welcome for shared knowledge and experience





วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

กรอบแนวคิดในการวิจัย และขอบเขตการวิจัย


หน่วยที่ 4 กรอบแนวคิดในการวิจัย และขอบเขตการวิจัย
                                               
อ.ธิดารัตน์ เลิศวิทยากุล
คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย

-                   ความสำคัญของการกำหนดกรอบวิจัย
-                   ที่มากรอบแนวคิดการวิจัย
-                   หลักการเขียนกรอบแนวคิด
-                   การเลือกขอบเขตการวิจัย



ภาพที่  1   แสดงขอบเขตการศึกษาการวิจัยทางการพยาบาล





Research Process and Statistical, Sirichai Kanjanawasee
 
 

 


                       ภาพที่  2   แสดงกระบวนการวิจัย และ การวิเคราะห์ทางสถิติ

ความสำคัญของการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย
การเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัย เป็นเรื่องยุ่งยากและเป็นปัญหามากสำหรับนักวิจัยมือใหม่ เพราะจะเกิดความสับสน แม้ว่าจะได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาแล้วก็ตาม เพราะในงานวิจัยแต่ละเล่มก็จะเขียนกรอบแนวคิดการวิจัยไว้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งหน่วยการเรียนนี้ จะกล่าวถึง ที่มา และหลักการเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัยให้ชัดเจน เนื่องจากการสร้างกรอบแนวคิดที่ชัดเจน มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อผู้วิจัยและผู้ที่อ่านงานวิจัย ดังนี้
1. สามารถเข้าใจแนวคิดสำคัญที่แสดงถึงแก่นของปัญหาการศึกษาในระยะเวลาอันสั้น
2.  เป็นตัวชี้นำทำให้ผู้วิจัยเกิดความมั่นใจว่างานวิจัยเป็นไปในแนวทางที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
3. สร้างความชัดเจนในงานวิจัยว่าจะสามารถตอบคำถามที่ศึกษาได้
4. เป็นแนวทางในการกำหนดความหมายตัวแปร การสร้างเครื่องมือ และการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย
5. สามารถเชื่อมโยงไปสู่การกำหนดกรอบทิศทางการทำวิจัยได้เหมาะสม ถูกต้อง โดยเฉพาะวิเคราะห์ข้อมูล

กรอบทฤษฎี และกรอบแนวคิดการวิจัยคืออะไร
      ความหมายของกรอบทฤษฎี (Theoretical Framework)
บุญใจ  ศรีสถิตย์นรกูร  (2550, หน้า 41) หมายถึง ทฤษฎี (Theory) แนวคิดหรือ มโนทัศน์ (Concept) ซึ่งถูกบันทึกในวรรณกรรม และผู้วิจัยนำมาใช้สนับสนุนการทำวิจัย ใช้สนับสนุนระบุสมมติฐานที่ทดสอบและใช้อธิบายผลการวิจัยที่ค้นพบอย่างมีเหตุผลเชิงวิชาการ

ความหมายของกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)

สิน  พันธุ์พินิจ(2553, หน้า 339) กล่าวว่า การเขียนโครงการวิจัย ต้องเขียนกรอบแนวคิดการวิจัยให้ชัดเจน กรอบแนวคิดเป็นความคิดรวบยอดของการวิจัยที่สรุปมาจากแนวคิดทฤษฎี ต้องชี้ให้เห็นว่ามีกรอบที่ศึกษาตัวแปรอะไรบ้าง อะไรเป็นตัวแปรอิสระ อะไรเป็นตัวแปรตาม และจะศึกษาความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์ เมื่อเขียนแนวคิดเชิงพรรณาแล้วอาจลองเขียนกรอบแนวคิดการวิจัยให้เป็นรูปธรรมด้วย

