การบริหาร ทุกคนพอจะทราบว่า คือการที่เราได้ใช้ทรัพยากร ตั้งแต่ คน วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณต่าง ๆ รวมถึงวิธีการบริหารจัดการ เกิดงานต่าง ๆตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยคำนึงถึงคุณภาพ และความพึงพอใจอย่างสูงสุด ภายใต้
" Low cost and High Efficiency"
welcome for shared knowledge and experience
วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553
ผู้นำอย่าง ศ.ดร.นพ.กระแส ชนะวงศ์(ปรัชญาชีวิตและลีลาการทำงาน)
ปรัชญาชีวิตและลีลาการทำงาน
" บุคลิกภาพของ ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ เป็นแบบเรียบง่าย ประนีประนอม ไม่ก้าวร้าว มีความอ่อนน้อมถ่อมตน และจะกล่าวชื่นชมผุ้ร่วมงานในระหว่างประชุมหรือการพบปะเจรจาในทางส่วนตัวอยุ่เสมอ เป็นผุ้ที่หาโอกาสศึกษาคน พยายามเข้าใจเหตุผล อารมณ์ความรู้สึกของคน และมีความจริงใจกับเพื่อนร่วมงาน
-เป็นผู้พยายามศึกษาวิเคราะห์และประเมินพฤติกรรมส่วนตัว
-เป็นคนใจเย็น ยอมรับความแตกต่่างของมนุษย์
-เป็นสุภาพบุรุษ มองศัตรูคือมิตรที่ยังไม่มีเวลาจับเข่าคุยกัน
-ตั้งทฤษฎีการต่อรองแบบ "การฑูตอังกฤษ" กล่าวคือ การตั้งความคาดหวังไว้ต่ำในการเริ่มเจรจา เมื่อพบคู่เจรจาที่มีความเป็นสุภาพบุรุษ ผลการเจรจาโดยวิธีการของนายแพทย์กระแสจึงมักจะสุงเกินความคาดหวัง "การบริหารงานของศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ เป็นแบบมนุษยนิยม
มุ่งเน้นเรื่องของประโยชน์-นิยม โดยเฉพาะประโยชน์นิยมต่อส่วนรวม หรือต่อส่วนใหญ่ เน้นประชาชนผู้ด้อยโอกาสตามแหล่งชุมชน หรือ แหล่งเสื่อมโทรมที่มีคุณภาพชีวิตตกต่ำในด้านเศรษฐกิจ"
จาก: Introduction to Educational Reform,SWOT and Leadership.(การบรรยายพิเศษ)
" บุคลิกภาพของ ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ เป็นแบบเรียบง่าย ประนีประนอม ไม่ก้าวร้าว มีความอ่อนน้อมถ่อมตน และจะกล่าวชื่นชมผุ้ร่วมงานในระหว่างประชุมหรือการพบปะเจรจาในทางส่วนตัวอยุ่เสมอ เป็นผุ้ที่หาโอกาสศึกษาคน พยายามเข้าใจเหตุผล อารมณ์ความรู้สึกของคน และมีความจริงใจกับเพื่อนร่วมงาน
-เป็นผู้พยายามศึกษาวิเคราะห์และประเมินพฤติกรรมส่วนตัว
-เป็นคนใจเย็น ยอมรับความแตกต่่างของมนุษย์
-เป็นสุภาพบุรุษ มองศัตรูคือมิตรที่ยังไม่มีเวลาจับเข่าคุยกัน
-ตั้งทฤษฎีการต่อรองแบบ "การฑูตอังกฤษ" กล่าวคือ การตั้งความคาดหวังไว้ต่ำในการเริ่มเจรจา เมื่อพบคู่เจรจาที่มีความเป็นสุภาพบุรุษ ผลการเจรจาโดยวิธีการของนายแพทย์กระแสจึงมักจะสุงเกินความคาดหวัง "การบริหารงานของศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ เป็นแบบมนุษยนิยม
มุ่งเน้นเรื่องของประโยชน์-นิยม โดยเฉพาะประโยชน์นิยมต่อส่วนรวม หรือต่อส่วนใหญ่ เน้นประชาชนผู้ด้อยโอกาสตามแหล่งชุมชน หรือ แหล่งเสื่อมโทรมที่มีคุณภาพชีวิตตกต่ำในด้านเศรษฐกิจ"
จาก: Introduction to Educational Reform,SWOT and Leadership.(การบรรยายพิเศษ)
ผู้นำอย่าง ศ.ดร.นพ.กระแส ชนะวงศ์
กระแส ทรงภูมิล้ำ เลอคุณ
ชนะ อื่นหาใดดุลย์ ยิ่งแล้
วงค์ ปราชญ์โปรดเจือจุน มวลศิษย์
โอกาสทองแม่นแท้ เมื่อได้ยินยล
วิสัยทัศน์ ลึกล้น ทุกกาล
เจนจบเชี่ยวชำนาญ แกร่งกล้า
เราชาวเอกบริหาร เห็นสรรพ
หวังเป็นศิษย์เสมอหน้า นับด้วยทุกสมัย
อ้างอิงจาก.....อาจารย์ สุรัตน์ ดวงชาทม : Introduction to educational Reform
SWOT and Leadership โดย ศ.ดร.นพ.กระแส ชนะวงศ์
ในโอกาสบรรยายแก่นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (สาขาบริหารการศึกษารุ่น 2)
14,21มิถุนายน , 5 กรกฎาคม 2546 ณ คณะศึกษาสาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชนะ อื่นหาใดดุลย์ ยิ่งแล้
วงค์ ปราชญ์โปรดเจือจุน มวลศิษย์
โอกาสทองแม่นแท้ เมื่อได้ยินยล
วิสัยทัศน์ ลึกล้น ทุกกาล
เจนจบเชี่ยวชำนาญ แกร่งกล้า
เราชาวเอกบริหาร เห็นสรรพ
หวังเป็นศิษย์เสมอหน้า นับด้วยทุกสมัย
อ้างอิงจาก.....อาจารย์ สุรัตน์ ดวงชาทม : Introduction to educational Reform
SWOT and Leadership โดย ศ.ดร.นพ.กระแส ชนะวงศ์
ในโอกาสบรรยายแก่นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (สาขาบริหารการศึกษารุ่น 2)
14,21มิถุนายน , 5 กรกฎาคม 2546 ณ คณะศึกษาสาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ภาวะผู้นำ -บทนำ
ผู้นำเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการบริหารงานในองค์กร องค์กรจะประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลวในการดำเนินงาน ปัจจัยสำคัญที่สุดคือ ผู้นำ ถ้าองค์กรใด ได้ผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ก็จะสามารถสั่งการและใช้อิทธิพล ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ให้องค์การสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ในทางตรงกันข้ามหากองค์กรใด ขาดผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ก็จะไม่สามารถสั่งการและใช้อิทธิพล ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ประกอบกิจกรรมสำเร็จลุล่วงตามเป้าหายที่กำหนดไว้ได้
ดังนั้นการศึกษาแนวคิดต่าง ๆเกี่ยวกับลักษณะผู้นำ จึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้บริหารรงานองค์กรจะได้นำเอาไประยุกต์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อพฤติกรรมของผู้บริหาร ในลักษณะที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลต่อองค์กรให้มากที่สุด
ในทางตรงกันข้ามหากองค์กรใด ขาดผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ก็จะไม่สามารถสั่งการและใช้อิทธิพล ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ประกอบกิจกรรมสำเร็จลุล่วงตามเป้าหายที่กำหนดไว้ได้
ดังนั้นการศึกษาแนวคิดต่าง ๆเกี่ยวกับลักษณะผู้นำ จึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้บริหารรงานองค์กรจะได้นำเอาไประยุกต์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อพฤติกรรมของผู้บริหาร ในลักษณะที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลต่อองค์กรให้มากที่สุด
วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553
วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553
การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงานตอนที่ 9 (Team Work)
การทำงานเป็นทีม Team Work
การทำงานให้สำเร็จขึ้นอยู่กับความสามารถสองอย่างเป็นสำคัญ คือสามารถในการใช้วิชาความรู้อย่างหนึ่ง สามารถในการประสานสัมพันธ์กับผู้อื่นอีกอย่างหนึ่ง ทั้งสองประการนี้ต้องดำเนินคู่กันไป และจำเป็นต้องกระทำด้วยความสุจริตกาย สุจริตใจ ด้วยความคิด ความเห็นที่เป็นอิสระ ปราศจากอคติ และด้วยความถูกต้อง ตามเหตุตามผลด้วย จึงจะช่วยให้งานบรรลุจุดหมายและประโยชน์ที่พึงประสงค์โดยครบถ้วน ( พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9)
" การทำงานไม่จำเป็นต้องเป็นอัจฉริยะ ไม่จำเป็นต้องเหนือผู้อื่น แต่ขอให้ทำงานร่วมกับเขาได้ งานนั้นก็จะสำเร็จ"
การทำงานให้สำเร็จขึ้นอยู่กับความสามารถสองอย่างเป็นสำคัญ คือสามารถในการใช้วิชาความรู้อย่างหนึ่ง สามารถในการประสานสัมพันธ์กับผู้อื่นอีกอย่างหนึ่ง ทั้งสองประการนี้ต้องดำเนินคู่กันไป และจำเป็นต้องกระทำด้วยความสุจริตกาย สุจริตใจ ด้วยความคิด ความเห็นที่เป็นอิสระ ปราศจากอคติ และด้วยความถูกต้อง ตามเหตุตามผลด้วย จึงจะช่วยให้งานบรรลุจุดหมายและประโยชน์ที่พึงประสงค์โดยครบถ้วน ( พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9)
" การทำงานไม่จำเป็นต้องเป็นอัจฉริยะ ไม่จำเป็นต้องเหนือผู้อื่น แต่ขอให้ทำงานร่วมกับเขาได้ งานนั้นก็จะสำเร็จ"
วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553
การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 8-4(แนวทางการบริหารความขัดแย้ง)
แนวทางการบริหารความขัดแย้ง
1.กระตุ้นหรือสนับสนุนให้เกิดความขัดแย้งในเชิงสร้างสรรค์์
1.1 วิธีการกระตุ้น : การประชุมกลุ่ม การสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่ม การเลือกผู้บริหารให้เหมาะสม การใช้ระบบการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การใช้บุคคลภายนอกที่มีแบบแผนค่านิยมความเชื่อที่แตกต่างเข้าไปกระตุ้น หรือการจัดโครงสร้างองค์กรใหม่
1.2 การทำให้เกิดสภาวะการสร้างสรรค์ในองค์กร หมายถึงการสร้างหรือก่อให้เกิดแนวความคิดหรือสิ่งใหม่ ๆขึ้นในองค์กร ทั้งระดับบุคคลและระดับองค์การ
2. การป้องกันการขัดแย้งที่มีลักษณะทำลาย ผู้บริหารควรจะได้หาทางป้องกันความขัดแย้งที่มีลักษณะทำลายไว้ก่อนที่จะสายเกินแก้ โดยใช้หลักการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข หรือสาเหตุที่คาดว่าจะนำไปสูู่ความขัดแย้ง ซึ่งมีวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
2.1 กำหนดเป้าหมายขององค์การ แผนกงานหรือกลุ่มต่างๆรวมทั้งกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกในองค์การให้มีความชัดเจนมากทีี่สุด
2.2 ผู้บริหารต้องเน้นให้แผนกงานหรือกลุ่มงานรับรู้ว่าองค์การนั้นมีเป้าหมายร่วมกันในการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การโดยส่วนรวม
2.3 ส่งเเสริมให้มีกิจกรรมที่สร้างสัมพันธ์และกระซับความสามัคคีระหว่างแผนกงานหรือกลุ่มงาน
2.4 ควรมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนบุคลากร ระหว่างหน่วยงานเพื่อความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน
2.5 ผู้บริหารจัดสรรทรัพยากรอย่างเพียงพอ
2.6 ควรมีผู้ประสานงานระหว่างกลุ่มที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี
1.กระตุ้นหรือสนับสนุนให้เกิดความขัดแย้งในเชิงสร้างสรรค์์
1.1 วิธีการกระตุ้น : การประชุมกลุ่ม การสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่ม การเลือกผู้บริหารให้เหมาะสม การใช้ระบบการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การใช้บุคคลภายนอกที่มีแบบแผนค่านิยมความเชื่อที่แตกต่างเข้าไปกระตุ้น หรือการจัดโครงสร้างองค์กรใหม่
1.2 การทำให้เกิดสภาวะการสร้างสรรค์ในองค์กร หมายถึงการสร้างหรือก่อให้เกิดแนวความคิดหรือสิ่งใหม่ ๆขึ้นในองค์กร ทั้งระดับบุคคลและระดับองค์การ
2. การป้องกันการขัดแย้งที่มีลักษณะทำลาย ผู้บริหารควรจะได้หาทางป้องกันความขัดแย้งที่มีลักษณะทำลายไว้ก่อนที่จะสายเกินแก้ โดยใช้หลักการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข หรือสาเหตุที่คาดว่าจะนำไปสูู่ความขัดแย้ง ซึ่งมีวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
2.1 กำหนดเป้าหมายขององค์การ แผนกงานหรือกลุ่มต่างๆรวมทั้งกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกในองค์การให้มีความชัดเจนมากทีี่สุด
2.2 ผู้บริหารต้องเน้นให้แผนกงานหรือกลุ่มงานรับรู้ว่าองค์การนั้นมีเป้าหมายร่วมกันในการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การโดยส่วนรวม
2.3 ส่งเเสริมให้มีกิจกรรมที่สร้างสัมพันธ์และกระซับความสามัคคีระหว่างแผนกงานหรือกลุ่มงาน
2.4 ควรมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนบุคลากร ระหว่างหน่วยงานเพื่อความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน
2.5 ผู้บริหารจัดสรรทรัพยากรอย่างเพียงพอ
2.6 ควรมีผู้ประสานงานระหว่างกลุ่มที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี
การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 8-3(ประเภทความขัดแย้ง)
ประเภทของความขัดแย้ง
แบ่งอออกเป็น 3 ประเภท
1.ความขัดแย้งในตัวบุคคล(intrapersonal confflict) เป็นความขัดแแย้งที่เกิดขึ้นกับตัวบุุคคลเอง
2.ความขัดแย้งระหว่างบุคคล (interpersonal conflict) เป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล 2 คนหรือมากกว่า ซึ่งเกิดจากการที่มีค่านิยม ความเชื่อ ทัศนคติ และเป้าหมายที่ไม่สอดคล้องกัน
3. ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม (inergroup conflict) เป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มบุคคลสองกลุ่มหรือมากกว่า ซึ่งอาจจะเป็นระหว่างแผนกในองค์การเดียวกันหรือระหว่างองค์การหรือแม้แต่ระหว่างกลุุ่มบุคคลทีนับถือศาสนาต่างกัน
