ดุลยภาพผู้บริโภค (Consumers’ Equilibrium) หมายถึง สภาวการณ์ที่ผู้บริโภคได้รับความพอใจสูงสุดจากการบริโภคสินค้าหรือบริการจำนวนหนึ่งภายใต้งบประมาณที่มีอยู่จำกัด ดุลยภาพผู้บริโภคจะไม่เปลี่ยนแปลงถ้าปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไม่เปลี่ยนแปลง
ในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคจะมีการเปรียบเทียบอรรถประโยชน์เพิ่มที่ผู้บริโภคได้รับจากสินค้าแต่ละชนิด ในกรณีที่ราคาสินค้าไม่เท่ากันจะปรับค่าโดยการหารค่าอรรถประโยชน์เพิ่มของสินค้านั้นด้วยราคาของตัวมันเอง และจัดลำดับสินค้าที่ให้อรรถประโยชน์เพิ่มที่ปรับค่าแล้วจากมากไปหาน้อย ผู้บริโภคจะเลือกบริโภคสินค้าที่ให้ค่าอรรถประโยชน์เพิ่มมากที่สุดก่อนจนกระทั่งถึงหน่วยที่ให้ค่าอรรถประโยชน์เพิ่มที่ปรับค่าแล้วของสินค้าทุกชนิดเท่ากัน ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคได้รับความพอใจสูงสุดหรือเกิดดุลยภาพผู้บริโภค ดังนั้น เงื่อนไขดุลยภาพผู้บริโภคคือ
ในเมื่อ
MUA คือ อรรถประโยชน์เพิ่มของสินค้า A
PA คือ ราคาสินค้า A
MUB คือ อรรถประโยชน์เพิ่มของสินค้า B
PB คือ ราคาสินค้า B ฯลฯ
หากนำทฤษฎีอรรถประโยชน์ มาอธิบายสินค้าในงานบริการพยาบาลนั่นหมายถึง การบริการพยาบาลเมื่อผู้ใช้บริการได้มาใช้บริการในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ แล้วนั้น ไม่ว่างานบริการนั้นจะดีเลิศเพียงใด แต่ความพึงพอใจเมื่อถึงจุดสูงสุด แล้ว จะค่อย ๆ ลดลง เรื่อยๆ จึงเป็นสิ่งท้าทายสำหรับการบริการสุขภาพที่จะต้องค้นหา สำรวจความต้องการบริการที่ตรงความต้องการและได้ตามความคาดหวังของผู้ใช้บริการอยู่เสมอ
ทฤษฎีเส้นความพอใจเท่ากัน (Indifference curve Theory)
เส้นความพอใจเท่ากัน (Indifference Curve : IC) หมายถึง เส้นที่แสดงการบริโภคสินค้า 2 ชนิดในสัดส่วนที่แตกต่างกันแต่ได้รับความพอใจที่เท่ากันตลอดทั้งเส้น ไม่ว่าจะเลือกบริโภคที่จุดใดของเส้น มีแผนการบริโภคสินค้าอย่างไร ผู้บริโภคก็จะได้รับความพอใจที่เท่ากันทั้งเส้น เส้น IC ของผู้บริโภคคนหนึ่งๆ มีได้หลายเส้นเนื่องจากความพอใจของผู้บริโภคมีได้หลายระดับ แต่ละเส้นแทนความพอใจหนึ่งระดับ เส้น IC ที่แสดงความพอใจในระดับที่สูงกว่าจะอยู่ด้านขวามือของเส้นที่แสดงความพอใจในระดับที่ต่ำกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น