รัตนะ  บัวสนธ์(2552, หน้า 79) อธิบายไว้ว่า กรอบความคิดการวิจัยนั้น ก็คือ กรอบเชิงทฤษฎีที่ลดรูปลงมาเพื่อใช้สำหรับการวิจัยเรื่องนั้นๆนั่นเอง กล่าวคือ ในขณะที่กรอบเชิงทฤษฎีนั้นได้แสดงให้เห็นถึงปัจจัย หรือความสัมพันธ์ของปัจจัย หรือตัวแปรทั้งหมดที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับปัจจัย หรือตัวแปรตาม หรือปรากฏการณ์ที่นักวิจัยต้องการศึกษา ซึ่งปัจจัยหรือตัวแปรที่กล่าวนี้มาจากทฤษฎีแนวคิดและผลงานวิจัยต่างๆ แต่เมื่อจะดำเนินงานวิจัยนักวิจัยได้ปรับลดตัวแปรบางตัวลง หรือทำให้ตัวแปรบางตัวคงที่ แล้วปรับกรอบเชิงทฤษฎีใหม่ จะได้เป็นกรอบความคิดการวิจัยเพื่อใช้สำหรับการวิจัยเรื่องนั้นเท่านั้น หากเปลี่ยนเรื่องดำเนินการวิจัยใหม่ โดยใช้กรอบเชิงทฤษฎีอื่นก็ต้องสร้างกรอบความคิดการวิจัยใหม่อีกเช่นกัน
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์(2549, หน้า 39-40) กล่าวว่า กรอบแนวคิดในการวิจัย เป็นภาพพจน์ที่เป็นแนวคิดในการวิจัยเรื่องนั้น การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย จะต้องเริ่มจากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  วิเคราะห์ประเด็นปัญหา กำหนดปัญหาการวิจัยให้ชัดเจน และหาแนวทางการค้นหาคำตอบ จากนั้นประมวลเป็นกรอบแนวคิดการวิจัยเรื่องนั้น จึงต้องทำความเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้
1. ปัญหาหลักที่ต้องการวิจัยคืออะไร และอะไรเป็นปัญหาที่ต้องการทราบจริงๆ
2. อะไรเป็นตัวแปรตามและตัวแปรอิสระ ตัวแปรแทรกและตัวแปรควบคุม ตัวแปรต่างๆที่นำมาศึกษามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
3. ข้อมูลที่จะใช้ในการวิจัยเรื่องนั้นมีอะไรบ้าง แหล่งข้อมูลอยู่ที่ไหนและจะเก็บรวบรวมมาได้อย่างไร
4. การหาคำตอบในการวิจัยนั้น สามารถใช้ระเบียบวิธีวิจัย หรือแบบการวิจัย(research design) ในลักษณะใดได้บ้าง และจะเลือกใช้การวิจัยแบบใด ทำไมจึงเลือกแบบนั้น
5. มีแนวคิดและทฤษฎีอะไรบ้างที่สนับสนุนการวิจัยในปัญหานี้
6. มีข้อตกลงเบื้องต้นในการทำวิจัยเรื่องนี้หรือไม่ มีอย่างไรบ้าง
จากการวิเคราะห์ดังกล่าวนำมาประมวลรวมเป็นกรอบแนวคิดโดยพยายามนำเสนอในลักษณะเป็นรูปธรรม ซึ่งมักจะทำเป็นแผนผังแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา ประกอบการอธิบาย
สุวิมล ว่องวาณิช(2551, หน้า 5) กล่าวว่า การนำเสนอกรอบความคิดการวิจัย ควรนำเสนอในบทที่ 2 ของรายงานการวิจัย เพราะต้องเสนอกรอบความคิดซึ่งเป็นผลจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง แต่ที่พบโดยทั่วไป มักจะพบว่ามีการนำเสนอกรอบความคิดของการวิจัยในบทที่ ซึ่งไม่ค่อยเหมาะสม เนื่องจากข้อมูลที่นำเสนอในบทที่ 1 อาจจะยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ผู้อ่านหรือแม้แต่นักวิจัยเองเข้าใจภาพรวมของผลการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ดังนั้น กรอบความคิดการวิจัยที่นำเสนออาจจะทำให้เกิดความสงสัยในเรื่องของแนวเหตุผลในการกำหนดตัวแปรมาศึกษา เพราะความรู้ที่รองรับยังนำเสนอไม่เพียงพอ
นงลักษณ์ วิรัชชัย , 2538) กล่าวว่า กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework) หมายถึง
แบบจำลองที่นักวิจัยสร้างขึ้น  โดยใช้ทฤษฎีและผลการวิจัยในอดีต  เพื่อแทนความเกี่ยวข้องสัมพันธ์  ระหว่างปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงตามธรรมชาติและจะนำไปตรวจสอบว่า  มีความสอดคล้องับข้อมูลเชิงประจักษ์หรือไม่  เพียงใด  ในรายงานการวิจัย  นักวิจัยนิยมเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัยในรูปของโมเดลหรือแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งหมดที่ใช้ในการวิจัย  กรอบแนวคิดในการวิจัยที่จะลดรูปจากกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี  (Theoretical framework)  ในกรอบความคิดเชิงทฤษฎีจะรวมตัวแปรทุกตัวที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับตัวแปรตามที่นักวิจัยต้องศึกษา  แต่ในการวิจัยนักวิจัยอาจพิจารณาควบคุมความแปรปรวนของตัวแปรบาตัว  ทำให้อิทธิพลจากตัวแปรนั้นคงที่  หรือจำกัดขอบเขตการวิจัยไม่ศึกษาตัวแปรทั้งหมด  ในกรอบความคิดเชิงทฤษฎี  ตัวแปรที่เหลืออยู่ในกรอบแนวคิดในการวิจัยจึงอาจมีจำนวนน้อยกว่ากรอบแนวคิดในเชิงทฤษฎี
สรุปกรอบแนวคิดการวิจัย  (Conceptual Framework)  หมายถึง  กรอบของการวิจัยในด้านเนื้อหาสาระ  ซึ่งประกอบด้วยตัวแปร  และการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร  ในการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย  ผู้วิจัยจะต้องมีกรอบพื้นฐานทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษาและมโนภาพ (concept)ในเรื่องนั้น  แล้วนำมาประมวลเป็นกรอบในการกำหนดตัวแปรและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ  ในลักษณะของกรอบแนวคิดในการวิจัยและพัฒนาเป็นแบบจำลองในการวิจัยต่อไป

การเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัยอย่างไร
การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย เป็นขั้นตอนของการนำเอาตัวแปรและประเด็นที่ต้องการทำวิจัยมาเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้องในรูปของคำบรรยาย แบบจำลองแผนภาพหรือแบบผสมการวาง กรอบแนวคิดในการวิจัยที่ดี จะต้องชัดเจน แสดงทิศทางของความสัมพันธ์ ของสิ่งที่ต้องการศึกษา หรือตัวแปรที่จะศึกษา สามารถใช้เป็นกรอบในการกำหนดขอบเขตของการวิจัย การพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย รูปแบบการวิจัย ตลอดจนวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
หลักสำคัญของการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย คือ
1. กำหนดตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ ไว้ด้านซ้ายมือ พร้อมทั้งใส่กรอบสี่เหลี่ยมไว้ เพื่อให้สามารถแยกแยะตัวแปรที่ต้องการศึกษาได้
2. กำหนดตัวแปรตาม ไว้ด้านขวามือ พร้อมทั้งใส่กรอบสี่เหลี่ยมไว้ เพื่อให้สามารถแยกแยะตัวแปรที่ต้องการศึกษาได้
3.  เขียนลูกศรชี้จากตัวแปรต้นแต่ละตัวมายังตัวแปรตามให้ครบทุกคู่ที่ต้องการศึกษา
กรอบแนวคิดในการวิจัย เป็นผลสรุปจากการศึกษาทฤษฏีและผลที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อปัญหาการวิจัย ซึ่งผู้เสนอเค้าโครงสรุปเป็นแนวคิดของตนเองสำหรับการดำเนินการวิจัย ของตน โดยทั่วไปก่อนการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย ผู้วิจัยจำเป็นต้องศึกษา ทฤษฏีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องให้มากพอว่ามีใครเคยทำวิจัยเรื่องทำนองนี้มาบ้างเขาทำอย่างไรและข้อค้นพบของการวิจัยมีอะไรบ้างแล้วนำมาประกอบการวางแผนการวิจัยของตนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดกรอบในเชิงเนื้อหาสาระซึ่งประกอบด้วยตัวแปรและการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสำหรับการวิจัยเชิงพรรณา (Descriptive research) กรอบแนวคิดในการวิจัยอาจมีแต่การระบุเฉพาะตัวแปรว่ามีตัวแปรอะไรที่จะนำมาศึกษา กรอบแนวคิดดังกล่าวจึงเปรียบเสมือนขอบเขตทางด้านเนื้อหาสารของการวิจัย ส่วนการวิจัยประเภทอธิบาย (Explanatory research) กรอบแนวคิดของการวิจัยมีการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วย
กรอบแนวคิดคือการประมวลความคิดรวบยอดของงานวิจัยว่างานวิจัยที่กำลังทำอยู่นี้ มีตัวแปรอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาเป็นอย่างไร อะไรเป็นตัวแปรอิสระ อะไรเป็นตัวแปรตาม

แหล่งที่มาของกรอบแนวคิดการวิจัย

1.     ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  เพื่อให้ได้มาซึ่งกรอบแนวคิดที่รัดกุม มีเหตุมีผล ผู้วิจัยควรอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษา ไม่ว่าจะอยู่ในสาขาพยาบาล สาขาแพทย์ หรือสาขาทางสังคมศาสตร์อื่น ๆ ทั้งนี้เพราะไม่เพียงแต่จะได้ตัวแปรต่างๆ เท่านั้น ยังได้ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับปรากฏการณ์ที่ศึกษาอย่างมีเนื้อหาสาระ คำอธิบายหรือข้อสรุปต่างๆ ที่ได้จากการวิเคราะห์หรือสรุปผลจะได้มีความหนักแน่นในเชิงทฤษฎี ดังนั้นการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องนอกจากจะชี้ให้เห็นถึงตัวแปรใดสำคัญและมีความสัมพันธ์กันอย่างไรแล้ว ยังทำให้กรอบแนวคิดในการวิจัยมีแนวทางที่ชัดเจนและมีเหตุผล
2.    ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง  หมายถึงงานวิจัยที่ผู้อื่นได้ทำมาแล้วมีประเด็นตรงกับประเด็นที่เราต้องการศึกษา หรือมีเนื้อหา หรือตัวแปรบางตัวที่ต้องการศึกษารวมอยู่ด้วย งานวิจัยที่เกี่ยวข้องนั้นอาจจะไม่ได้อยู่ในสาขาทางการพยาบาลเท่านั้น แต่อาจจะอยู่ในสาขาอื่นๆ ด้วย ดังนั้นผู้วิจัยควรมุ่งศึกษาว่าผู้ที่ได้ทำวิจัยมาแล้วมองเห็นว่า ตัวแปรใดมีความสำคัญหรือไม่อย่างไรกับปรากฏการณ์หรือประเด็นที่เราต้องการศึกษา หรือบางตัวแปรอาจจะไม่เกี่ยวข้องแต่ผู้วิจัยไม่ควรตัดทิ้ง เพราะสามารถนำมาศึกษาวิเคราะห์เพื่อยืนยันต่อไปว่า มีหรือไม่มีความสำคัญในกลุ่มประชากรที่ศึกษาอยู่
3.    กรอบแนวคิดของผู้วิจัยเองที่สังเคราะห์ขึ้นเอง นอกจากการศึกษาผลงานวิจัยและทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้องแล้ว กรอบแนวคิดยังจะได้มาจากความคิดและประสบการณ์การทำงานของผู้วิจัยเองอีกด้วย 














