความสำเร็จของมนุษย์ในการดำรงชีวิตทั่วไป
จึงมักมีข้อกำหนดไว้อย่างกว้างๆว่า
เราจะต้องเข้ากับคนที่เราติดต่อด้วยให้ได้ และต้องเข้าให้ได้ดี
ด้วยการเรียนรู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์ร่วมกัน
โดยอาศัยวิธีการสื่อสารและหลักจิตวิทยา
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์โดยทั่วไปมักถูกมองว่าเป็นเรื่องของศิลปะ(Arts)
มากกว่าศาสตร์(Science)
ซึ่งก็หมายความว่า
การเรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคลแต่เพียงอย่างเดียว
โดยขาดศาสตร์ของการสื่อสาร
ย่อมขาดศิลปะในการนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงให้ประสบความสำเร็จได้
ความหมายของการสื่อสาร
ได้มีนักวิชาการหลายท่านให้ความหมายของการสื่อสารไว้ในหลายแง่มุม เช่น
จอร์จ
เอ มิลเลอร์ : เป็นการถ่ายทอดข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
จอร์จ
เกิร์บเนอร์ : เป็นการแสดงกริยาสัมพันธ์ทางสังคมโดยใช้สัญลักษณ์และระบบสาร
วิลเบอร์
ชแรมส์ : เป็นการมีความเข้าใจร่วมกันต่อเครื่องหมายที่แสดงข่าวสาร
ซึ่งสามารถสรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆคือ
การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารจากบุคคลฝ่ายหนึ่งที่เรียกว่าผู้ส่งสารไปยังยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งที่เรียกว่าผู้รับสารโดยผ่านช่องทางในการสื่อสารโดยมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
ผู้ส่งสาร(Sender) สาร(Message) ช่องทาง(Channel) และตัวผู้รับสาร(Receiver)
ซึ่งมักเรียกกันว่า SMCR
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
การสื่อสารในชีวิตของแต่ละบุคคลนั้นล้วนมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป และส่งผลต่อการดำเนินชีวิตได้คือ
ทำให้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ทำให้ทราบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
สร้างความสัมพันธ์ทางสังคม ทำให้เกิดการแสดงออก ทำให้เกิดการพักผ่อนหย่อนใจ
ทำให้เกิดการเรียนรู้
ทำให้เกิดกำลังใจ(หาภาพประกอบแต่ละประเภท)
องค์ประกอบการสื่อสารของการสื่อสาร
ตามองค์ประกอบของการสื่อสาร
ทำให้เห็นว่ามีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการสื่อสารได้
ดังนั้นจึงควรต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบต่างเพื่อช่วยในการวางแผนการสื่อสาร
โดยสามารถศึกษาได้จากแบบจำลองการสื่อสารของเบอร์โล
ผู้ส่งสาร
และผู้รับสาร (Sender
and Receiver)ในตัวผู้ส่งสารและผู้รับสารเองก็มีองค์ประกอบที่สามารถช่วยให้การสื่อสารประสบความสำเร็จได้
อันได้แก่ ทักษะในการสื่อสาร(Communication skill) อันประกอบด้วยการพูด
การฟัง การอ่าน การเขียนและยังรวมถึงการแสดงออกทางท่าทางและกริยาต่าง
เช่นการใช้สายตา การยิ้ม ท่าทางประกอบ และสัญลักษณ์ต่าง การฝึกฝนทักษะการสื่อสาร และรู้จักเลือกใช้ทักษะจะช่วยส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการสื่อสารได้ทางหนึ่ง
ถัดมาก็คือทัศนคติ(Attitude)