แบ่งอออกเป็น 3 ประเภท
1.ความขัดแย้งในตัวบุคคล(intrapersonal confflict) เป็นความขัดแแย้งที่เกิดขึ้นกับตัวบุุคคลเอง
2.ความขัดแย้งระหว่างบุคคล (interpersonal conflict) เป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล 2 คนหรือมากกว่า ซึ่งเกิดจากการที่มีค่านิยม ความเชื่อ ทัศนคติ และเป้าหมายที่ไม่สอดคล้องกัน
3. ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม (inergroup conflict) เป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มบุคคลสองกลุ่มหรือมากกว่า ซึ่งอาจจะเป็นระหว่างแผนกในองค์การเดียวกันหรือระหว่างองค์การหรือแม้แต่ระหว่างกลุุ่มบุคคลทีนับถือศาสนาต่างกัน
วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ปัจจัยที่เสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน -1
ปัจจัยที่เสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน
1. การเสริมสร้างพลังอำนาจ (Empowerment) แรงจูงใจ (Motivation)
2. การบริหารความขัดแย้ง (Conflict mamagement)
3. การบริหารเวลา (Time management)
4. การทำงานเป็นทีม (Team Work)
1. การเสริมสร้างพลังอำนาจ (Empowerment) แรงจูงใจ (Motivation)
2. การบริหารความขัดแย้ง (Conflict mamagement)
3. การบริหารเวลา (Time management)
4. การทำงานเป็นทีม (Team Work)
บทนำการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารงาน
องค์ประกอบในการสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน
โดยทั่วไปขึ้นกับองค์ประกอบที่สสำคัญ 3 ด้านคือ
1. ผู้บริหาร
2. องค์กรและระบบงาน
3. คนหรือบุคลากรในหน่วยงาน
ผู้บริหาร
เป็นบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดในองค์กรหรือหน่วยงานที่กำหนดตามระเบียบของสังคม ดังนั้นผู้บริหารต้องใช้ภาวะผู้นำเป็นกลไก ชักนำให้คนในองค์กรซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญให้ความร่วมมือในการทำงาน
ผู้บริหารจึงมีการพัฒนาตนเองในทุกๆด้าน ดังนี้
1. บุคลิกภาพ
2. คุณสมบัติ
3. ภาวะผู้นำ
องค์กรและระบบงาน
องค์กรเป็นสถานที่ที่กำหนดขึ้น เพื่อให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับผู้ตาม การจัดองค์กรพยาบาลตั้งมีการจัดองค์กรเพื่อให้ผู้นำและผู้ตามมีส่วนร่วมในการกำหนดตั้งแต่ ปรัชญา ภารกิจ นโยบาย วิธีการ และเป้าหมายขององค์กร ดังนั้นองค์กรต้องจัดระบบงานโดย
1. มีการวางแผนและควบคุมงานที่ดี
2. การจัดระบบงานให้เหมาะสม
3. การประสานงานที่ดี
4.พัฒนาสมรรถภาพของคนให้สูงขึ้น
คนหรือบุคลากรในหน่วยงาน
ผู้บริหารที่มีความสามารถต้องกระตุ้นส่งเสริมบุคลากรให้มีการพัฒนาตนเอง สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี การที่บุคลากรของหน่วยงานจะต้องรู้จักการพัฒนาตนเองเป็นอันดับแรก เริ่มจาก
1. มีความรู้สึกที่ดีต่อทุกคนในองค์กร
2. ให้ความช่วยเหลือกันในยามทุกข์ยาก
3. ดูแลเอาใจใส่ยามเจ็บป่วย
4. ให้ความจริงใจซึ่งกันและกัน
5. รู้และเข้าใจและรู้จักให้อภัยผู้อื่น
6. มีความชื่นชมเมื่อเขาได้ดีมีสุข
โดยทั่วไปขึ้นกับองค์ประกอบที่สสำคัญ 3 ด้านคือ
1. ผู้บริหาร
2. องค์กรและระบบงาน
3. คนหรือบุคลากรในหน่วยงาน
ผู้บริหาร
เป็นบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดในองค์กรหรือหน่วยงานที่กำหนดตามระเบียบของสังคม ดังนั้นผู้บริหารต้องใช้ภาวะผู้นำเป็นกลไก ชักนำให้คนในองค์กรซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญให้ความร่วมมือในการทำงาน
ผู้บริหารจึงมีการพัฒนาตนเองในทุกๆด้าน ดังนี้
1. บุคลิกภาพ
2. คุณสมบัติ
3. ภาวะผู้นำ
องค์กรและระบบงาน
องค์กรเป็นสถานที่ที่กำหนดขึ้น เพื่อให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับผู้ตาม การจัดองค์กรพยาบาลตั้งมีการจัดองค์กรเพื่อให้ผู้นำและผู้ตามมีส่วนร่วมในการกำหนดตั้งแต่ ปรัชญา ภารกิจ นโยบาย วิธีการ และเป้าหมายขององค์กร ดังนั้นองค์กรต้องจัดระบบงานโดย
1. มีการวางแผนและควบคุมงานที่ดี
2. การจัดระบบงานให้เหมาะสม
3. การประสานงานที่ดี
4.พัฒนาสมรรถภาพของคนให้สูงขึ้น
คนหรือบุคลากรในหน่วยงาน
ผู้บริหารที่มีความสามารถต้องกระตุ้นส่งเสริมบุคลากรให้มีการพัฒนาตนเอง สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี การที่บุคลากรของหน่วยงานจะต้องรู้จักการพัฒนาตนเองเป็นอันดับแรก เริ่มจาก
1. มีความรู้สึกที่ดีต่อทุกคนในองค์กร
2. ให้ความช่วยเหลือกันในยามทุกข์ยาก
3. ดูแลเอาใจใส่ยามเจ็บป่วย
4. ให้ความจริงใจซึ่งกันและกัน
5. รู้และเข้าใจและรู้จักให้อภัยผู้อื่น
6. มีความชื่นชมเมื่อเขาได้ดีมีสุข
การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 8-2(ความขัดแย้งในองค์กร)
ความขัดแย้งในองค์กร
ในองค์กร มีหน่วยงาน และบุคลากรมากมาย เป็นกลุ่ม เป็นทีม
มีผู้นำและผู้ตาม การทำงานในองค์กรย่อมมีความขัดแย้งไม่มากก็น้อย
สาเหตุ : เกิดจาก
-ลักษณะองค์กร
-ผลประโยชน์ไม่สมดุล
-ความแตกต่างของเป้าหมาย
-บุคคลต้องปฏิบัติร่วมกัน
-ความคาดหวังที่แตกต่างกัน
-การประสานงานระหว่างหน่วยงานย่อย
-ความแตกต่างของกลุ่มในการปฏิบัติงาน
-กระบวนการสื่อสาร
ในองค์กร มีหน่วยงาน และบุคลากรมากมาย เป็นกลุ่ม เป็นทีม
มีผู้นำและผู้ตาม การทำงานในองค์กรย่อมมีความขัดแย้งไม่มากก็น้อย
สาเหตุ : เกิดจาก
-ลักษณะองค์กร
-ผลประโยชน์ไม่สมดุล
-ความแตกต่างของเป้าหมาย
-บุคคลต้องปฏิบัติร่วมกัน
-ความคาดหวังที่แตกต่างกัน
-การประสานงานระหว่างหน่วยงานย่อย
-ความแตกต่างของกลุ่มในการปฏิบัติงาน
-กระบวนการสื่อสาร
วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553
การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 8-1(ความขัดแย้งของบุคคล)
ความขัดแย้งของบุคคล
เป็นความขัดแย้งที่เกิดจากที่บุคคลมีความแตกต่างกันทั้งค่านิยม ความเชื่อ ทัศนคติ และเป้าหมายที่ไม่สอดคล้องกัน ซึ่งคนแต่ละคนล้วนมีประสบการณ์ของตัวเองมีการเรียนรู้ มีการรับรู้ที่อาจเหมือนกัน ใกล้เคียงกัน หรือแตกต่างกันก็ได้
สาเหตุ: โดยเกิดจากภูมิหลังของบุคคล ตาม
-แบบฉบับของแต่ละคน
-ความรับรู้