ภาพที่  3   แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการทบทวนวรรณกรรม  กรอบแนวคิดทางทฤษฎี และกรอบแนวคิดในการวิจัย
                จากแผนจะเห็นได้ว่าจากการทบทวนวรรณกรรม  หรือทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่สนใจทำวิจัย  จะช่วยให้ผู้วิจัยมีกระบวนสร้างมโนทัศน์  จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงตามธรรมชาติ  หรือมีการมองเชิงมโนทัศน์ (Conceptualization) ที่ชัดเจน  จนได้กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี (Theoretical Framework)  เช่น  ตัวแปรอิสระ IP ที่มีผลต่อตัวแปรตาม DP อาจจะมีถึง  8  ตัวแปร  แต่เวลาทำวิจัยนักวิจัยไม่จำเป็นต้องใช้ตัวแปรทุกตัว  ตามกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี  ผู้วิจัยสามารถจดรูปโดยดึงตัวแปรบางตัวออก  เช่น  ดึง  IP1-3  ออก  แต่ต้องมีเหตุผลรองรับ  (เกิดจากการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในอดีต)ว่าไม่มีผลหรือชี้ได้ว่า  IP1-IP3  ส่งผลต่อ  DP  แน่นอน  จึงไม่ต้องศึกษาซ้ำ  การตัดสินใจลดตัวแปร  IP1-IP3  เรียกกรอบแนวคิด ไนติว่า  “กรอบแนวคิดในการวิจัย” (Conceptual Framework) ซึ่งนักวิจัยจะใช้เป็นแนวทางสำคัญ  ในการทำวิจัยต่อไป  นอกจากนี้  ยังเป็นแนวทางในการกำหนดสมมติฐานที่ดีด้วย (จิตราภา  คุณวาบุตร, 2550)
      

หลักการเลือกและประโยชน์ของกรอบแนวคิดในการวิจัย

กรอบแนวคิดที่ดีควรจะเป็นกรอบแนวคิดที่ตรงประเด็นในด้านเนื้อหาสาระตัวแปรที่ต้องการศึกษา  มีความสอดคล้องกับความสนใจในเรื่องที่วิจัย  มีความง่ายและไม่สลับซับซ้อนมาก  และควรมีประโยชน์ในเชิงนโยบายหรือการพัฒนาสังคม
กรอบแนวคิดที่จะนำมาใช้ในการวิจัยจะมีประโยชน์ต่อการดำเนินการวิจัยขั้นต่อ ๆ ไป  โดยเฉพาะในขั้นการรวบรวมข้อมูล  ขั้นการออกแบบการวิจัย  ขั้นการวิเคราะห์  และการตีความหมายผลการวิเคราะห์

การนำเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัย
การนำเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัยอาจทำได้หลายวิธี ดังนี้
1.     การเขียนบรรยาย โดยระบุตัวแปรที่ศึกษาและความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปร
2.    การเขียนแบบจำลองหรือสัญลักษณ์และสมการ    
3.    การเขียนแผนภาพ แสดงตัวแปรต่างๆ และความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปร
4.    การเขียนแบบผสมผสาน

หลักเกณฑ์ในการเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัย
1.     ตัวแปรแต่ละตัวที่เลือกมาศึกษา หรือที่นำเสนอไว้ในกรอบแนวคิดในการวิจัยต้องมีพื้นฐานเชิงทฤษฏีว่ามีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการศึกษา
2.    มีความตรงประเด็นในด้านเนื้อหาสาระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านตัวแปรอิสระหรือตัวแปรที่ใช้ควบคุม
3.    มีรูปแบบสอดคล้องกับความสนใจ หรือ วัตถุประสงค์ของการวิจัย
4.    ระบุรายละเอียดของตัวแปรและหรือสามารถแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรได้ชัดเจนด้วยสัญลักษณ์หรือแผนภาพ
 หลักในการเลือกกรอบแนวคิดในการวิจัย
หลักสำคัญในการเลือกกรอบแนวคิดในการวิจัยทางการพยาบาล มีอยู่ด้วยกัน 4 ประการ คือ
1. ความตรงประเด็น กรอบแนวคิดที่ตรงประเด็นของการวิจัย กล่าวคือ มีความตรงประเด็นในด้านเนื้อหา ซึ่งพิจารณาได้จากเนื้อหาของตัวแปรอิสระหรือตัวแปรที่ใช้ควบคุม และระเบียบวิธีที่ใช้ในการวิจัย ในกรณีที่มีแนวคิดหลายๆ แนวตรงกับหัวข้อเรื่องที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา ผู้วิจัยควรเลือกแนวคิดที่ตนเองคิดว่าตรงกับประเด็นที่ต้องการศึกษามากที่สุด
2. ความง่ายและไม่สลับซับซ้อน กรอบแนวคิดที่ควรจะเลือกควรเป็นกรอบที่ง่ายแก่การเข้าใจ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน หากมีทฤษฎีหลายทฤษฎีที่จะนำมาใช้เป็นกรอบแนวคิด ผู้ที่ทำวิจัยควรเลือกทฤษฎีที่ง่ายที่สุดที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษาได้พอๆกัน
3. ความสอดคล้องกับความสนใจ กรอบแนวคิดที่ใช้ควรมีเนื้อหาเกี่ยวกับตัวแปร หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สอดคล้องกับความสนใจของผู้ที่จะทำการวิจัย
4.    ความมีประโยชน์ต่อการปฏิบัติการพยาบาล การวิจัยนั้นควรมีกรอบแนวคิดสะท้อนถึงประโยชน์ที่สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลด้วย