การมีที่ดีทัศนคติที่ดีต่อการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นต่อตนเอง
ต่อเรื่องที่ทำการสื่อสาร หรือแม้กระทั่งต่อช่องทางและตัวผู้รับสาร
และในทางกลับกันทัศนคติของผู้รับสารที่มีต่อองค์ประกอบต่างๆก็สามารทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพได้
ในทางตรงกันข้ามหากว่ามีทัศนคติที่ไม่ดีแล้วก็ย่อมทำให้เกิดความล้มเหลวได้เช่นกัน นอกจากนี้ความรู้(Knowledge)ของตัวผู้ส่งสารและผู้รับสารเองก็มีผลต่อการสื่อสาร
ทั้งความรู้ในเนื้อหาที่จะสื่อสาร
ถ้าไม่รู้จริงก็ไม่สามารถสื่อสารให้ชัดเจนหรือทำให้ผู้รับสารเข้าใจได้
ผู้รับสารเองหากขาดความรู้ก็ไม่สามารถทำความเข้าใจตัวสารได้ อีกด้านหนึ่งก็คือความรู้ในกระบวนการสื่อสาร ถ้าไม่รู้ในส่วนนี้ก็ไม่สามารถวางแผนทำการสื่อสารให้สำเร็จได้เช่นกัน
ในด้านสุดท้ายก็คือ สถานภาพทางสังคมและวัฒนธรรม(Social and Culture) สถานภาพของตัวเองในสังคมเช่นตำแหน่งหรือหน้าที่การงาน
จะมามีส่วนกำหนดเนื้อหาและวิธีการในการสื่อสาร ด้านวัฒนธรรมความเชื่อ ค่านิยม
วิถีทางในการดำเนินชีวิตก็จะมีส่วนในการกำหนดทัศนคติ ระบบความคิด ภาษา
การแสดงออกในการสื่อสารด้วยเช่นกัน
เช่นสังคมและวัฒนธรรมของเอเชียและยุโรปทำให้มีรูปแบบการสื่อสารที่ต่างกัน
หรือแม้กระทั่งสังคมเมืองกับสังคมชนบทก็มีความแตกต่างกัน
สาร (Message)
ตัวสารก็คือ เนื้อหา ข้อมูล หรือความคิดที่ถูกถ่ายทอดไปยังผู้รับสาร
ซึ่งก็จะมีองค์ประกอบอยู่คือการเข้ารหัส(Code) จะเป็นกลุ่มของสัญลักษณ์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้สื่อความหมาย เนื้อหา (Content) ก็คือเนื้อหาสาระที่ถูกถ่ายทอดไปยังผู้รับสาร และอีกส่วนหนึ่งก็คือ การจัดสาร(Treatment)
เป็นการเรียบเรียงรหัส และเนื้อหาให้ถูกต้อง เหมาะสม ได้ใจความ
ช่องทาง (Channel)
ช่องทางและสื่อจะเป็นตัวเชื่อมผู้ส่งสารและผู้รับสารเข้าด้วยกัน การเลือกใช้สื่อสามารถเป็นตัวลดหรืเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารได้
ในการเลือกสื่อต้องพิจารณาถึงความสามารของสื่อในการนำสารไปสู่ประสาทสัมผัสหรือช่องทางในการรับสาร
ซึ่งก็ได้แก่ การเห็น การได้ยิน การสัมผัส การได้กลิ่น การลิ้มรส
ดังนั้นองค์ประกอบของการสื่อความหมายพอสรุปได้ว่า
ผู้ส่ง อาจเป็นเพียง 1 คน
หรือกลุ่มคนก็ได้ ซึ่งเป็นผู้นำเรื่องราวข่าวสาร เพื่อส่งไปยังผู้รับ โดยวิธีการใดวิธีการหนึ่งในการเข้ารหัสเพื่อให้ผู้ รับเข้าใจ สาร
เนื้อหาของสารหรือสาระของเรื่องราวที่ส่งออกมา
สื่อหรือช่องทางในการนำสาร
ได้แก่ ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดเหตุการณ์ บทเรียน ที่ผู้ส่งต้องการให้
ไปถึงผู้รับ
สื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดอาจเป็นภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษามือ และภาษากายก็ได้
ผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย
ได้แก่ ผู้รับข่าวสารเรื่องราวต่างๆจากผู้ส่ง
ผล
ได้แก่ การรับรู้ข่าวสารของผู้รับ