-กระบวนการสื่อสารของบุคคล
-สภาพขององค์การไม่เอื้ออำนวย
-ความต้องการของบุุคคลไม่ด้รับการตอบสนองที่เหมาะสม
-สถานภาพ
เป็นความขัดแย้งที่เกิดจากที่บุคคลมีความแตกต่างกันทั้งค่านิยม ความเชื่อ ทัศนคติ และเป้าหมายที่ไม่สอดคล้องกัน ซึ่งคนแต่ละคนล้วนมีประสบการณ์ของตัวเองมีการเรียนรู้ มีการรับรู้ที่อาจเหมือนกัน ใกล้เคียงกัน หรือแตกต่างกันก็ได้
สาเหตุ: โดยเกิดจากภูมิหลังของบุคคล ตาม
-แบบฉบับของแต่ละคน
-ความรับรู้
-กระบวนการสื่อสารของบุคคล
-สภาพขององค์การไม่เอื้ออำนวย
-ความต้องการของบุุคคลไม่ด้รับการตอบสนองที่เหมาะสม
-สถานภาพ
การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 8(การบริหารความขัดแย้ง)
การบริหารความขัดแย้ง
ความหมาย : ความรู้สึกหรือปฏิกิริยาของบุคคล หรือกลุ่มบุคคลในองค์กรที่มีความเห็น
ความต้องการ ค่านิยม และเป้าหมาายไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งการต่อสู้กัน
เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด หรือการที่ฝ่ายหนึ่งรุกล้ำ หรือขัดขวางการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่ง
เพื่อให้เป้าหมายของตนบรรลุผล
สาเหตุ ของความขัดแย้ง
1. ความขัดแย้งของบุคคล
2.ความขัดแย้งในองค์กร
ความหมาย : ความรู้สึกหรือปฏิกิริยาของบุคคล หรือกลุ่มบุคคลในองค์กรที่มีความเห็น
ความต้องการ ค่านิยม และเป้าหมาายไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งการต่อสู้กัน
เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด หรือการที่ฝ่ายหนึ่งรุกล้ำ หรือขัดขวางการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่ง
เพื่อให้เป้าหมายของตนบรรลุผล
สาเหตุ ของความขัดแย้ง
1. ความขัดแย้งของบุคคล
2.ความขัดแย้งในองค์กร
การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 7 - 3 (บทสรุปการบริหารเวลา)
การบริหารเวลาเป้นเครื่องมือที่สำคัญ ในการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การใช้เวลาออย่างไร้ประโยชน์ จะทำให้เกิดความเครียด ความกังวล จนถึงขั้น
"เสียบุคลิกภาพ"
ท่านคิดว่า ท่านจะเป็นผู้บริหารงานที่บริหารเวลา ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ได้อย่างไร ?
เป็นประเด็น น่าคิด.........
การใช้เวลาออย่างไร้ประโยชน์ จะทำให้เกิดความเครียด ความกังวล จนถึงขั้น
"เสียบุคลิกภาพ"
ท่านคิดว่า ท่านจะเป็นผู้บริหารงานที่บริหารเวลา ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ได้อย่างไร ?
เป็นประเด็น น่าคิด.........
การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 7 - 2 (การบริหารเวลา)
หลักการบริหารเวลา 10 ประการ
"สเตฟานี คาล์พ" เสนอหลักการบริหารงานไว้ 10 ประการคือ
1.จงตระหนักถึงคุณค่าของเวลาที่มีอยู่
2.จงวางแผน
3.จงจัดลำดับเรื่องที่จะทำในแต่ละวัน
4.จงเขียนรายการโครงการที่ต้องทำ
5.จงจัดสรรเวลาให้เหมาะสม
6.หัดเป็นคนมีความยืดหยุ่น
7.หัดพูดคำว่า "ไม่"
8. หาสมุดบันทึกคู่ใจ
9.จงเป้นคนที่รู้จักยอมเสียความสมบูรณ์แบบบ้าง
10.หาทางแบ่งเบาภาระในงานและชีวิตลงบ้าง
"สเตฟานี คาล์พ" เสนอหลักการบริหารงานไว้ 10 ประการคือ
1.จงตระหนักถึงคุณค่าของเวลาที่มีอยู่
2.จงวางแผน
3.จงจัดลำดับเรื่องที่จะทำในแต่ละวัน
4.จงเขียนรายการโครงการที่ต้องทำ
5.จงจัดสรรเวลาให้เหมาะสม
6.หัดเป็นคนมีความยืดหยุ่น
7.หัดพูดคำว่า "ไม่"
8. หาสมุดบันทึกคู่ใจ
9.จงเป้นคนที่รู้จักยอมเสียความสมบูรณ์แบบบ้าง
10.หาทางแบ่งเบาภาระในงานและชีวิตลงบ้าง
การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 7 - 1 (การบริหารเวลา)
ขั้นตอนในการวางแผนในการบริหารเวลา มี 6 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 จัดภารกิจแห่งชีวิต : กำหนดภารกิจในชีวิตให้ชัดเจน
ขั้นตอนที่ 2 กำหนดเป้าประสงค์ : กำหนดการลงมือกระทำสิ่งที่ต้องการทำให้สำเร็จในช่วงเเวลาหนึ่ง
ขั้นตอนที่ 3 งานที่คั่งค้าง : จัดลำดับความสำคัญของงานที่คั่งค้าง ซึ่งต้องทำให้สำเร็จ เขียนรายการสิ่งเหล่านั้นในสมุดบันทึกและจัดหมวดหมู่ของงาน
ขันตอนที่ 4 จัดโครงการที่จะทำเพื่อจัดระเบียบให้ชีวิต โดยวางแผนเป็นโครงการ จะสามารถบริิหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิผล
ขั้นตอนที่ 5 จัดลำดับความสำคัยของโโครงการ เพื่อปฏิบัติก่อนหลัง โดยดูจากเป้าประสงค์ ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ขั้นตอนที่ 6 ลงมือปกิบัติตามกำหนดการที่ตั้งไว้ โดยแผนการต้องมีความยืดหยุ่น โดยต้องเผื่อตารางเวลาหากมีงานเร่งด่วน
ขั้นตอนที่ 1 จัดภารกิจแห่งชีวิต : กำหนดภารกิจในชีวิตให้ชัดเจน
ขั้นตอนที่ 2 กำหนดเป้าประสงค์ : กำหนดการลงมือกระทำสิ่งที่ต้องการทำให้สำเร็จในช่วงเเวลาหนึ่ง
ขั้นตอนที่ 3 งานที่คั่งค้าง : จัดลำดับความสำคัญของงานที่คั่งค้าง ซึ่งต้องทำให้สำเร็จ เขียนรายการสิ่งเหล่านั้นในสมุดบันทึกและจัดหมวดหมู่ของงาน
ขันตอนที่ 4 จัดโครงการที่จะทำเพื่อจัดระเบียบให้ชีวิต โดยวางแผนเป็นโครงการ จะสามารถบริิหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิผล
ขั้นตอนที่ 5 จัดลำดับความสำคัยของโโครงการ เพื่อปฏิบัติก่อนหลัง โดยดูจากเป้าประสงค์ ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ขั้นตอนที่ 6 ลงมือปกิบัติตามกำหนดการที่ตั้งไว้ โดยแผนการต้องมีความยืดหยุ่น โดยต้องเผื่อตารางเวลาหากมีงานเร่งด่วน
การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 7(การบริหารเวลา)
การบริหารเวลา (Time Management)
การบริหารเวสาของผู้นำ เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งเราะเป็นการช่วยให้คนเราตระหนักว่า การทำงานมาก การรับผิดชอบมาก ไม่ใช่เรื่องงยากและน่าหนักใจ ถ้าเข้าใจเรื่อง เวลา ในฐานะเป็นเงื่อนไข หรือ ข้อจำกัด ที่สำคัญ เราสามารถที่จะสรรงาน แบ่งงาน ที่สำคัญที่สุดทำก่อน ได้อย่างถูกต้อง
ประเภทของการใช้เวลา สามารถแยกเป็น 5 ปรเภท คือ
1. สำคัญละเร่งด่วน
2. สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน
3. เร่งด่วนแต่่ไม่สำคัญ
4. ยุ่งเหยิง
5. เสียเวลาเปล่า