วิธีการสร้างกรอบแนวคิด
การสร้างกรอบแนวคิด เป็นการสรุปโดยภาพรวมว่างานวิจัยนั้นมีแนวคิดที่สำคัญอะไรบ้าง มีการเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันอย่างไร มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ผู้วิจัยต้องนำข้อมูลจากหลายแหล่งมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัยจริงๆ สิ่งสำคัญคือ ผู้วิจัยจำเป็นต้องศึกษาความรู้ในทฤษฎีนั้นๆ ให้มากพอ ทำความเข้าใจทั้งความหมายแนวคิดที่สำคัญของสมมติฐานจนสามารถเชื่อมโยงในเชิงเหตุผลให้เห็นเป็นกรอบได้อย่างชัดเจน การเชื่อมโยงของแนวคิดนี้ บางที่เรียกว่า รูปแบบ หรือตัวแบบ (model)
วิธีการสร้างกรอบแนวคิด กระทำได้ 2 ลักษณะ คือ
1. โดยการสรุปประเด็นต่างๆ จากข้อมูลที่ผู้วิจัยได้ศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องให้กระจ่าง
2. กำหนดจากกรอบทฤษฎีที่มีใช้ เป็นส่วนสำคัญในการศึกษาวิจัย ในขอบเขตของเอกสารและงานวิจัยที่ได้ศึกษา เช่น การนำทฤษฎีการพยาบาลของรอย โอเร็ม มาใช้เป็นกรอบการวิจัยในการวิจัยเชิงบรรยายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาตัวแปร กรอบแนว คิดมักจะเป็นในลักษณะที่ 1 คือการสรุปประเด็นข้อมูล ส่วนในการวิจัยทดลอง จะต้องมีพื้นฐานทฤษฎี หลักการของการวิจัยที่ชัดเจน การกำหนดกรอบแนวคิดมักจะเป็นลักษณะที่ 2

วิธีการเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัย
ในการเขียนกรอบแนวคิด ผู้วิจัยจะต้องเขียนแสดงความสัมพันธ์ของแนวคิดในการวิจัยของตนให้ชัดเจน ในขอบเขตของเอกสารและงานวิจัยที่ศึกษา อาจเขียนไว้ท้ายก่อนหน้าส่วนของการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง(ท้ายบทที่ 1) หรือ ท้ายส่วนของการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง(ท้ายบทที่ 2) ก็ได้ รูปแบบการเขียนทำได้ 3 ลักษณะ คือ
1. เขียนแบบบรรยายต่อเนื่องกันโดยไม่แยกหัวข้อ ความยาวของการเขียนประมาณ 1 หน้ากระดาษ
2. เขียนเป็น แผนภูมิ แสดงความสัมพันธ์และทิศทางระหว่างตัวแปรที่ศึกษา หรือ
3. เขียนเป็นแผนภูมิประกอบคำบรรยายเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ถ้ามีตัวแปรหลายตัว หรือตัวแปรมีความสัมพันธ์สลับซับซ้อน

รูปแบบการนําเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัย
กรอบแนวคิดในการวิจัยหมายถึง การระบุความสัมพันธระหวางตัวแปรชุดตางๆ เปน    อยางไร กรอบแนวคิดในการวิจัยจึงแตกตางจากขอบเขตของการวิจัย ผูวิจัยจะพบเห็นการวางกรอบแนวคิดในการวิจัยไวหลายที่ดวยกัน วิทยานิพนธบางเลมนําเสนอกรอบแนวคิดในบทที่ 1 แตการนําเสนอที่มีเหตุผลควรนําเสนอในบทที่ 2 เพราะกรอบแนวคิดในการวิจัยไมไดเกิดขึ้นจากสุญญากาศหรือโดยอัตโนมัติ แตเกิดจากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีตาง ๆ รวมทั้งงานวิจัยที่มีมาแลวหรือที่ใกลเคียงทั้งในสาขาที่เกี่ยวของหรือสาขาอื่นๆ กรอบแนวคิดในการวิจัยที่สมบูรณตองผานกระบวนการทําความชัดเจนในประเด็นคําถามของการวิจัยและการทบทวนแนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวของมาแลว ซึ่งการนําเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัยสามารถนําเสนอได 4 รูปแบบดังตอไปนี้
1. การนําเสนอเชิงบรรยาย เปนการพรรณนาดวยประโยคขอความตอเนื่องเพื่อแสดงความสัมพันธระหวางตัวแปร 2 ชุดคือ ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรเหตุ กับตัวแปรตามหรือตัวแปรผลแตในการวิจัยบางประเภท เชน การวิจัยเชิงสํารวจไมมีการกําหนด วาตัวแปรใดเปนตัวแปรอิสระหรือตัวแปรตาม การบรรยายจึงเปนการอธิบายความสัมพันธของตัวแปรที่ศึกษาชุดนั้น
2. การนําเสนอเชิงภาพ เปนการนําเสนอดวยแผนภาพจากการกลั่นกรองความเขาใจของผูวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธของตัวแปรที่ใชในการศึกษาของผูวิจัยไดอยางชัดเจน ซึ่งผูอื่นที่อานเรื่องนี้เพียงแตเห็นแผนภาพแลวเขาใจผูวิจัยควรนําเสนอเฉพาะตัวแปรหลัก ไมจําเปนตองมีรายละเอียดของตัวแปรในแผนภาพ เป็นการเชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ต้องการศึกษาแสดงลำดับการเกิดก่อนหลังของตัวแปร นอกจากนี้แผนภูมิที่สร้างขึ้นยังสามารถแสดงความเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งนำไปสู่การใช้เทคนิคทางสถิติที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ต่อไปตัวอย่างที่ 1










แผนภาพที่ 4  ตัวอย่างกรอบความคิดของการวิจัยนำเสนอเชิงภาพ

จากตัวอย่างที่ 1 ตัวแปรความรู้ ค่านิยม ฐานะทางบ้าน และอิทธิพลเพื่อน แต่ละตัวมีผลต่อการติดเชื้อเอดส์ของเด็กวัยรุ่นโดยตรง
  
ตัวอย่างที่ 2
  




  