ซึ่งผู้รับจะเข้าใจข่าวสารมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสิ่งที่ใช้ในสถานการณ์และทัศนคติของผู้รับในขณะนั้น
ข้อมูลย้อนกลับ
ได้แก่ การแสดงกิริยาตอบสนองของผู้รับต่อข้อมูลข่าวสารให้ผู้ส่งรับรู้การสื่อความหมาย
จำแนกเป็น 3 ลักษณะ
1.วิธีการของการสื่อความหมาย วจนภาษา หมายถึง การสื่อความหมายโดยใช้ ภาษาพูด อวจนภาษา หมายถึง การสื่อความหมายโดยใช้ภาษากาย ภาษาเขียน และภาษามือ การเห็นหรือการใช้จักษุสัมผัส หมายถึง การสื่อความหมายโดยใช้ภาษาภาพ 2. รูปแบบการสื่อความหมายการสื่อความหมายทางเดียว เช่น การสอนโดยใช้สื่อทางไกลระบบออนไลน์การสื่อความหมายสองทาง เช่น การคุย MSN การคุยโทรศัพท์ การเรียนการสอนในชั้นเรียน 3. ประเภทของการสื่อความหมายการสื่อความหมายในตนเอง เช่น การเขียน การค้นคว้า การอ่านหนังสือการสื่อความหมายระหว่างบุคคล เช่น การคุยโทรศัพท์ การคุย MSNการสื่อความหมายกับกลุ่มชน เช่น ครูสอนนักเรียน การบรรยายของวิทยากรกับผู้เข้าอบรมการสื่อความหมายกับมวลชน เช่น การแถลงข่าวทางวิทยุ โทรทัศน์การเรียนรู้กับการสื่อความหมายความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีและหลักการของการสื่อความหมาย ที่ประกอบด้วยผู้ให้ความรู้(ผู้ส่ง) เนื้อหาวิชา(สาร) ผู้เรียน(ผู้รับ)
1. การสื่อสารด้วยวาจา หรือ "วจภาษา" (Oral Communication) เช่น การพูด การร้องเพลง เป็นต้น
1. การสื่อสารทางเดียว (One - Way Communication) เป็นการส่งข่าวสารหรือการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ผู้รับไม่สามารถมีการตอบสนองในทันที (immediate response) ให้ผู้ส่งทราบได้ แต่อาจจะมีปฏิกิริยาสนองกลับ (feedback) ไปยังผู้ส่งภายหลังได้ การสื่อสารในรูปแบบนี้จึงเป็นการที่ผู้รับไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ทันที จึงมักเป็นการสื่อสารโดยอาศัยสื่อมวลชน เช่น การฟังวิทยุ หรือการชมโทรทัศน์ เหล่านี้เป็นต้น
1.1 พูดไม่ชัดเจนข้อความและคำพูดไม่ได้ใจความ
1.2 พูดเร็วเบาเกินไป
1.3 อารมณ์และคำพูดไม่เหมาะสม
1.4 เสียงอื่นๆรบกวน
1.5 ภาษาที่ใช้ต่างกัน ฯลฯ
2.1 ไม่ตั้งใจฟัง
2.2 มีเสียงรบกวน
2.3 มีการขัดจังหวะเวลาพูดหรือส่งข้อความ
2.4 ความพิการทางประสาทรับความรู้สึกต่างๆ
2.5 ปัญหาทางด้านอารมณ์และมีเจตคติไม่ดีต่อผู้ส่ง ฯลฯ
3.1 ยาวเกินไป
3.2 สั้นเกินไปไม่ได้ความตัวหนังสืออ่านไม่ออก
3.3 ภาษาต่างกัน
3.4 เนื้อหาถูกถ่ายทอดหลายขั้น
3.5 ช่องทางการส่งเนื้อหาถูกตัด ฯลฯ
1.วิธีการของการสื่อความหมาย วจนภาษา หมายถึง การสื่อความหมายโดยใช้ ภาษาพูด อวจนภาษา หมายถึง การสื่อความหมายโดยใช้ภาษากาย ภาษาเขียน และภาษามือ การเห็นหรือการใช้จักษุสัมผัส หมายถึง การสื่อความหมายโดยใช้ภาษาภาพ 2. รูปแบบการสื่อความหมายการสื่อความหมายทางเดียว เช่น การสอนโดยใช้สื่อทางไกลระบบออนไลน์การสื่อความหมายสองทาง เช่น การคุย MSN การคุยโทรศัพท์ การเรียนการสอนในชั้นเรียน 3. ประเภทของการสื่อความหมายการสื่อความหมายในตนเอง เช่น การเขียน การค้นคว้า การอ่านหนังสือการสื่อความหมายระหว่างบุคคล เช่น การคุยโทรศัพท์ การคุย MSNการสื่อความหมายกับกลุ่มชน เช่น ครูสอนนักเรียน การบรรยายของวิทยากรกับผู้เข้าอบรมการสื่อความหมายกับมวลชน เช่น การแถลงข่าวทางวิทยุ โทรทัศน์การเรียนรู้กับการสื่อความหมายความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีและหลักการของการสื่อความหมาย ที่ประกอบด้วยผู้ให้ความรู้(ผู้ส่ง) เนื้อหาวิชา(สาร) ผู้เรียน(ผู้รับ)