การบริหารเวสาของผู้นำ เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งเราะเป็นการช่วยให้คนเราตระหนักว่า การทำงานมาก การรับผิดชอบมาก ไม่ใช่เรื่องงยากและน่าหนักใจ ถ้าเข้าใจเรื่อง เวลา ในฐานะเป็นเงื่อนไข หรือ ข้อจำกัด ที่สำคัญ เราสามารถที่จะสรรงาน แบ่งงาน ที่สำคัญที่สุดทำก่อน ได้อย่างถูกต้อง
ประเภทของการใช้เวลา สามารถแยกเป็น 5 ปรเภท คือ
1. สำคัญละเร่งด่วน
2. สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน
3. เร่งด่วนแต่่ไม่สำคัญ
4. ยุ่งเหยิง
5. เสียเวลาเปล่า
การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 6 การเสริมสร้างพลังอำนาจ
การเสริมสร้างพลังอำนาจ, การมอบอำนาจ (Empowerment)
การที่องค์กรจะประสบความสำเร็จและก้าวไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ
ของทุกคน ซึ่งจะเป็นเช่นนั้นได้ก็ต่อเมื่อ พนักงานในองค์กรมีอิสระที่จะคิดและทำสิ่งต่างๆได้ สามารถ
ซักถามถึงนโยบายและวิธีปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพหรือการบริหารงาน หรือแม้กระทั่งได้มีโอกาส
ทดลองและประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ เราเรียกวิธีการนี้ว่า Self -Empowerment คือการให้พนักงานมีอำนาจในตัวเอง มีอำนาจในการตัดสินใจ หรือทำสิ่งต่างๆโดยไม่ต้องขออนุมัติทุกครั้งไป ผู้บริหารจะต้อง มีความเชื่อมั่นในพนักงานของตนให้พนักงานทุกคนได้รับทราบข้อมูล และมีส่วนร่วมในการดำเนินการขององค์กร โดยที่ฝ่ายบริหารรับฟังและนำความคิดของเขามาใช้ด้วย ซึ่งจะทำให้พนักงานได้ใช้ความคิดความอ่าน ประสบการณ์ การหยั่งรู้ และความคิดสร้างสรรค์ของเขาเองเพื่อช่วยให้องค์กรมีการปรับปรุงและประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
ดังนั้น การดึงเอาศักยภาพในตัวบุคคลออกมาให้มากที่สุดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น นำไปสู่การมอบ
อำนาจหน้าที่หรือการกระจายอำนาจ (Empowerment) เพื่อให้ให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ของ
องค์กร
ความหมายคำศัพทืที่เกี่ยวข้อง
"EMPOWERMENT" หมายความว่า การให้อำนาจ การให้ความสามารถ การทำให้สามารถ การอนุญาต หรือการเปิดโอกาสให้
"INFLUENCE" หมายความว่า อำนาจชักจูง อำนาจบังคับ อำนาจวาสนา หรืออิทธิพล ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อบุคคลคนหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่ง ทำให้มีผลกระทบกระเทือน ต่อการที่บุคคลอื่น หรือกลุ่มอื่นคิด หรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด
"POWER" หมายความว่า กำลัง ความสามารถ หรืออำนาจ ซึ่งเป็นศักยภาพ ที่บุคคลคนหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่งมีอิทธิพลต่อบุคคลอื่น หรือกลุ่มอื่น หรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด
"AUTHORITY" หมายความว่า อำนาจบังคับบัญชา เป็นอำนาจพิเศษชนิดหนึ่ง ซึ่งให้แก่บุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่งอย่างเป็นทางการ เพราะตำแหน่งหน้าที่ หรือบทบาท ซึ่งมีอยู่ในองค์การแห่งนั้น เช่น ผู้จัดการ มีอำนาจบังคับบัญชาฝ่ายต่างๆ ในองค์การ หรือคณะกรรมการบริหาร มีอำนาจบังคับบัญชา ที่จะตัดสินใจเรื่องบางอย่าง ให้องค์การแห่งนั้น
http://advisor.anamai.moph.go.th . EMPWERMENT. รศ.นพ.เมืองทอง เขมมณี. (ค้นเมื่อ
8สิงหาคม 2553 เวลา 15.20 น.)
การที่องค์กรจะประสบความสำเร็จและก้าวไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ
ของทุกคน ซึ่งจะเป็นเช่นนั้นได้ก็ต่อเมื่อ พนักงานในองค์กรมีอิสระที่จะคิดและทำสิ่งต่างๆได้ สามารถ
ซักถามถึงนโยบายและวิธีปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพหรือการบริหารงาน หรือแม้กระทั่งได้มีโอกาส
ทดลองและประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ เราเรียกวิธีการนี้ว่า Self -Empowerment คือการให้พนักงานมีอำนาจในตัวเอง มีอำนาจในการตัดสินใจ หรือทำสิ่งต่างๆโดยไม่ต้องขออนุมัติทุกครั้งไป ผู้บริหารจะต้อง มีความเชื่อมั่นในพนักงานของตนให้พนักงานทุกคนได้รับทราบข้อมูล และมีส่วนร่วมในการดำเนินการขององค์กร โดยที่ฝ่ายบริหารรับฟังและนำความคิดของเขามาใช้ด้วย ซึ่งจะทำให้พนักงานได้ใช้ความคิดความอ่าน ประสบการณ์ การหยั่งรู้ และความคิดสร้างสรรค์ของเขาเองเพื่อช่วยให้องค์กรมีการปรับปรุงและประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
ดังนั้น การดึงเอาศักยภาพในตัวบุคคลออกมาให้มากที่สุดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น นำไปสู่การมอบ
อำนาจหน้าที่หรือการกระจายอำนาจ (Empowerment) เพื่อให้ให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ของ
องค์กร
ความหมายคำศัพทืที่เกี่ยวข้อง
"EMPOWERMENT" หมายความว่า การให้อำนาจ การให้ความสามารถ การทำให้สามารถ การอนุญาต หรือการเปิดโอกาสให้
"INFLUENCE" หมายความว่า อำนาจชักจูง อำนาจบังคับ อำนาจวาสนา หรืออิทธิพล ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อบุคคลคนหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่ง ทำให้มีผลกระทบกระเทือน ต่อการที่บุคคลอื่น หรือกลุ่มอื่นคิด หรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด
"POWER" หมายความว่า กำลัง ความสามารถ หรืออำนาจ ซึ่งเป็นศักยภาพ ที่บุคคลคนหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่งมีอิทธิพลต่อบุคคลอื่น หรือกลุ่มอื่น หรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด
"AUTHORITY" หมายความว่า อำนาจบังคับบัญชา เป็นอำนาจพิเศษชนิดหนึ่ง ซึ่งให้แก่บุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่งอย่างเป็นทางการ เพราะตำแหน่งหน้าที่ หรือบทบาท ซึ่งมีอยู่ในองค์การแห่งนั้น เช่น ผู้จัดการ มีอำนาจบังคับบัญชาฝ่ายต่างๆ ในองค์การ หรือคณะกรรมการบริหาร มีอำนาจบังคับบัญชา ที่จะตัดสินใจเรื่องบางอย่าง ให้องค์การแห่งนั้น
http://advisor.anamai.moph.go.th . EMPWERMENT. รศ.นพ.เมืองทอง เขมมณี. (ค้นเมื่อ
8สิงหาคม 2553 เวลา 15.20 น.)
วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553
การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 5
5. ทฤษฎีความเสมอค่า (Equity Theory)
Stacy J. Adams ได้ศึกษากระบวนการเปรียบเทียบทางสังคม โดยประเมินถึงความสัมพันธ์ทางสังคมกับสิ่งที่คาดหวังจะได้รับผลตอบแทนว่า " คุ้มค่ากับสิ่งที่ต้องลงทุนไปหรือไม่?"
Stacy J. Adams ได้ศึกษากระบวนการเปรียบเทียบทางสังคม โดยประเมินถึงความสัมพันธ์ทางสังคมกับสิ่งที่คาดหวังจะได้รับผลตอบแทนว่า " คุ้มค่ากับสิ่งที่ต้องลงทุนไปหรือไม่?"
ดังนั้นทฤษฎีความเสมอค่า ตั้งอยู๋บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานที่ว่าคนได้รับมีความสัมพันธ์กับผลตอบแทนอย่างไร อะไรคือสิ่งที่คนงานได้รับจากงานหรือองค์การ สิ่งที่เขาได้ลงทุนไป (Input) คุ้มกับสิ่งที่ตอบแทนที่เขาได้รับจากงานและองค์การ(out come)อย่างไร?
Stacy J. Adams : ได้อธิบายรายละเอียดของทฤษฎีความเสมอภาคไว้ดังนี้
1. กระบวนการเปรียบเทียบ (Comparison Process) แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุน (inputs) กับสิ่งที่ได้รับการตอบแทนหรือผลลัพธ์ที่ได้ (Outcomes) โดยยึดเรื่องสังคม (Social) เป็นมาตรฐานมากกว่าที่จะกำหนดกฎเกณฑ์อะไรเป็นมาตรฐานเครื่องวัดที่แน่นอน เช่น การประเมินเปรียบเทียบถึงความสัมพันธ์ของผลลัพธ์ที่เขาได้รับกับผลลัพธ์ที่คนอื่นในสังคมได้รับว่ามีความมากน้อยต่างกันอย่างไร?
2. สิ่งที่ได้ลงทุน (Inputs) หมายถึงปัจจัยหรือองค์ประกอบของตัวบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการทำงานไม่ว่าจะเป็น ความพยายาม ความตั้งใจ การอุทิศตนให้กับการปฏิบัติงาน การศึกาา การใช้ทักษะ การใช้ศักยภาพที่ตนมีอยู่ เวลา และต้นทุนของช่วงโอกาสที่มีคุณค่าสำหรับตัวเขา
"สิ่งที่คนได้ลงทุน (Inputs) เปรียบเทียบกับความเสมอค่า (equity) ที่เขายอมเสียสละอุทิศตน เวลา และโอกาส ฯลฯ ให้กับงานที่เขาทำอยู่ว่า คุ้มค่ากับผลตอบแทนที่เขาได้รับจากองคืกรหรือไม่?"
3. สิ่งที่ได้รับตอบแทน (Outcomes) หมายถึงผลตอบแทนหรือผลประโยชน์ทั้งหมด ที่บุคคลจะได้รับจากองค์กรนั้น เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ ตำแหน่งหน้าที่การงาน บทบาทในหน้าที่ ความก้าวหน้า ความมั่นคง ผลประโยชน์ที่ได้รับจากรูปแบบอื่นๆ เช่นเกียรติยสชื่อเสียงที่ได้รับการยอมรับจากสังคม ฯลฯ ซึ่งความสำคัย คุณค่าของสิ่งตอบแทน(Out comes) ขึ้นอยู่กับการรับรู้ที่มีในตัวบุคคลมากกว่า
การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 4
ทฤษฎีให้ได้มาซึ่งความต้องการ (Acquired Theory)
David McClelland แสดงให้เห็นถึงประเภทความต้องการที่หามาได้ระหว่างช่วงชีวิตของแต่ละคน คนไม่ได้เกิดขึ้นมาพร้อมกับความต้องการเหล่านี้ แต่เขาอาจจะเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ในชีวิตของพวกเขา โดยส่วนใหญ่คนมีความต้องการอยู่ 3 อย่าง
1.ความต้องการสัมฤทธิ์ผล (Need for Achivement) : คนมีความต้องการที่จะทำบางสิ่งที่ยากให้สำเร็จลุล่วงตามมาตรฐานความสำเร็จขั้นสูง ต้องงการมีความชำนญที่ซับซ้อน และมีความเหนือกว่าคนอืื่น
2.ความต้องการมีมิตรสัมพันธ์ (Need for Affillation) : คนมีความปรารถนาที่จะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุคคลอื่น หลีกเลี่ยงความขัดแย้งและสร้างความเป็นมิตรที่อบอุ่น
3. ความต้องการอำนาจ(Need for Power): คนมีความปรารถนาที่จะมีอิทธิพลเหนือหรือบังคับคนอื่นๆ มีความรับผิดชอบเพื่อคนอื่น และมีอำนาจเหนือคนอื่น
Acquired Theory |
1.ความต้องการสัมฤทธิ์ผล (Need for Achivement) : คนมีความต้องการที่จะทำบางสิ่งที่ยากให้สำเร็จลุล่วงตามมาตรฐานความสำเร็จขั้นสูง ต้องงการมีความชำนญที่ซับซ้อน และมีความเหนือกว่าคนอืื่น
2.ความต้องการมีมิตรสัมพันธ์ (Need for Affillation) : คนมีความปรารถนาที่จะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุคคลอื่น หลีกเลี่ยงความขัดแย้งและสร้างความเป็นมิตรที่อบอุ่น
3. ความต้องการอำนาจ(Need for Power): คนมีความปรารถนาที่จะมีอิทธิพลเหนือหรือบังคับคนอื่นๆ มีความรับผิดชอบเพื่อคนอื่น และมีอำนาจเหนือคนอื่น
วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553
การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 3
ทฤษฎีแรงจูงใจในการทำงาน (ต่อ)
3. Douglas Mcgreger Theory
Douglas Mcgreger เชื่อว่า
1. ทฤษฎี X : มีความเชื่อในเชิง ลบ ต่อมนูษย์ " โดยธรรมชาติมนุษย์ ไม่ชอบ ทำงาน มีความเกียจคร้าน จึงต้องปกครองเข้มงวด มนุษย์จะอยากทำงานเมื่อมีสิ่งจูงใจ ที่เป็น ตัวเงิน
2. ทฤษฎี Y : มีความเชื่อในเชิง บวก ต่อมนูษย์ " โดยธรรมชาติมนุษย์ ชอบ ทำงาน มีความรับผิดชอบ และระเบียบวินัย จึงไม่ต้องปกครองบังคับบัญชาหรือการควบคุมแบบเข้มงวดมาก มนุษย์มองเหตุผลทางสังคมและจิตใจมากกว่าเหตุผลทางเศรษฐกิจ เช่นค่านิยม เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือการยอมรับ เป็นต้น