แผนภาพที่ 5 ตัวอย่างกรอบความคิดของการวิจัยนำเสนอเชิงภาพ

จากตัวอย่างที่ 2 ตัวแปรอิทธิพลของเพื่อนมีผลต่อค่านิยม และส่งผลต่อไปยังการติดเชื้อเอดส์ของเด็กวัยรุ่น ส่วนตัวแปรความรู้และฐานะทางบ้านมีผลต่อค่านิยม และส่งผลต่อการติดเชื้อเอดส์ของวัยรุ่น ในขณะเดียวกันตัวแปรความรู้ ฐานะทางบ้านก็มีผลโดยตรงต่อการติดเชื้อเอดส์ของวัยรุ่น

สุวิมล ว่องวาณิช(2551, หน้า 12) ได้นำเสนอตัวอย่างการกำหนดกรอบความคิดของการวิจัยว่า ต้องมีการบรรยายข้อความก่อนนำเสนอแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในการวิจัย ในคำอธิบายดังกล่าวต้องมีการอ้างอิงที่มาของแนวคิดหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และเชื่อมโยงให้เห็นตัวแปรที่ศึกษา โดยปกติจะกำหนดตัวแปรตามไว้ทางขวามือ ตัวแปรที่ส่งผลหรือตัวแปรที่อธิบายความสัมพันธ์(ตัวแปรอิสระ)จะอยู่ทางซ้ายมือ

จากการวิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับคุณสมบัติของครูที่จะสามารถเป็นนักวิชาการด้านการวิจัยและประเมิน สรุปได้ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วนคือ วัฒนธรรมการวิจัยและประเมินสมรรถภาพการวิจัยและการประเมิน ตามกรอบความคิดของการวิจัยในแผนภาพ 1 นอกจากนี้ผลการวิจัยของสุวิมล ว่องวาณิชอาภรณ์ บางเจริญพรพงค์ และอวยพร เรืองตระกูล(2543) พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลหลายตัว เช่น อายุ ระดับการศึกษา สังกัด มีผลต่อทักษะการประเมิน ในแผนภาพ 1 จึงกำหนดกรอบความคิดของการวิจัยว่า ความเป็นครูมืออาชีพของครูขึ้น น่าจะอยู่กับปัจจัย 3 กลุ่ม คือ ปัจจัยส่วนบุคคลที่เป็นภูมิหลังของครู (อายุ สังกัด ระดับการศึกษาที่สอน ขนาดโรงเรียน เพศ สถานภาพ) ปัจจัยส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับเฉพาะกับการวิจัยและประเมิน  ได้แก่  ความรู้สึกต่อการวิจัยและประเมินของครู และระดับของการได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถ/ประสบการณ์ด้านการวิจัยและประเมินด้วยวิธีการต่างๆและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน ได้แก่  ระดับของความเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ใช้ความรู้เป็นฐานของการพัฒนา(knowledge-based)
  







 แผนภาพที่ 6 ตัวอย่างกรอบความคิดของการวิจัย

3. การนําเสนอแบบจําลองคณิตศาสตร เปนการนําเสนอดวยสมการทางคณิตศาสตรเพื่อใหเห็นความสัมพันธระหวางตัวแปร 2 ชุดไดชัดเจนและชวยใหสามารถเลือกใชเทคนิคการวิเคราะหขอมูลไดอยางเหมาะสม
วิธีนี้นิยมใช้ในการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์  เป็นการพยายามอธิบายเรื่องราวทั้งหมดด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์  เช่น
Y = f(P, Q, R, S)
Y =  การติดเชื้อเอดส์ของเด็กวัยรุ่น
P = ความรู้เรื่องเอดส์
Q = ค่านิยม
R = ฐานะทางบ้าน
S = อิทธิพลของเพื่อน
จากฟังชั่นที่กำหนด หมายความว่า การติดเชื้อเอดส์ของเด็กวัยรุ่นขึ้นอยู่กับ หรือมีความสัมพันธ์กับตัวแปร เรื่องความรู้เรื่องโรคเอดส์ ค่านิยม  ฐานะทางบ้าน และอิทธิพลของเพื่อน

4. การนําเสนอแบบผสม เปนการนําเสนอผสมกันทั้ง 3 แบบหรือ ผสมกัน 2 แบบที่กลาวมาขางตนงานวิจัยบางประเภทไมจําเปนตองนําเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัยที่แสดงความสัมพันธระหวางตัวแปรอิสระและตัวแปรตามงานวิจัยประเภทนี้ตองการจัดกลุมหรือจัดโครงสรางของตัวแปร เชนงานวิจัยที่ใชเทคนิคการวิเคราะหปจจัย (Factors analysis) หรืองานวิจัยเชิงคุณภาพ เปนตน
การนําเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัยตองยึดหลักวานําเสนอแตนอยเรียบงายและไมรกรุงรังดังนั้น ผูวิจัยไมจําเปนตองบอกรายละเอียดของตัวแปรที่ใชในการศึกษาทั้งหมด เพราะจะตองนําเสนอในหัวขอตอไปอยูแลว