1. การสื่อสารด้วยวาจา หรือ "วจภาษา" (Oral Communication) เช่น การพูด การร้องเพลง เป็นต้น
1. การสื่อสารทางเดียว (One - Way Communication) เป็นการส่งข่าวสารหรือการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ผู้รับไม่สามารถมีการตอบสนองในทันที (immediate response) ให้ผู้ส่งทราบได้ แต่อาจจะมีปฏิกิริยาสนองกลับ (feedback) ไปยังผู้ส่งภายหลังได้ การสื่อสารในรูปแบบนี้จึงเป็นการที่ผู้รับไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ทันที จึงมักเป็นการสื่อสารโดยอาศัยสื่อมวลชน เช่น การฟังวิทยุ หรือการชมโทรทัศน์ เหล่านี้เป็นต้น
1.1 พูดไม่ชัดเจนข้อความและคำพูดไม่ได้ใจความ
1.2 พูดเร็วเบาเกินไป
1.3 อารมณ์และคำพูดไม่เหมาะสม
1.4 เสียงอื่นๆรบกวน
1.5 ภาษาที่ใช้ต่างกัน ฯลฯ
2.1 ไม่ตั้งใจฟัง
2.2 มีเสียงรบกวน
2.3 มีการขัดจังหวะเวลาพูดหรือส่งข้อความ
2.4 ความพิการทางประสาทรับความรู้สึกต่างๆ
2.5 ปัญหาทางด้านอารมณ์และมีเจตคติไม่ดีต่อผู้ส่ง ฯลฯ
3.1 ยาวเกินไป
3.2 สั้นเกินไปไม่ได้ความตัวหนังสืออ่านไม่ออก
3.3 ภาษาต่างกัน
3.4 เนื้อหาถูกถ่ายทอดหลายขั้น
3.5 ช่องทางการส่งเนื้อหาถูกตัด ฯลฯ
วิธีการการสื่อสาร
วิธีการการสื่อสาร แบ่งออกได้ 3 วิธี คือ
2.
การสื่อสารที่มิใช่วาจา หรือ "อวจนภาษา" (Nonverbal
Communication) และการสื่อสารด้วยภาษาเขียน (Written
Communication) เช่น การสื่อสารด้วยท่าทาง ภาษามือและตัวหนังสือ
เป็นต้น
3. การสื่อสารด้วยการใช้จักษุสัมผัสหรือการเห็น (Visual
Communication) เช่น การสื่อสารด้วยภาพ โปสเตอร์ สไลด์ เป็นต้น
หรือโดยการใช้สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น ลูกศรชี้ทางเดิน เป็นต้น
รูปแบบของการสื่อสาร
รูปแบบของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
2. การสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) เป็นการสื่อสารหรือการสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที
โดยที่ผู้ส่งและผู้รับอาจจะอยู่ต่อหน้ากันหรืออาจอยู่คนละสถานที่ก็ได้
แต่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถมีการเจรจาหรือการโต้ตอบกันไปมา
โดยที่ต่างฝ่ายต่างผลัดกันทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกัน เช่น
การพูดโทรศัพท์ การประชุม เป็นต้น
ประเภทของการสื่อสาร
การสื่อสารภายในบุคคล(Intrapersonal
Communication) การคิดหรือจินตนาการกับตัวเอง
เป็นการคิดไตร่ตรองกับตัวเอง ก่อนที่จะมีการสื่อสาร ประเภทอื่นต่อไป
การสื่อสารระหว่างบุคคล(Interpersonal
Communication) การที่บุคคลตั้งแต่
2 คนขึ้นไปมาทำการสื่อสารกันอย่างมีวัตถุประสงค์
เช่นการพูดคุย ปรึกษาหารือในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
