welcome for shared knowledge and experience





วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 5

5. ทฤษฎีความเสมอค่า (Equity Theory)
    Stacy  J. Adams ได้ศึกษากระบวนการเปรียบเทียบทางสังคม โดยประเมินถึงความสัมพันธ์ทางสังคมกับสิ่งที่คาดหวังจะได้รับผลตอบแทนว่า  " คุ้มค่ากับสิ่งที่ต้องลงทุนไปหรือไม่?"
    ดังนั้นทฤษฎีความเสมอค่า ตั้งอยู๋บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานที่ว่าคนได้รับมีความสัมพันธ์กับผลตอบแทนอย่างไร อะไรคือสิ่งที่คนงานได้รับจากงานหรือองค์การ สิ่งที่เขาได้ลงทุนไป (Input) คุ้มกับสิ่งที่ตอบแทนที่เขาได้รับจากงานและองค์การ(out come)อย่างไร?
     Stacy J. Adams : ได้อธิบายรายละเอียดของทฤษฎีความเสมอภาคไว้ดังนี้
           1. กระบวนการเปรียบเทียบ (Comparison Process) แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุน (inputs) กับสิ่งที่ได้รับการตอบแทนหรือผลลัพธ์ที่ได้ (Outcomes) โดยยึดเรื่องสังคม (Social) เป็นมาตรฐานมากกว่าที่จะกำหนดกฎเกณฑ์อะไรเป็นมาตรฐานเครื่องวัดที่แน่นอน เช่น การประเมินเปรียบเทียบถึงความสัมพันธ์ของผลลัพธ์ที่เขาได้รับกับผลลัพธ์ที่คนอื่นในสังคมได้รับว่ามีความมากน้อยต่างกันอย่างไร?
          2. สิ่งที่ได้ลงทุน  (Inputs) หมายถึงปัจจัยหรือองค์ประกอบของตัวบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการทำงานไม่ว่าจะเป็น ความพยายาม  ความตั้งใจ การอุทิศตนให้กับการปฏิบัติงาน  การศึกาา การใช้ทักษะ การใช้ศักยภาพที่ตนมีอยู่ เวลา และต้นทุนของช่วงโอกาสที่มีคุณค่าสำหรับตัวเขา
         "สิ่งที่คนได้ลงทุน (Inputs) เปรียบเทียบกับความเสมอค่า (equity) ที่เขายอมเสียสละอุทิศตน เวลา และโอกาส ฯลฯ   ให้กับงานที่เขาทำอยู่ว่า  คุ้มค่ากับผลตอบแทนที่เขาได้รับจากองคืกรหรือไม่?"
         3.  สิ่งที่ได้รับตอบแทน (Outcomes) หมายถึงผลตอบแทนหรือผลประโยชน์ทั้งหมด ที่บุคคลจะได้รับจากองค์กรนั้น  เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ ตำแหน่งหน้าที่การงาน บทบาทในหน้าที่  ความก้าวหน้า  ความมั่นคง  ผลประโยชน์ที่ได้รับจากรูปแบบอื่นๆ เช่นเกียรติยสชื่อเสียงที่ได้รับการยอมรับจากสังคม  ฯลฯ  ซึ่งความสำคัย คุณค่าของสิ่งตอบแทน(Out comes) ขึ้นอยู่กับการรับรู้ที่มีในตัวบุคคลมากกว่า


          

ไม่มีความคิดเห็น:

รายการบล็อกของฉัน