วรรณี  แกมเกตุ(2551, หน้า 83) กล่าวว่า ข้อควรระวังก็คือ กรอบแนวคิดไม่ใช่ข้อสรุปของการวิจัย แต่เป็นเพียงแนวทางในการแสวงหาข้อมูลหรือคำอธิบายเพื่อให้เกิดความเป็นไปได้ในการที่จะวิเคราะห์หาข้อสรุป แม้การมีกรอบแนวคิดการวิจัยจะมีประโยชน์อยู่มาก แต่การมีกรอบแนวคิดการวิจัยก็อาจเป็นข้อจำกัดในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมต่างๆได้เช่นกัน หากการกำหนดกรอบแนวคิดนั้นไม่รัดกุม หรือเป็นกรอบแนวคิดที่ไม่สมเหตุสมผล นั่นหมายความว่า การทำความเข้าใจกับสิ่งที่ต้องการศึกษา หรือการอธิบายตัวแปรตามโดยใช้ตัวแปรอิสระที่กำหนดไว้นั้น อาจจะขาดประสิทธิภาพ ไม่สมเหตุสมผลหรือไม่มีน้ำหนักในการอธิบายที่น่าพอใจนักเนื่องจากนักวิจัยจะมองไม่เห็นหรือไม่ให้ความสำคัญกับตัวแปรอิสระอื่นๆซึ่งอยู่นอกกรอบแนวคิดที่กำหนดไว้

สรุป
การเลือกกรอบแนวคิด มีประโยชน์ และเกี่ยวข้องกับงานวิจัยทุกขั้นตอนตั้งแต่ การรวบรวมข้อมูล การออกแบบวิจัย การตั้งสมมติฐานการวิจัย รวมถึงการวิเคราะห์และอภิปรายผลการวิจัย

การเขียนขอบเขตการวิจัย
การวิจัยทุกเรื่องจะต้องมีขอบเขตของการศึกษา เพื่อให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องผู้วิจัยไม่สามารถทำการวิจัยได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อได้ปัญหาที่จะทำการวิจัยแน่นอนแล้ว ผู้วิจัยจะต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้ชัดเจนว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง  โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของปัญหาการวิจัยว่าจะศึกษาในเรื่องใด ศึกษากับใคร และศึกษาแง่มุมใด ทั้งนี้เพื่อตีกรอบความคิดของผู้วิจัยและผู้อ่านให้อยู่ในวงที่จำกัดไว้
การกำหนดขอบเขตของการวิจัยนั้น ตามปกติจะกำหนดในเรื่องของประชากร กลุ่มตัวอย่าง และตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย เช่น สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา โดยผู้วิจัยอาจจะเขียนเป็นข้อความรวม ๆ หรือเขียนเป็นประโยคย่อย ๆ แยกหัวข้อกลุ่มตัวอย่างและตัวแปรก็ได้ ซึ่งวิธีนี้เป็นที่นิยมกันมาก ซึ่งในส่วนของขอบเขตการวิจัยนั้น  จะประกอบด้วย
       1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  ซึ่งผู้วิจัยต้องระบุว่าประชากรเป็นใคร  ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวนท่าไร   และกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีใด
2.  ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา  ผู้วิจัยต้องระบุตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่ใช้ในการศึกษาทั้งหมด
          ในงานวิจัยบางเรื่องอาจจะระบุขอบเขตด้านเนื้อหาเข้าไปด้วย เพื่อให้มองเห็นของเขตในการวิจัยได้มากขึ้น    การเขียนขอบเขตการวิจัยนี้  ผู้วิจัยจะต้องครอบคลุมว่าจะศึกษาตัวแปรอะไรบ้าง  ซึ่งควรสอดคล้องกับกรอบความคิดของการวิจัย ( Research  framework )  ควรมีการระบุเหตุผลที่เรานำเอาตัวแปรเหล่านั้นเข้ามาศึกษา  ในกรอบความคิด  ไม่ควรระบุแต่ชื่อตัวแปรที่ศึกษาว่าคืออะไรเท่านั้น  แต่ต้องขยายความให้เห็นแนวคิดเบื้องหลัง  เพื่อให้ผู้อ่านรายงานการวิจัยเข้าใจวิธีคิดหรือทฤษฎีที่ผู้วิจัยใช้เป็นฐานในการกำหนดกรอบแนวคิด
          ส่วนขอบเขตประชากรนั้น  ผู้วิจัยต้องอธิบายว่ากลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องจริง  แล้วครอบคลุมคนกลุ่มใด   ทำไมเราจึงสนใจที่จะศึกษาเฉพาะกลุ่มเท่านั้น

ตัวอย่างการเขียนขอบเขตในการวิจัย
1. ตัวอย่างการเขียนขอบเขตการวิจัยแบบแยกหัวข้อกลุ่ม ตัวอย่างและตัวแปร
ตัวอย่างที่ 1.1  การวิจัยเรื่อง การศึกษาความมีน้ำใจของครู ความอยากรู้อยากเห็น ความเอื้อเฟื้อ และเพทุบาย ของนักศึกษาปีที่ 14 วิทยาลัยครูนครปฐมได้จำกัดขอบเขตของกลุ่มตัวอย่างและตัวแปรไว้ดังนี้ (นิภา บุณยศรีสวัสดิ์. 2517.)
1. กลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาครั้งนี้กระทำกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 14 ปีการศึกษา 2516 วิทยาลัยครูนครปฐม จำนวน 400 คน เป็นชาย 206 คน หญิง 194 คน และเนื่องจากการรับนักศึกษาเข้าเรียนในระดับชั้นปีที่ 1 มีจำนวนใกล้เคียงกันทุกปี ฉะนั้น นักศึกษาในปีที่ 14 จึงมีจำนวนใกล้เคียงกัน การสุ่มตัวอย่างจึงสุ่มมาระดับละ 100 คน เท่านั้น 
2. ตัวแปรที่ศึกษา
   2.1 ตอนหาความสัมพันธ์ มีตัวแปร 4 ตัว คือ 
- ความมีน้ำใจของครู
- ความอยากรู้อยากเห็น
- ความเอื้อเฟื้อ
- ความมีเพทุบาย
    2.2 ตอนเปรียบเทียบ
ตัวแปรอิสระ
- เพศ (ชาย หญิง)
- ระดับชั้นเรียน
ตัวแปรตาม
- ความมีน้ำใจของครู
- ความอยากรู้อยากเห็น
- ความเอื้อเฟื้อ
- เพทุบาย