การสื่อสารกลุ่มย่อย(Small-group)
Communication) การสื่อสารที่มีบุคคลร่วมกันทำการสื่อสารเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันแต่จำนวนไม่เกิน
25 คน เช่นชั้นเรียนขนาดเล็ก ห้องประชุมขนาดเล็ก
การสื่อสารกลุ่มใหญ่(Large-group
Communication) การสื่อสารระหว่างคนจำนวนมาก
เช่นภายในห้องประชุมใหญ่ โรงภาพยนตร์ โรงละคร ชั้นเรียนขนาดใหญ่
การสื่อสารในองค์กร(Organization
Communication)
การสื่อสารระหว่างสมาชิกภายในหน่วยงาน เพื่อปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วง
เช่นการสื่อสารระหว่าเพื่อนร่วมงาน เจ้านายกับลูกน้อง
การสื่อสารมวลชน (Mass
Communication)
การสื่อสารกับคนจำนวนมากในหลายๆพื้นที่พร้อมกัน โดยใช้สื่อมวลชน เช่น
หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุกระจายเสียง
วิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อกลาง
เหมาะสำหรับการส่งข่าวสารไปยังผู้คนจำนวนมากๆในเวลาเดียวกัน
การสื่อสารระหว่างประเทศc(International
Communication)
การสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีความแตกต่างกันใน เชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม
การเมืองและสังคม เช่การสื่อสารทางการทูต การสื่อสารเจรจาต่อรองเพื่อการทำธุรกิจ
ปัญหาของการสื่อสาร
การสื่อสารจะได้ผลดีที่สุดก็ต่อเมื่อผู้รับสามารถเข้าใจตรงกับที่ผู้ส่งต้องการ (ผลที่ได้ตรงกับจุดมุ่งหมาย)
แต่ในกระบวนการสื่อความหมายนั้นจะต้องมีอุปสรรคเกิดขึ้นเสมอ และอุปสรรคเหล่านี้เองที่ทำให้ผลของการสื่อความหมายผิดพลาดไปจากเป้าหมายที่ผู้ส่งต้องการ
ดังนั้นปัญหาของการสื่อความหมายก็เกิดขึ้นเนื่องจากอุปสรรคต่าง ๆ นั่นเอง
ในที่นี้จะพิจารณาเฉพาะปัญหาที่สำคัญที่เกิดขึ้นเฉพาะในด้านผู้ส่งสาร
ผู้รับสารและทางด้านเนื้อหาเท่านั้นคือ
1.ปัญหาทางด้านผู้ส่งสาร เช่น
1.1พูดไม่ชัดเจนข้อความและคำพูดไม่ได้ใจความ
1.1พูดไม่ชัดเจนข้อความและคำพูดไม่ได้ใจความ
1.2 พูดเร็วเบาเกินไป
1.3 อารมณ์และคำพูดไม่เหมาะสม
1.4 เสียงอื่นๆรบกวน
1.5 ภาษาที่ใช้ต่างกัน ฯลฯ
1.3 อารมณ์และคำพูดไม่เหมาะสม
1.4 เสียงอื่นๆรบกวน
1.5 ภาษาที่ใช้ต่างกัน ฯลฯ
2. ปัญหาทางด้านผู้รับสาร เช่น
2.1 ไม่ตั้งใจฟัง
2.1 ไม่ตั้งใจฟัง
2.2 มีเสียงรบกวน
2.3 มีการขัดจังหวะเวลาพูดหรือส่งข้อความ
2.4 ความพิการทางประสาทรับความรู้สึกต่างๆ
2.5 ปัญหาทางด้านอารมณ์และมีเจตคติไม่ดีต่อผู้ส่ง ฯลฯ
2.3 มีการขัดจังหวะเวลาพูดหรือส่งข้อความ
2.4 ความพิการทางประสาทรับความรู้สึกต่างๆ
2.5 ปัญหาทางด้านอารมณ์และมีเจตคติไม่ดีต่อผู้ส่ง ฯลฯ
3. ปัญหาทางด้านเนื้อหา เช่น
3.1 ยาวเกินไป
3.1 ยาวเกินไป
3.2 สั้นเกินไปไม่ได้ความตัวหนังสืออ่านไม่ออก
3.3 ภาษาต่างกัน
3.4 เนื้อหาถูกถ่ายทอดหลายขั้น
3.5 ช่องทางการส่งเนื้อหาถูกตัด ฯลฯ
3.3 ภาษาต่างกัน
3.4 เนื้อหาถูกถ่ายทอดหลายขั้น
3.5 ช่องทางการส่งเนื้อหาถูกตัด ฯลฯ
ที่มา : http://pkack2.blogspot.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น