4. ทฤษฎี Z : William Ouchi เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์และความดีในตัว ควรเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงาน ได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ
3. Douglas Mcgreger Theory
Douglas Mcgreger เชื่อว่า
1. ทฤษฎี X : มีความเชื่อในเชิง ลบ ต่อมนูษย์ " โดยธรรมชาติมนุษย์ ไม่ชอบ ทำงาน มีความเกียจคร้าน จึงต้องปกครองเข้มงวด มนุษย์จะอยากทำงานเมื่อมีสิ่งจูงใจ ที่เป็น ตัวเงิน
2. ทฤษฎี Y : มีความเชื่อในเชิง บวก ต่อมนูษย์ " โดยธรรมชาติมนุษย์ ชอบ ทำงาน มีความรับผิดชอบ และระเบียบวินัย จึงไม่ต้องปกครองบังคับบัญชาหรือการควบคุมแบบเข้มงวดมาก มนุษย์มองเหตุผลทางสังคมและจิตใจมากกว่าเหตุผลทางเศรษฐกิจ เช่นค่านิยม เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือการยอมรับ เป็นต้น
4. ทฤษฎี Z : William Ouchi เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์และความดีในตัว ควรเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงาน ได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ
วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553
การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 2
ทฤษฎีในการเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงาน (ต่อ)
2. ทฤษฎีลำดับขั้นของความต้องการของ Abraham Maslow
เชื่อว่าธรรมชาติของมนุษย์มีความต้องกันเป้นลำดับขั้นจากพื้นฐานไปสู่จุดสูงสุด จัดลำดับเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้
1. Physiology Needs เป็นความต้องการพื้นฐานต่ำสุดของมนุษยืได้แก่ความต้องการเรื่องอาหาร น้ำอากาศ รวมถึงสิ่งที่จำเป้นต่อการดำรงชีวิต
2. Safety Needs เป็นความต้องการมั่นคงปลอดภัย ไม่ถูกคุกคาม ตอบสนองความต้องการให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในระดับนี้คือ การทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้สึกมั่นคง ยุติธรรม และปลอดภัยในการทำงาน มีระบบสวัสดิการ
3. Belonging Needs เป็นความต้องการที่จะมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ความรัก ความผูกพันมิตรภาพกับผู้อื่น การจัดสิ่งจุงใจ เพื่อตอบสนองความต้องการระดับนี้คือ การจัดดอกาสให้แก่ผู้ปฏิบัติงานได้มีกิจกรรมร่วมกันเช่นการทำงานเป็นทีม การแข่งกีฬา การประชุมสัมมนา เป็นต้น
4. Esteem Needs เป็นความต้องการที่จะยกย่องชูเกียรติ ชื่อเสียง จากผู้อื่นเมื่อคนพบกับความสำเร็จใด ๆ การจัดสิ่งจูงใจเพื่อตอบสนองความต้องการขั้นนี้คือประกาศเกียรติคุณ การได้โล่รางวัล การยกย่องเมื่อปฏิบัติงานสำเร็จ
5. Self Actualization เป็นความต้องการที่จะได้ทำอะไรได้สำเร็จตามที่ตนเองใฝ่ฝัน หรือปรารถนาไว้ โดยทั่วไปมนุษย์จะต้องการขั้นนี้เมื่อผ่านขั้น 1-4 มาแล้ว
2. ทฤษฎีลำดับขั้นของความต้องการของ Abraham Maslow
เชื่อว่าธรรมชาติของมนุษย์มีความต้องกันเป้นลำดับขั้นจากพื้นฐานไปสู่จุดสูงสุด จัดลำดับเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้
1. Physiology Needs เป็นความต้องการพื้นฐานต่ำสุดของมนุษยืได้แก่ความต้องการเรื่องอาหาร น้ำอากาศ รวมถึงสิ่งที่จำเป้นต่อการดำรงชีวิต
2. Safety Needs เป็นความต้องการมั่นคงปลอดภัย ไม่ถูกคุกคาม ตอบสนองความต้องการให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในระดับนี้คือ การทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้สึกมั่นคง ยุติธรรม และปลอดภัยในการทำงาน มีระบบสวัสดิการ
3. Belonging Needs เป็นความต้องการที่จะมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ความรัก ความผูกพันมิตรภาพกับผู้อื่น การจัดสิ่งจุงใจ เพื่อตอบสนองความต้องการระดับนี้คือ การจัดดอกาสให้แก่ผู้ปฏิบัติงานได้มีกิจกรรมร่วมกันเช่นการทำงานเป็นทีม การแข่งกีฬา การประชุมสัมมนา เป็นต้น
4. Esteem Needs เป็นความต้องการที่จะยกย่องชูเกียรติ ชื่อเสียง จากผู้อื่นเมื่อคนพบกับความสำเร็จใด ๆ การจัดสิ่งจูงใจเพื่อตอบสนองความต้องการขั้นนี้คือประกาศเกียรติคุณ การได้โล่รางวัล การยกย่องเมื่อปฏิบัติงานสำเร็จ
5. Self Actualization เป็นความต้องการที่จะได้ทำอะไรได้สำเร็จตามที่ตนเองใฝ่ฝัน หรือปรารถนาไว้ โดยทั่วไปมนุษย์จะต้องการขั้นนี้เมื่อผ่านขั้น 1-4 มาแล้ว
Thidaratana: การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 1
Thidaratana: การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 1: "การสร้างแรงจูงใจ (Motivation) เป็นวิธีทางจิตวิทยาที่ถูกนำมาใช้ในงานบริหารโดยเชื่อว่าสามารถดึงดูดใจ และเพิ่มพลังในการทำงานให้กับผู้ปฏิบัติงาน..."
การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน ตอนที่ 1
การสร้างแรงจูงใจ (Motivation)
เป็นวิธีทางจิตวิทยาที่ถูกนำมาใช้ในงานบริหารโดยเชื่อว่าสามารถดึงดูดใจ และเพิ่มพลังในการทำงานให้กับผู้ปฏิบัติงานอันจะนำมาซึ่งประสิทธิภาพขององค์กรได้ประเด็นนี้
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1. Frederick Herzberg นักทฤษฎีชาวตะวันตกได้ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานสถานประกอบการแห่งหนึ่งพบว่า ปัจจัยที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความรู้สึกพึงพอใจในการทำงาน 2 ปัจจัย ดังนี้
1.1 ปัจจัยภายใน (Motivation Factor) เป็นปัจจัยด้านรู้สึกนึกคิด ความคาดหวัง ความต้องการของตัวผู้ปฏิบัติเองว่าจะมีพลังในการทำงานเพิ่มขึ้น มีความสำคัญต่อผู้ปฏิบัติงานมากและเป้นเรื่องละเอียดอ่อน
1.2 ปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยค้ำจุน (Hygine Factor) เป็นปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมของผู้ปฏิบัติงานอันได้แก่นโยบายองค์กร การบังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชา เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานรวมถึงสิ่งจูงใจที่เป็นตัวเงิน เช่นเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา โบนัสตลอดจนสวัสดิการต่าง ๆ
เป็นวิธีทางจิตวิทยาที่ถูกนำมาใช้ในงานบริหารโดยเชื่อว่าสามารถดึงดูดใจ และเพิ่มพลังในการทำงานให้กับผู้ปฏิบัติงานอันจะนำมาซึ่งประสิทธิภาพขององค์กรได้ประเด็นนี้
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1. Frederick Herzberg นักทฤษฎีชาวตะวันตกได้ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานสถานประกอบการแห่งหนึ่งพบว่า ปัจจัยที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความรู้สึกพึงพอใจในการทำงาน 2 ปัจจัย ดังนี้
1.1 ปัจจัยภายใน (Motivation Factor) เป็นปัจจัยด้านรู้สึกนึกคิด ความคาดหวัง ความต้องการของตัวผู้ปฏิบัติเองว่าจะมีพลังในการทำงานเพิ่มขึ้น มีความสำคัญต่อผู้ปฏิบัติงานมากและเป้นเรื่องละเอียดอ่อน
1.2 ปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยค้ำจุน (Hygine Factor) เป็นปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมของผู้ปฏิบัติงานอันได้แก่นโยบายองค์กร การบังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชา เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานรวมถึงสิ่งจูงใจที่เป็นตัวเงิน เช่นเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา โบนัสตลอดจนสวัสดิการต่าง ๆ
วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
Utility Theory
บทที่ 3
นักเศรษฐศาสตร์ ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มุ่งแสวงหาความพึงพอใจสูงสุด โดยอธิบายพฤติกรรมที่แสดงออกมา
วิธีการหนึ่งคือ ทฤษฎีอรรถประโยชน์ (Utility Theory)
สาระสำคัญของทฤษฎี :
1.ความพอใจของมนุษย์ต่อการเลือกใช้สินค้าหรือบริการวัดออกมาเป้นหน่วยได้ คือ ยูทิล (Utils)
2.ระดับความพอใจในสินค้าหรือบริการใด ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงโดยเพิ่มหรือลดได้ จนอาจไม่มีความพอใจแล้ว นั่นคือ อรรถประโยชน์= 0
3.อรรถประโยชน์รวม (Total Utility: TU) คือผลรวมทั้งหมดของความพอใจที่เกิดขึ้นจากการบริโภคสินค้าหรือบริการชนิดหนึ่ง
4.อรรถประโยชน์เพิ่ม (Marginal Utility : MU) คือความพอใจที่เกิดขึ้นจากการบริโภคสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้นอีก 1 หน่วย
5.MU= การเปลี่ยนแปลงของอรรถประโยชน์รวม / การเปลี่ยนแปลงของปริมารสินค้าและบริการที่บริโภค
6.Law of dimnishing utility : กฎนี้กล่าวว่า ผู้บริโภคจะได้รับความพอใจสูงขึ้นจากการได้สินค้ามากหน่วยขึ้น จนถึงระดับหนึ่งที่ผู้บริโภคได้รับสินค้า ความพอใจเริ่มลดลง หากเขายังได้รับสินค้าเพิ่มขึ้นต่อไปอีก เขาจะไม่ได้รับความพอใจเพิ่มขึ้นอีก ในทางตรงกันข้ามความพอใจกลับลดลงเรื่อย ๆจนติดลบในที่สุด
นักเศรษฐศาสตร์ ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มุ่งแสวงหาความพึงพอใจสูงสุด โดยอธิบายพฤติกรรมที่แสดงออกมา
วิธีการหนึ่งคือ ทฤษฎีอรรถประโยชน์ (Utility Theory)
สาระสำคัญของทฤษฎี :
1.ความพอใจของมนุษย์ต่อการเลือกใช้สินค้าหรือบริการวัดออกมาเป้นหน่วยได้ คือ ยูทิล (Utils)
2.ระดับความพอใจในสินค้าหรือบริการใด ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงโดยเพิ่มหรือลดได้ จนอาจไม่มีความพอใจแล้ว นั่นคือ อรรถประโยชน์= 0
3.อรรถประโยชน์รวม (Total Utility: TU) คือผลรวมทั้งหมดของความพอใจที่เกิดขึ้นจากการบริโภคสินค้าหรือบริการชนิดหนึ่ง
4.อรรถประโยชน์เพิ่ม (Marginal Utility : MU) คือความพอใจที่เกิดขึ้นจากการบริโภคสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้นอีก 1 หน่วย
5.MU= การเปลี่ยนแปลงของอรรถประโยชน์รวม / การเปลี่ยนแปลงของปริมารสินค้าและบริการที่บริโภค
6.Law of dimnishing utility : กฎนี้กล่าวว่า ผู้บริโภคจะได้รับความพอใจสูงขึ้นจากการได้สินค้ามากหน่วยขึ้น จนถึงระดับหนึ่งที่ผู้บริโภคได้รับสินค้า ความพอใจเริ่มลดลง หากเขายังได้รับสินค้าเพิ่มขึ้นต่อไปอีก เขาจะไม่ได้รับความพอใจเพิ่มขึ้นอีก ในทางตรงกันข้ามความพอใจกลับลดลงเรื่อย ๆจนติดลบในที่สุด
วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553
วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553
พฤติกรรมผู้บริโภค ตอนที่1
ปัจจัยกำหนดพฤติกรรมของผู้บริโภคในการซื้อบริการสุขภาพ
เหตุใดคนจึงมาหาหมอ
ความรุนแรงของโรค Severity : S
ราคาบริการ Price : P
ระดับรายได้ Income : Y
ฤดูกาล Season :ss
อายุ AGE : AGE
เพศ Gender : GD
พันธุกรรม Genetic : GE
พื้นฐานการศึกษา Education : EDU
DH=f(S,P,Y,SS,AGE,GD.GE,EDU)
เหตุใดคนจึงมาหาหมอ
ความรุนแรงของโรค Severity : S
ราคาบริการ Price : P
ระดับรายได้ Income : Y
ฤดูกาล Season :ss
อายุ AGE : AGE
เพศ Gender : GD
พันธุกรรม Genetic : GE
พื้นฐานการศึกษา Education : EDU
DH=f(S,P,Y,SS,AGE,GD.GE,EDU)
วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2553
พฤติกรรมผู้บริโภค
ผู้บริโภค : Consumer
คือบุคคล หรือครัวเรือน ซึ่งอาจจะประกอบไปด้วยคนคนเดียวหรือหลายคนเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการส่วนตัวหรือครอบครัว
พฤติกรรมผู้บริโภค : Consumer Behavior
คือ พฤติกรรมเกี่ยวกับการซื้อและการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อการตอบสนองความต้องการส่วนตัวหรือครัวเรือน โดยศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคว่า
ซื้ออะไร ซื้อทำไม ซื้ออย่างไร มากน้อยเท่าไร วัตถุประสงค์อะไร
นักเศรษฐศาสตร์ อธิบายพฤติกรรมผู้บริโภคด้วยทฤษฎี 2 ทฤษฏี คือ
ทฤษฎีอรรถประโยชน์ (Utility Theory)
ทฤษฎีเส้นความพอใจเท่ากัน (Indifference curve Theory)
คือบุคคล หรือครัวเรือน ซึ่งอาจจะประกอบไปด้วยคนคนเดียวหรือหลายคนเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการส่วนตัวหรือครอบครัว
พฤติกรรมผู้บริโภค : Consumer Behavior
คือ พฤติกรรมเกี่ยวกับการซื้อและการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อการตอบสนองความต้องการส่วนตัวหรือครัวเรือน โดยศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคว่า
ซื้ออะไร ซื้อทำไม ซื้ออย่างไร มากน้อยเท่าไร วัตถุประสงค์อะไร
นักเศรษฐศาสตร์ อธิบายพฤติกรรมผู้บริโภคด้วยทฤษฎี 2 ทฤษฏี คือ
ทฤษฎีอรรถประโยชน์ (Utility Theory)
ทฤษฎีเส้นความพอใจเท่ากัน (Indifference curve Theory)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)