ตัวอย่างที่ 1.2 การวิจัย
เรื่อง................................................................................................................................
1.กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการการอ่านและการเขียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 1 คน โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) จากการคัดกรองของ ดร.วาสนา เลิศศิลป์ โดยใช้แบบคัดกรอง KUS – SI Rating Scale
2.ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
ตัวแปรต้น ได้แก่ การสอนประกอบการใช้แบบฝึกอ่านและเขียน
ตัวแปรตาม ได้แก่ ความสามารถในการอ่านและการเขียน 
3.ระยะเวลาการดำเนินการวิจัย
ระยะเวลาในการฝึก ตลอดปีการศึกษา 2550 สัปดาห์ละ 2 คาบ คาบละ 50 นาที โดยใช้เวลาในชั่วโมงภาษาไทยพื้นฐาน และภาษาไทยเพิ่มเติม
4. เนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง
คำในมาตราตัวสะกดต่าง ๆ ได้แก่ มาตราแม่ กง มาตราแม่ กน มาตราแม่ กม มาตราแม่ เกย มาตราแม่
เกอว มาตราแม่ กก มาตราแม่ กด และมาตราแม่ กบ คำควบกล้ำ ได้แก่ คำควบกล้ำ กร,กล,กว, คร/ ขร , คล / ขล , คว/ขว , ปร , ปล , พร, พล /ผล และ ตร

2. การเขียนขอบเขตของการวิจัย แบบเขียนเป็นข้อความรวม ๆ หรือเขียนเป็นประโยคย่อย ๆ
ตัวอย่างที่ 2.1 เช่นงานวิจัยเรื่อง ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้บริการร้านค้าปลีกแบบซุปเปอร์มาร์เก็ตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร”  กำหนดขอบเขตการวิจัยดังนี้
การวิจัยในครั้งนี้กลุ่มของประชากร คือ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 5,645,834 คน โดยจะทำการเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 625 ตัวอย่าง ซึ่งลักษณะของกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคเพศชายหรือหญิง อายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป โดยต้องเป็นผู้ที่กำลังซื้อสินค้าหรืออยู่ในบริเวณของร้านค้าปลีกแบบซุปเปอร์มาร์เก็ต ระยะเวลาทำการวิจัยตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 30 มิถุนายน 2543 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 151 วัน

ตัวอย่างที่ 2.2 วิทยานิพนธ์เรื่อง ศึกษาการนำเสนอภาพยนตร์โฆษณาโทรทัศน์ของผู้กำกับ สุธน เพ็ชรสุวรรณ”  มีขอบเขตการศึกษาดังนี้ (เขมพัทธ์ พัชรวิชญ์. 2548)
การศึกษาครั้งนี้จะเป็นการศึกษากรณีด้านแนวคิดในการนำเสนอในภาพยนตร์โฆษณาที่กำกับโดยนายสุธน  เพ็ชรสุวรรณ ที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ในประเทศไทยเท่านั้น ระหว่างปี พ.ศ. 2536พ.ศ. 2547 รวมระยะเวลา 11 ปีภาพยนตร์โฆษณาที่คัดเลือกในการศึกษานี้ จะคัดเลือกจากภาพยนตร์โฆษณาที่ได้รับรางวัลในงานการประกวดโฆษณายอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย (Top Advertising Contest of Thailand Awards) งานประกวดโฆษณาภาคพื้นเอเชีย (Asia Pacific Advertising Festival) และงานเทศการประกวดโฆษณานานาชาติ เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส (Cannes Lions International Advertising) เท่านั้น

สรุป การกำหนดขอบเขตของปัญหาที่ชัดเจนและแน่นอน จะช่วยผู้วิจัยได้ดังนี้
1)  วางแผนรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสม
2)  รู้ถึงเทคนิคต่างๆ ที่เหมาะสมในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนการแปล
ผลการวิจัย
3)  มองเห็นภาพอย่างชัดเจนว่าจะต้องทำอะไรบ้าง 

 
เอกสารอ้างอิง
พัชรา  สินลอยมา. (มมป.)  เอกสารประกอบการสอนกรอบแนวคิดและสมมติฐานการวิจัย.  คณะวิทยาศาสตร์ สาขานิติ
วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร .(เอกสารอัดสำเนา)
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549).  ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร :
       จามจุรีโปรดักท์.
รัตนะ บัวสนธ์.(2552). ปรัชญาการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
       มหาวิทยาลัย.
วรรณี  แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์.(พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่ง
       จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล  ติรกานันท์. (2546). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 4).
กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล  ว่องวาณิช. (2551). เทคนิคการสร้างกรอบความคิดของการวิจัย : ข้อบกพร่องที่พบบ่อย. เอกสารประกอบการ
บรรยายในงาน Thailand Research Expo 2008 วันที่ 16 กันยายน 2551 ณ ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์ กรุงเทพมหานคร.โดย ส่วนส่งเสรอมและพัฒนาการวิจัย ภารกิจบริหารจัดการผลงานวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.).


ไม่มีความคิดเห็น:

รายการบล็อกของฉัน